SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมอนามัย ยืนยัน ‘ไข่ต้มคลุกน้ำปลา’ สารอาหารไม่พอ แนะเด็กวัยเรียนควรได้รับอาหารครบหมู่หลากหลาย

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีข่าวเกี่ยวกับการกินไข่ต้มกับน้ำปลา เพื่อให้กินกับและข้าวได้อย่างพอดีกัน และกินคลุกกับน้ำราดผักบุ้ง นั้น กรมอนามัยขอแนะนำว่า การกินลักษณะนี้ไม่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ เพราะเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลากหลายชนิดในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการเหมาะสมกับการเจริญเติบโต

การกินข้าวไข่ต้มคลุกน้ำปลา และราดน้ำผัดผักบุ้ง จะส่งผลให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหารจากการกินไข่และผักไม่เพียงพอ ได้รับโซเดียมมากเกินไปจากน้ำปลาและน้ำราดผักบุ้ง รวมทั้งอาจได้รับพลังงานจากการกินข้าวมากเกินไป เพราะกินผักและไข่น้อย ไม่อิ่มท้อง

แม้ไข่จะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่การบริโภคไข่อย่างเดียวเป็นประจำ ทำให้เด็กวัยเรียนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต เด็กวัยเรียนควรกินไข่ร่วมกับอาหารอื่นให้ได้สัดส่วนตามธงโภชนาการ โดยเด็กวัยนี้ ควรกินไข่วันละ 1 ฟอง ควบคู่กับการดื่มนมจืด กินข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้อย่างหลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมตามธงโภชนาการ เด็กอายุ 6 -14 ปี ควรได้รับพลังงานเฉลี่ยประมาณวันละ 1,600 กิโลแคลอรี โดยเฉลี่ยใน 1 มื้อควรกินข้าวหรือแป้ง 2-3 ทัพพี เนื้อสัตว์ 3-4 ช้อนกินข้าว ผัก 3-4 ช้อนกินข้าว ผลไม้ 6 – 8 ชิ้นพอดีคำทุกมื้อ ร่วมกับนม 2 แก้วต่อวัน ควรฝึกให้เด็กกินอาหารที่ลดหวาน มัน เค็ม ลดการเติมเครื่องปรุงรส ลดเครื่องดื่มรสหวาน ชานมไข่มุก น้ำอัดลม ควบคุมการซื้อขนมกรุบกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น จัดให้มีนมรสจืด และผลไม้ติดตู้เย็น ติดบ้าน อยู่เสมอ รวมทั้งดื่มน้ำเปล่าสะอาด 6 – 8 แก้วต่อวัน

“ที่สำคัญ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็ก มีบทบาทมากที่จะช่วยให้เด็กห่างไกลจากภาวะผอม เตี้ย น้ำหนักเกิน และอ้วน โดยการลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น ชวนเด็กกระโดด โลดเต้น เล่นให้สนุก จนรู้สึกเหนื่อย อย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน ฝึกขับถ่ายเป็นประจำ และนอนหลับให้เพียงพอวันละ 9- 11 ชั่วโมง ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน ไม่ควรใช้ห้องนอน และเตียงนอนเป็นที่เล่นคอมพิวเตอร์ แท็ปเลต โทรศัพท์มือถือ และรับประทานอาหาร” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

นพ.สุวรรณชัย กล่าวด้วยว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรติดตามเฝ้าระวังการเจริญเติบโต โดยสามารถประเมินภาวะโภชนาการของบุตรหลานตนเองด้วยกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6 – 19 ปี เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กมีปัญหาโภชนาการขาดและเกิน ทำให้เด็กรอดพ้นจากผลเสียของภาวะเตี้ย ภาวะผอม และภาวะอ้วน ส่งผลให้ปัญหาทุพโภชนาการลดลงด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สรุป ดราม่าไข่ต้ม ‘อาหาร’ ทางเลือก vs ไม่มีทางเลือก

ทะลุไข่ต้มดู ‘ค่าครองชีพ’ คนไทย เทียบ ‘ค่าแรงขั้นต่ำ-ราคาสินค้า’ เมื่อใยบัวเกิดกับตอนอยู่ ป.5

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า