SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าพูดถึงฐานการผลิตโลก ‘จีน’ คงเป็นคำตอบแรกที่ขึ้นมาในใจใครหลายๆ คน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ The Economist ได้ให้คำนิยามแหล่งการผลิตแห่งใหม่ในเอเชีย ในชื่อ ‘Altasia’ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่นักลงทุนจับตาว่าจะแซงหน้าจีน และกลายเป็นโรงงานของโลกแห่งใหม่ได้หรือไม่

[จีน–โรงงานของโลก จะได้ไปต่อไหม?]

นับตั้งแต่ประเทศเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทุกประเทศหันหน้าเข้าหาจีนในฐานะประเทศที่พร้อมทั้งทรัพยากรการผลิต แรงงาน และตลาดภายในประเทศ 

ย้อนกลับไป 1987 Panasonic เป็นบริษัทไม่กี่แห่งที่เดิมพันลงทุนในจีน แทนที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ตอนนั้นหลายคนอาจจะแคลงใจกับการตัดสินใจของ Panasonic แต่เมื่อผ่านไปราว 30 ปี กลุ่มบริษัทอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ เริ่มขยับตาม Panasonic และมาลงทุนในจีน จนจีนกลายเป็นแกนหลักอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่ากว่า 1 ใน 3 ของการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก (ข้อมูลปี 2021)

แต่ฉายา ‘จีน–โรงงานของโลก’ กำลังถูกเขย่า หลังอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศสงครามการค้ากับจีนในปี 2018 ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศ แล้วถูกซ้ำด้วยวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจีนเลือกกลยุทธ์ Zero-Covid มายับยั้งโรคระบาด ส่งผลให้เกิดการปิดประเทศครบวงจร

บวกกับแนวคิด Common Prosperity ของจีนที่เน้นการเติบโตเท่าเทียม-จำกัดธุรกิจที่โตเร็วเกิน อย่างภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงเทคโนโลยีและแนวคิด Duak Circulation ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตภายใน-ลดการนำเข้า แล้วค่าแรงในจีนก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเท่าตัว

นโยบายเหล่านี้เป็นจุดที่ทำให้นักลงทุนชาวต่างชาติเริ่มวิเคราะห์ความไม่แน่นอน และเป็นสาเหตุที่ประเทศรอบๆ ข้างจีน กลายเป็นที่จับตา ในฐานะแหล่งผลิตใหม่ 

[Altasia–กลุ่มประเทศเอเชีย ทางเลือกใหม่การลงทุน]

ซึ่งนี่เป็นโอกาสอันดีของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ในฐานะประเทศที่มีศักยภาพในเรื่องการผลิตสูง และมีความพร้อมด้านต่างๆ จน The Economist ได้นิยามกลุ่มประเทศนี้เอาไว้ในชื่อ Altasia ซึ่งย่อมาจาก The Alternative Asian Supply Chain หรือ ‘ห่วงโซ่อุปทานทางเลือกของเอเชีย’ 

กลุ่มประเทศ Altasia ประกอบไปด้วย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน บังกลาเทศ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และบางส่วนของอินเดีย 

กลุ่มประเทศเหล่านี้ได้รับความสนใจ เพราะผู้ผลิตมองว่าเป็นกลุ่มที่มีประชากรวัยทำงานสูงกว่าจีน ค่าแรงต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าแรงจีน และเป็นกลุ่มประเทศที่มีอำนาจด้านการส่งออกโดยเฉพาะสหรัฐฯ รวมถึงมีการเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้าและเศรษฐกิจด้านต่างๆ เช่น RCEP, IPEF และ CPTPP เป็นต้น 

จริงๆ โมเดลประเทศ Altasia ได้รับการนำร่องมาก่อนแล้ว คือญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่เข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ เราจะเห็นปรากฏการณ์เกาหลีใต้ลงทุนตรงในอาเซียนและบังกลาเทศ มากกว่าที่ไปลงทุนในจีน หรือกรณีบริษัทซัมซุง ที่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ส่วนฮุนไดก็มีการเปิดโรงงานผลิตรถไฟฟ้าในอินโดนีเซีย 

แสดงให้เห็นว่า Altasia กำลังเป็นที่จับตา และอาจจะเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับนักลงทุนในอนาคต

[Altasia vs จีน]

มาถึงตรงนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยว่า Altasia มีแต้มต่อขนาดนี้ จะเบียดเอาชนะจีนได้จริงหรือเปล่า? พลิกกลับมามองมุมสิทธิประโยชน์ของจีน จีนยังเป็นตลาดใหญ่ที่เชื่อมโยงด้วยห่วงโซ่อุปทาน และโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ซึ่งเป็นจุดแข็งที่กลุ่ม Altasia อาจยังไม่สามารถเอาชนะจีนได้เร็วๆ นี้

แต่จากภาพรวม เราน่าจะเห็นโอกาสที่จีนอาจจะดึงดูดกลุ่มผู้ลงทุนต่างชาติได้ลดลง แต่กลุ่ม Altasia ก็ยังมีความไม่พร้อมในหลายมิติ ต้องมีการปรับห่วงโซ่อุปทานให้มีความพร้อมมากขึ้น 

และแม้ว่าการรวมกลุ่มระหว่างประเทศจะช่วยเรื่องการค้า แต่ว่าการไหลเวียนของสินค้าก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากกว่าที่เกิดขึ้นในจีน ไม่นับปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ระเบียบทางกฎหมาย และที่สำคัญบรรยากาศการเมืองในแต่ละประเทศ ที่เป็นเหตุให้การเชื่อมโยงผ่านข้อตกลงกลางยังไม่สมบูรณ์ 100%

หากปลดล็อกข้อต่อต่างๆ ที่พูดถึงไปได้สำเร็จ รวมถึงเอาข้อดีของกลุ่มประเทศ Altasia มาเป็นจุดขาย ก็มีโอกาสที่ไทย และหลายๆ ประเทศกำลังพัฒนา จะกลายเป็นจุดมุ่งหมายใหม่ของนักลงทุน 

แต่ยิ่งกว่านั้นที่ต้องตั้งคำถามต่อคือ หาก Altasia เป็นที่หมายมองของต่างชาติแล้ว ทำยังไง ‘ไทย’ ถึงจะโดดเด่น และกลายเป็นเบอร์หนึ่งที่นักลงทุนอยากมาแลนด์ดิ้ง

นี่คงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ต้องดูกันต่อไป

ติดตามคลิป รู้จักฐานการผลิต Altasia เบียดจีน โอกาสไทย? จากรายการ TOMORROW ได้ที่ : https://youtu.be/EEjm5esreno 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า