SHARE

คัดลอกแล้ว

เพราะอาหาร เป็นเรื่องใหญ่ของคนไทย และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change)  กำลังค่อยๆ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหาร จนในอนาคต จานอาหารที่วางอยู่ตรงหน้าเรา อาจไม่ใช่อาหารรสชาติเดียวกับที่เรากินทุกวันนี้ เพราะวัตถุดิบบางอย่าง อาจหายไปจากโลกตลอดกาล เพราะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

TOMORROW โดย TODAY BIZVIEW มีโอกาสได้ไปพูดคุยกับแดน ปฐมวาณิชย์ ซีอีโอ บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF นักธุรกิจวงการอาหาร ที่ได้มาแชร์มุมมองเกี่ยวกับอนาคตอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลก และทางออก-ทางรอดของไทย ที่ยิ่งเริ่มก่อน ก็ยิ่งได้เปรียบ

อีก 20 ปี ต้มยำกุ้งอาจรสชาติไม่เหมือนเดิม

คุณแดนคาดการณ์อนาคตว่า สภาพอากาศในอีก 20-30 ปีข้างหน้า อาจจะเกิดภาวะอุณหภูมิทั่วประเทศเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงระดับความชื้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกษตรกรไม่สามารถทำงานได้อย่างเดิม ใน 1 ปี อาจมีพืชบางฤดูกาลที่หายไป และฤดูที่ว่าคือ ‘ฤดูร้อน’ พืชพันธุ์ที่เคยเจริญเติบโตในฤดูนี้จะไม่เหมือนเดิม ตามมาด้วยปัญหาอาหารแพงขึ้น ‘ต้มยำกุ้ง’ อาจเป็นอาหารที่หากินได้ในเฉพาะประเทศที่รวยแล้ว

คุณแดนได้ยกตัวอย่างหลายๆ ประเทศ อย่างสหรัฐฯ และสิงคโปร์ ที่กำลังมุ่งมั่นพัฒนา Vertical Farm หรือการทำเกษตรแนวตั้ง ทำให้สามารถปลูกพืชในร่มโดยควบคุมปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศได้ 

ในขณะที่ประเทศร่ำรวยแล้วใช้เทคโนโลยีพัฒนาฟาร์ม ประเทศกำลังพัฒนาจะเผชิญปัญหาขาดแคลนสารอาหาร เพราะใช้จ่ายเงินได้กับเฉพาะอาหารจำเป็นและราคาถูก ในส่วนของประเทศไทยเองมีความสามารถที่จะทำ Vertical Farm ได้ เพราะเราไม่ใช่ประเทศยากจน แต่หนึ่งในคำถามที่คุณแดนฝากไว้ต่อคือ “แล้วคนจนจะทำอย่างไร?”

เตรียมรับมือกับวิกฤตอาหารอย่างไร?

ในมุมมองของคุณแดน ประเทศจำเป็นต้องอัปเกรดรายได้ประชากรต่อหัวให้เท่ากับประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อให้ประชากรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งอาหาร และวัตถุดิบได้มากพอๆ กับประเทศอื่นที่มีตัวเลือกเยอะ

ประการที่สอง คือการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร พร้อมยกตัวอย่างการรักษาหน้าดินเพื่อผลระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นที่การงดเผาหน้าดิน และการลดใช้สารเคมี เนื่องจากดินเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิต การเคลียร์หน้าดินด้วยวิธีการเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของดินในระยะยาว ทำให้การปลูกพืชใดๆ เป็นไปได้ยาก และได้ผลผลิตน้อย

วิธีทดแทนการใช้สารเคมี และการเผาหน้าดิน คือหันมาทำฟาร์มในลักษณะยั่งยืน การทำฟาร์มยั่งยืนอาจจะเป็นทางเลือกที่ทำให้ต้นทุนอาจจะสูงในระยะสั้น เพราะผลผลิตในระยะแรกเริ่มจะลดลงตามปริมาณสารเคมี แต่เมื่อดินได้ฟื้นฟู จะเริ่มเห็นผลจากการที่ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ประกอบกับการทำฟาร์มในลักษณะนี้ยังสร้างข้อได้เปรียบทางการค้าในอนาคต

คุณแดนอธิบายว่า ปัจจุบัน อุตสาหกรรมอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 30% และปล่อยมีเทนเกิน 50% จึงจัดว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างสูง ปัจจุบันสหรัฐฯ และยุโรปจึงได้ออกมาตรการนโยบายสีเขียว พยายามแก้ปัญหาเรื่องการปล่อยมลพิษ โดยเริ่มที่อุตสาหกรรมเด่นๆ อย่าง พลังงาน เคมีภัณฑ์ ซีเมนต์ และปุ๋ย ซึ่งหลังจากที่ปี 2030 ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไข อุตสาหกรรมต่อมาที่จะถูกจัดการคืออุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

ซึ่งนโยบายที่น่าจะส่งผลกระทบต่อไทยคือ ‘กำแพงภาษี’ โดยจะเริ่มเห็นหลายๆ ประเทศนำมาใช้ในอนาคต ถ้าหากแหล่งผลิตอาหารไม่ได้มาจากแหล่งที่ยั่งยืนอาจทำให้ไทยโดนภาษีสูงขึ้น คุณแดนเล่าว่า การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 นั้นมีความสำคัญมาก ถ้าไทยไม่อยากเป็นเหยื่อภาษี ต้องเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะเจอสิ่งที่เรียกว่า ‘ภาษีคาร์บอน’

ในฐานะผู้บริหาร คุณแดนอธิบายว่า บริษัท NRF อยู่ในช่วงพยายามปฏิรูปตัวเอง โดยใช้หลักความยั่งยืนเข้ามาช่วย และทำให้ทุกผลิตภัณฑ์ของ NRF เป็น Net Zero คือไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย ซึ่งนับว่าเป็นโจทย์ที่ใหญ่มาก แต่ด้วยแนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน จึงคาดว่าจะสามารถเดินหน้าในแนวทางดังกล่าวได้ และจะเริ่มเห็นผลปีหน้า 

ซึ่งถ้าทำสำเร็จ NRF จะเป็นบริษัทเดียวที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งผลดีกับมาตรการทางการค้า ประเทศคู่ค้าจะยินดีรับผลิตภัณฑ์สีเขียวมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณแดนสนับสนุนให้ไทยเริ่มปรับเปลี่ยน เพื่อจะได้เป็นผู้ได้เปรียบในสนามแข่งขัน

พร้อมกันนี้ยังฝากถึงรัฐบาลว่า ในวันนี้ต้องมีมาตรการที่ชัดเจนออกมา ต้องมีแผนรองรับสำหรับประชาชน เพื่อรักษา และเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชนให้อยู่ในเกณฑ์ดีก่อนที่ไทยจะตกขบวน

ติดตามบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/LjhZ5xvS4fo 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า