SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ เผย รมว.แรงงาน ดึง ‘ค่าแรงขั้นต่ำ 2567’ ขอกลับไปคิดสูตรใหม่ คาดเสนอกลับมาอีกครั้งทันช่วงปีใหม่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ตอบคำถามสื่อมวลชนหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (12 ธ.ค. 66) ถึงเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ ปี 2567 ที่คณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 หรือ บอร์ดไตรภาคี เคาะปรับขึ้นในอัตรา 2-16 บาท ว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน นำมาเสนอในที่ประชุมครม. และสรุปเองว่า ต้องกลับไปตั้งข้อสังเกต และพิจารณาเรื่องสูตรการคิดค่าแรง “ท่านก็เอามาเสนอแล้วดึงกลับไปเอง”

เมื่อถามว่า เรื่องค่าแรงต้องปรับมากกว่านี้ใช่หรือไม่ นายเศรษฐา ตอบว่า ตั้งข้อสังเกตไปแล้ว ก็ต้องแล้วแต่ ก็ต้องให้เกียรติคณะกรรมการฯ

เมื่อถามจะเสนอเรื่องกลับมาทันช่วงปีใหม่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า คิดว่าสัปดาห์หน้า หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ อาจจะเป็นวันที่ 25 ธ.ค. 66

เมื่อถามย้ำว่า ตัวเลขที่นายกฯ หวังคืออะไร นายเศรษฐา “ก็ไม่ใช่ตัวเลขปัจจุบัน” ก็ต้องฟังเขาก่อน เพราะว่ามีข้อกฎหมายอะไรหลายๆ อย่าง ที่ทักท้วงกันมาก แต่ที่ตนต้องการ ตัวเลขก็ไม่ใช่จำนวนนี้

เมื่อถามว่า ใช่ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศหรือไม่ นายเศรษฐา ไม่ตอบ เพียงแต่พยักหน้าเบาเบา และพูดว่า “คำถามต่อไปครับ”

‘พิพัฒน์’ ย้ำไม่เห็นด้วยมติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

ด้าน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. วันนี้ มีมติรับทราบมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 หรือบอร์ดไตรภาคี ที่เห็นชอบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 เพิ่มขึ้นวันละ 2-16 บาท หรือเฉลี่ย 2.37% แต่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้น กระทรวงแรงงานจึงขอเสนอกลับไปพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง คาดว่า จะนำกลับเข้ามาในครม. ก่อนสิ้นปี 2566 นี้

“ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการนำหลักการคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ โดยใช้ฐานปี 2563-2564 มาเป็นสูตรคำนวณ โดยจะเสนอไปยังคณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาเพิ่มเติมใหม่อีกครั้ง” นายพิพัฒน์ กล่าว

ส่วนการพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ เมื่อต้องนำกลับไปพิจารณาใหม่ จะทำให้เกิดความล่าช้าหรือไม่นั้น นายพิพัฒน์ ยอมรับว่า การดำเนินการจะทำให้เร็วที่สุด และจะได้ข้อสรุปให้เดือนธันวาคมนี้ เพื่อให้การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเริ่มต้นได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67

โฆษกรัฐบาล แจง รมว.แรงงาน ขอถอนวาระ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ย้ำ ครม.ไม่มีอำนาจสั่งทบทวน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ จากกรณีคณะกรรมการไตรภาคี มีมติเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 66 ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ อัตราวันละ 2-16 บาท เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 67 ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ แต่เนื่องจากในที่ประชุม รมว.แรงงาน ได้ตั้งข้อสังเกต โดยมองว่าหากการใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 87 เป็นการใช้หลักเกณฑ์โดยนำตัวเลขย้อนหลัง 5 ปีมาคำนวณเฉลี่ย

ซึ่งนายพิพัฒน์ มองว่า การนำเอาตัวเลขปี 2563 และ 2564 มาร่วมพิจารณา ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มาคำนวณ ทำให้ได้ตัวเลขต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งน่าจะมีวิธีคำนวณที่ดีกว่า ซึ่งครม. ก็รับทราบและแสดงความเห็นด้วยกับข้อสังเกตดังกล่าว

“เมื่อครม. รับทราบและเห็นด้วย จึงมอบสิทธิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่าจะยังคงยืนยันเสนอให้ครม.รับทราบหรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จึงขออนุญาตขอถอนออกไปก่อน” นายชัย กล่าว

ทั้งนี้ นายชัย ย้ำว่า การถอนเรื่องออกไปเป็นอำนาจรมว.แรงงาน ซึ่ง ครม. ไม่มีอำนาจในการสั่งทบทวนอะไรทั้งสิ้น ดังนั้นข้อสรุปของคณะกรรมการฯ จะนำมาเสนอครม.อีกครั้งเมื่อใด ส่วนจะมีการทบทวนหรือไม่ ไม่ได้อยู่ในอำนาจของครม. แต่เป็นบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการค่าจ้างจะพิจารณา

‘พิพัฒน์’ เผยจะขอครม.พรุ่งนี้ (12 ธ.ค.) สั่งทบทวน ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ปี 67

เคาะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกจังหวัดไม่ถึง 400 บาท สูงสุด 370 บาท ต่ำสุด 330 บาท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า