SHARE

คัดลอกแล้ว

 

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประจำปี 2020/21 ระบุรัฐบาลหลายประเทศเปลี่ยนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19เป็นอาวุธเพื่อริดรอนสิทธิเสรีภาพของพลเมือง โดยเฉพาะชนเกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัยและผู้หญิง  สำหรับประเทศไทยมีหลายประเด็นที่น่าจับตา เช่น การบังคับบุคคลให้สูญหาย การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ เสรีภาพในการแสดงออก นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัยและผู้อพยพ เป็นต้น 

วันที่ 7 เมษายน 2564 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี 2563/64 โดยนอกจากรายงานภาพรวมสถานการณ์สิทธิทั่วโลก ยังมีการนำเสนอสถานการณ์สิทธิในภูใิภาค ในเมียนมา ในประเทศไทย

สถานการณ์ภาพรวมของโลก แบ่งอออกเป็นสามประเด็นหลัก ได้แก่ ผลกระทบจากโควิด-19ที่กระทบต่อสังคม ความรุนแรงเกี่ยวกับเพศ และประเด็นสุดท้ายคือการปราบปรามผู้เห็นต่างและการคุกคามการแสดงออกทางความคิดเห็น

ที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และเผยให้เห็นสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมของแต่ละสังคม กลุ่มแรกที่ต้องพบเจอการเลือกปฏิบัติคือกลุ่มที่ทำงานด้านสาธารณะสุข เนื่องจากทำให้ตกอยู่ภายใต้ความหวาดกลัวและไม่ได้รับการคุ้มครองจากหลายๆ รัฐบาล ขณะเดียวกันหลายรัฐก็ฉวยโอกาสใช้เทคโนโลยีสืบสวนโรคเข้าสู่พื้นที่ของการสอดส่องโดยละเมิดสิทธิความเป็นส่นตัว ขณะที่สถานการณ์จากโรคโควิค-19 ทำให้คนเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้ยากขึ้น ส่วนการเข้าถึงทรัพยากรอื่น ๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มคนชายขอบ ผู้อพยพลี้ภัยซึ่งเดิมเข้าถึงทรัพยากรได้ยากลำบากเป็นทุนเดิม หลายครั้งมีการนำมาตรการทางสุขภาพหลายๆ อย่างมาเลือกปฏิบัติต่อคนที่มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติศาสนา ดังจะเห็นในกรณีตัวอย่างของกลุ่มโรฮิงญาที่ถูกลอยลำกลางทะเลจนเสียชีวิต

ขณะที่เนื้อหาในรายงานกล่าวประณามประเทศรั่วรวยในประชาคมโลกที่ไม่บรรลุการเอื้อเผื้อเผื่อแผ่ในยามวิกฤติและเลือกที่จะกักตุนวัคซีน 

“แม้จะเห็นความพยายามในความร่วมมือของหลายประเทศทั่วโลกในการจัดหาวัคซีนเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเข้าถึงทางสาธารณสุข แต่ก็มีมาตรการของรัฐหลายประการที่ทำให้เกิดการกักตุนมาตรการทางการแพทย์ มีหลายประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือมาตรการเหล่านี้ โดยเราตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวมาตรการความร่วมมือในระดับพหุภาคีเหล่านี้ว่าควรจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น” ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุ

ประเด็นต่อไปคือการที่โรคโควิด-19 ทำให้ความรุนแรงทางเพศซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น  ผู้หญิงที่เป็นบุคลากรทางสาธารณสุขถูกเลือกปฏิบัติจากคนในครอบครัว เมื่อล็อกดาวน์ทำให้ออกจากบ้านไม่ได้ ผู้หญิงหลายๆ คนที่ถูกกระทำรุนแรงในครอบครัวอยู่แล้วต้องเจอความรุนแรงมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดีมีสัญญาณบวกในด้านการพัฒนากฎหมายที่ต่อต้านการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเกิดใหม่ในหลายๆ ประเทศ รวมถึงการสู้คดีในหลายๆ ประเทศ 

ประเด็นสุดท้าย คือเรื่องการปราบปรามผู้เห็นต่าง ส่วนนี้จะได้เห็นการเคลื่อนไหวการชุมนุมประท้วงมากมายในโลก ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนโดยเยาวชน และได้เห็นการปฏิบัติโดยมาตรการของรัฐที่ใช้อาวุธเกือบตลอดเวลา 

นอกจากนี้สถานการณ์โควิด-19ยังสอดคล้องการเรื่องความพยายามเซนเซอร์ของรัฐ กล่าวคือ มีความพยายามของรัฐในการพยายามฟ้องคดีผู้ที่ปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงสื่อมวลชนที่รายงานข่าวในหลายๆ ประเทศก็ต่างถูกดำเนินคดี เห็นได้ชัดจากการที่หลายคนที่พยายามเปิดโปงข้อมูลเรื่องโรคโควิด-19 ก็ถูกลงโทษ 

“สถานการณ์โรคระบาดมันเน้นย้ำให้เสรีภาพการแสดงออกถูกละเมิดและถูกจำกัดเข้าไปอีก ตลอดจนใช้สถานการณ์โรคระบาดถูกนำมาใช่เป็นข้ออ้างของความมั่นคงในหลายๆ ประเทศ” ฐิติรัตน์ว่า 

เมียนมา-ไทย เสรีภาพในการแสดงออกจำกัดหนัก

รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาและไทย นำเสนอโดย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย 

เมียนมารอบปีที่ผ่านมาพบความขัดแย้งโดยมีการใช้อาวุธ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และกองทัพเมียนมา มีการปิดกั้นองค์กรด้านมนุษยธรรมไม่ให้เข้าช่วยเหลือ สถานการณ์ทุกอย่างถูกซ้ำด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มาจำกัดเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุม ขณะเดียวกันบรรษัทหรือภาคเอกชนก็ให้การสนับสนุนรัฐบาลพม่าส่งผลให้สถานการณ์ต่างๆ แย่ลง LGBT เมียนมายังคงถูกจำกัดด้วยกฎหมายที่สร้างความไม่เท่าเทียมเรื่องเพศ แม้จะยังไม่มีคดีใดๆ เกิดขึ้นแต่ก็สร้างความหวาดกลัวให้ผู้เกี่ยวข้อง 

ขณะที่ในไทย พบการอุ้มหาย การจำกัดเสรีภาพการแสดงออกและผู้ลี้ภัย เมื่อปีที่ผ่านมาพบการชุมนุมกว่า 779 ครั้ง ในที่นี้พบการละเมิดสิทธิมนุษยชน 200 ครั้ง มีการบังคับใช้กฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มากว่าปีแล้ว และพบการปราบกรามผู้เห็นต่างด้วยกฎหมายต่าง ๆ 

ปรากฎการณ์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้น นอกจากมีการจับกุมผู้ชุมนุมอย่างสงบสันติก็ยังมีการใช้มาตรา 110 โดยเยาวชนเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาด้วย และเป็นครั้งแรกที่มีเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 โดนคดี 112 

นอกจากนี้ยังมีกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มาอย่างยาวนาน ทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยขอเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างมีอิสระ ต้องมีการเข้าถึงทนายความอย่างเหมาะสม และให้หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไปตรวจสอบ และยืนยันว่าอยากให้ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายผ่านและเป็นไปตามมาตรฐานสากล และต้องการให้มีการสืบค้นกรณีบุคคลสูญหายทุกกรณีอย่างมีประสิทธิภาพ อิสระและเป็นธรรม 

 “ขอเรียกร้องเรื่องกฎหมายหมิ่นประมาท อยากให้มีการพิจารณาว่าไม่ควรถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง หรือในการจัดการเรื่องทางการเมือง ทั้งนี้ ต้องทำให้สอดคล้องกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น อยากให้แก้ไขข้อกำหนดที่ว่าให้บุคคลใดๆ สามารถฟ้อง ม.112 ต่อบุคลอื่นได้ รวมทั้งยกเลิกการตราโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิด และขอให้ถอนข้อกล่าวหาใดๆ ต่อผู้ถูกจับกุมอยู่ในเวลานี้เพียงเพราะมีการใช้การแสดงออก และให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมจากกรณีนี้ในทันที “ ปิยนุชกล่าว 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า