Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารกรุงเทพ เผยยอดใช้บัตรเครดิตในไตรมาสแรกปีนี้ เติบโตกว่า 17% มากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ คาดว่าเป็นผลจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2566 คาดว่าเป็นปีที่สดใส สะท้อนจากยอดใช้บัตรเครดิตในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ที่เติบโตกว่า 17% มากกว่าที่ธนาคารคาดการณ์เอาไว้ และเป็นการเติบโตที่กลับไปเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว

โดยคาดว่ายอดใช้งานบัตรเครดิตที่เติบโตได้ค่อนข้างดี มาจากความเชื่อมั่นของธุรกิจและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น หลังการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมา ส่งผลให้เศรษฐกิจหมุนเวียนดีขึ้น

หากดูรายละเอียด จะเห็นว่าหมวดที่เติบโตได้ค่อนข้างดี คือหมวดท่องเที่ยว หมวดการเติมน้ำมัน และหมวดการใช้จ่ายในห้างสรรพสินค้า

ขณะที่เป้าหมายการทำธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ ธนาคารกรุงเทพคาดว่าจะเห็นยอดสมัครบัตรใหม่อีก 200,000 ใบ จากปีก่อนที่ 2.1 ล้านใบ มาอยู่ที่ 2.3 ล้านใบ โดยเป็นการเติบโตจากทุกผลิตภัณฑ์

ไม่ว่าจะเป็นบัตร Co-brand ที่ทำร่วมกับแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะสายการบิน เช่น AirAsia รับการท่องเที่ยวที่กลับมา รวมถึงบัตรเครดิตวีซ่า แพลทินัม ธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank Visa Platinum Credit Card) ของธนาคารเอง ซึ่งเจาะกลุ่มพนักงานเงินเดือน

ส่วนเป้าหมายยอดใช้จ่ายในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตจากปีก่อน 15% แนวโน้มยังเติบโตได้ดีเช่นเดียวกับ 3 เดือนแรก โดยปัจจัยหนุนมาจากการใช้จ่ายช่วงเทศกาล เช่น เทศกาบสงกรานต์ที่กำลังจะถึงนี้ รวมถึงการรูดใช้จ่ายในต่างประเทศ หลังคนเริ่มออกเดินทางมากขึ้น

ปัจจุบัน ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในต่างประเทศ (ไม่นับการซื้อของออนไลน์จากต่างประเทศที่ทำธุรกรรมจากไทย) มีสัดส่วนประมาณ 15% แต่คาดว่าภายในสิ้นปี อาจเห็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 17-18%

แต่แม้ว่าคนจะออกไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น แต่ยอดรูดซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศก็ยังคงเติบโตได้ดีเช่นกัน สะท้อนว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมา คนเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

เมื่อถามถึงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ผู้บริหารของธนาคารระบุว่า คาดว่าแนวโน้ม NPL ปีนี้จะทรงตัวต่อเนื่องจากปี 2565 โดยปีที่แล้ว NPL Ratio ของกลุ่มบัตรเครดิตอยู่ที่ 1.7-1.8% ขณะที่ปีนี้ คาดว่าจะยังทรงตัวต่ำกว่า 2%

โดยปัจจัยที่มีส่วนช่วย คือ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ว่าจะเป็นการพักหนี้ หรือการลดดอกเบี้ย แม้ว่าเศรษฐกิจจะเริ่มกลับมา แต่คาดว่าแบงก์ชาติก็จะทยอยปรับมาตรการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และยังคงความยืดหยุ่นเอาไว้

สำหรับการยกเลิกมาตรการช่วยเหลือ คาดว่า ธปท.จะไม่ยกเลิกทันทีในปีนี้ แต่คาดว่าจะเห็นการทยอยปรับ และทยอยเลิกมาตรการช่วยเหลือในปีหน้า เพื่อรอให้เศรษฐกิจไทยเข้าที่เข้าทางมากกว่านี้

ในวันเดียวกัน ธนาคารกรุงเทพจับมือกับ AIS เปิดตัวบัตรเครดิต Co-brand ‘บัตรบีเฟิสต์ ดิจิทัล เอไอเอส พอยท์’ (Be1st Digital AIS POINTS) เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ สมัครง่ายบนโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารกรุงเทพ และสามารถเปิดใช้งานได้ทันที

ความพิเศษของบัตรเดบิต Be1st Digital AIS POINTS คือทุกการช้อปออนไลน์ 200 บาท จะได้รับ AIS Points ทันที 1 คะแนน  ซึ่ง AIS Points ถือเป็น Royalty Program ที่มีผู้ใช้งานค่อนข้างสูง สิทธิประโยชน์ครอบคลุมร้านค้าทุกรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็นสิทธิประโยชน์จาก AIS เอง หรือสิทธิประโยชน์จากพันธมิตรทั่วประเทศ 800 แบรนด์ รวมกว่า 1.8 ล้านร้านค้า โดยปัจจุบัน AIS มีฐานผู้ใช้บริการทั้งหมด 46 ล้านเลขหมาย ขณะที่ในปี 2565 มีการ Redeem สิทธิประโยชน์ผ่าน AIS Points สูงถึง 1 พันล้านคะแนน

นอกจากนี้ บัตรเดบิต Be1st Digital AIS POINTS ยังมีความปลอดภัยมากกว่าบัตรเดบิตรูปแบบเดิม จากข้อมูลของลูกค้าที่อยู่บนโมบายแบงก์กิ้ง ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยอด คะแนน และการควบคุมดูแลต่างๆ

สำหรับเป้าหมายบัตรเดบิต Be1st Digital AIS POINTS ธนาคารกรุงเทพคาดว่าจะมียอดสมัครบัตร 2 ล้านใบในปีแรก และคาดว่าภายใน 5 ปี จะมีลูกค้าสนใจสมัครบัตรดังกล่าวไม่น้อยกว่า 6 ล้านใบ

ขณะที่ AIS คาดว่า บัตรเดบิต Be1st Digital AIS POINTS จะส่งผลให้ยอด Redeem AIS Points ต่อเดือนเพิ่มขึ้น จากเฉลี่ย 20 คะแนนต่อเดือน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 100 คะแนนต่อเดือน

ทั้งนี้ บัตรเดบิต Co-brand ระหว่างธนาคารกรุงเทพและ AIS ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมสมัครบัตรออนไลน์ แต่สำหรับผู้ที่สนใจถือบัตร Physical จะมีค่าธรรเนียมปีละ 300 บาท

เมื่อถามถึงความเสี่ยงจากมิจฉาชีพที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการสุ่มหมายเลขบัตรเครดิตเพื่อซื้อของออนไลน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น Visa และ Mastercard รับทราบถึงปัญหาที่เกินขึ้นแล้ว

โดยช่องโหว่คือ การที่บางร้านค้าไม่ต้องให้ลูกค้ายืนยันตัวตนผ่าน SMS OTP เพราะเดิมมีผลต่อ Success Rate ในการซื้อสินค้าและบริการ ร้านค้าจึงเลือกที่จะรับความเสี่ยงไว้เอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุ ลูกค้าเสียทั้งเวลาและสุขภาพจิตเพื่อตามเงินกลับคืนมา แม้จะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหา เช่น จำกัดจำนวนรายการการใช้บัตรเครดิจ แต่ยังถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขร่วมกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า