Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภายในอีก 6 เดือนข้างหน้า ธนาคารกลางในเอเชียอาจมีการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง หลังจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าและราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น

โดยแบงก์ชาติประเทศต่างๆ ในฝั่งเอเชีย ตั้งแต่ออสเตรเลียไปจนถึงอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทย อยู่ในเส้นทางของนโยบายการเงินที่อาจเข้มงวดมากขึ้น 

ธนาคารกลางของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์กลับมาเข้มนโยบายการเงินอีกครั้งในเดือนนี้ มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และยังคงส่งสัญญาณที่จะเข้มงวดต่อ

ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ ในเอเชีย รวมถึงอินเดีย ต่างเลือกที่จะใช้วิธีในการลดเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ แต่นักเศรษฐศาสตร์มองว่า การใช้วิธีนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะธนาคารกลางไม่สามารถที่จะลดเงินทุนสำรองดังกล่าวไปได้ตลอด

โดยข้อมูลจาก Bloomberg พบว่า ในปี 2566 ธนาคารกลางในเอเชียแปซิฟิคมีอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นน้อยกว่าธนาคารกลางอื่นๆ ในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว

แต่ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยของสหรัฐและอัตราดอกเบี้ยของเอเชีย ยังเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ธนาคารกลางในเอเชียยังคงใช้นโยบายที่เข้มงวด 

และตลอดปี 2566 อัตราแลกเปลี่ยนรูเปียห์และสกุลเงินต่างประเทศอื่นๆ เคลื่อนไหวในรูปแบบที่ไม่ปกติ เรื่องนี้ค่อนข้างน่าแปลกใจ เพราะเอเชียเป็นศูนย์กลางการเติบโตระดับโลกและเศรษฐกิจเอเชียก็ไม่ได้แย่เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ ในเรื่องของระดับหนี้ที่เป็นอันตราย แต่อย่างไรก็ตามอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชียก็อ่อนค่าลงพร้อมๆ กัน  

[ ประเทศออสเตรเลีย ]

ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เตรียมจัดประชุมในวันที่ 7 พ.ย. 2566 โดยนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่งของประเทศ คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 4.35% ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554  

ทั้งนี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 รายงานออกมาแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เพียงหนึ่งวันหลังจากรายงานข้อมูลทาง ‘มิเชล บุลล็อค’ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียได้ออกมาพูดว่า ‘จะไม่ลังเล’ ที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อหากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ  

[ ประเทศอินโดนีเซีย ]

ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 6% เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในปี 2566 และเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่เริ่มเข้มงวดนโยบายการเงินในปี 2565

ทั้งนี้ เพื่อควบคุมการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ และพยุงค่าเงินรูเปียห์ ขณะที่ภาวะสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสทำให้ค่ารูเปียห์อ่อนค่าลงอีก

นอกจากนี้ BI ระบุว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังถือเป็นมาตรการป้องกันผลกระทบของเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเข้าสินค้าด้วย

[ ประเทศญี่ปุ่น ]

ข้อมูลจาก Bloomberg ระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ได้เริ่มดำเนินนโยบายที่เข้มงวดขึ้นตั้งแต่ภายในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับเข้าใกล้ 1% ซึ่งเป็นเพดานสูงสุดที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นกำหนดไว้

ในการประชุมครั้งก่อนเมื่อเดือน ก.ย. 2566 มีมติคงนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ (Ultra-loose Policy) โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.1% สวนทางทั่วโลกที่ปรับขึ้นดอกเบี้ย 

ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เปิดฉากการประชุมนโยบายการเงินวันแรกในวันที่ 30 ต.ค. และจะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 31 ต.ค. 2566 

[ ประเทศมาเลเซีย ]

ธนาคารกลางประเทศมาเลเซีย (BNM) อยู่ภายใต้แรงกดดันจากต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น หลังจากที่ค่าเงินริงกิตแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2541 ในช่วงวิกฤตการเงินในเอเชีย โดยธนาคารกลางมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3% ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2566

ความท้าทายของธนาคารกลางมาเลเซียที่ชัดเจนที่สุดคือเรื่องของการอ่อนค่าของค่าเงินริงกิต และความเป็นไปได้ของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน

โดยวันที่ 2 พ.ย. 2566 ธนาคารกลางจะมีการจัดประชุมเพื่อตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยและการดำเนินนโยบายการเงิน

[ ประเทศฟิลิปปินส์ ]

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6.50% ในการประชุมนัดพิเศษเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานขึ้น

โดยธนาคารกลางจะมีการประชุมนโยบายอีดครั้งในวันที่ 16 พ.ย 2566 ‘อีไล เรโมโลนา’ ผู้ว่าการธนาคารกลางฟิลิปปินส์ กล่าวว่า จะพิจารณาเพิ่มความเข้มงวดของนโยบายการเงินมากขึ้น หลังจากที่ตัดสินใจไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อเดือน ก.ย. เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้น

[ ประเทศเกาหลีใต้ ]

ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่เปลี่ยนแปลงในการประชุมครั้งที่ 6 ติดต่อกัน เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 เนื่องจากผู้กำหนดนโยบายยังคงตื่นตัวต่อราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งอาจขัดขวางการชะลอของอัตราเงินเฟ้อ โดยธนาคารกลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลักไว้ที่ 3.50%

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า BOK จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 และลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% เหลือ 3.25% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

[ ประเทศไต้หวัน ]

นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าธนาคารกลางไต้หวัน (CBC) อาจเลือกปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ หากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ด้าน ‘จอง วู ปาร์ค’  นักเศรษฐศาสตร์ของ Nomura Holdings Inc. กล่าวว่า หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่เสร็จในเดือน ม.ค. 2567

หากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ 2% และสภาวะทางการเงินทั่วโลกตึงตัวมากขึ้น คาดว่า CBC จะกลับมาดำเนินนโยบายเข้มงวดอีกครั้งโดยอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจาก 1.875% ในปัจจุบันสู่ระดับ 2.125%  

[ ประเทศไทย ]

‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) บอกว่า อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ Neutral เป็นระดับที่เหมาะสมแล้ว หลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมา 8 ครั้ง ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงที่สุดในรอบทศวรรษ 

โดยการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2566 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50% 

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทยังเป็นหนึ่งในสกุลเงินทำผลงานแย่ที่สุดในภูมิภาคในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปยังคงต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ซึ่งการประชุมครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 29 พ.ย. 2566 

สำหรับการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้เริ่มจัดการประชุมกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ในวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย.66

นักลงทุนเทน้ำหนักในการคาดการณ์ว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 2 ครั้งสุดท้ายในปีนี้ แม้ว่า ‘เจอโรม พาวเวล’ ประธานเฟด ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อหยุดเงินเฟ้อ

โดย FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 97.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมวันที่ 31 ต.ค. – 1 พ.ย. และให้น้ำหนัก 68.9% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 12-13 ธ.ค.

ด้านเงินดอลลาร์สหรัฐมีการแข็งค่าขึ้น ได้รับแรงหนุนจากสัญญาณของความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวสูงถึง 5.4% ในไตรมาส 3 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าขยายตัวเพียง 4.2% 

ทำให้นักลงทุนกังวลว่าตัวเลขที่แข็งแกร่งอาจส่งสัญญาณถึงดอกเบี้ยที่อาจถูกตรึงไว้ในระดับสูงเป็นระยะเวลาที่นานขึ้นด้วย

ที่มา:

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า