SHARE

คัดลอกแล้ว

จะมีอะไรทำให้คน 2,000,000 + คนมารวมกันได้? กีฬา+ ชาตินิยม + เอนเตอร์เทน และอัลกอริทึมรู้ดี ว่าจังหวะนี้ต้องอวยอะไร ส่วนผสมทั้งหมดเกิดขึ้นกับ ทีมพากย์ BG SPORTS ในศึกอาเซียนคัพ 2024 ที่เพิ่งปิดฉากไปเมื่อคืนนี้ กับผลงานรองแชมป์ของทีมชาติไทย

 

ถึงจะไม่รู้ว่าใครพูด แต่เชื่อว่าคงเคยผ่านหูกันบ้าง กับคำพูดว่า ‘กีฬา’ ไม่ต่างกับภาษาสากล ที่ทำให้คนต่างเพศ ต่างวัย ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา เชื่อมโยงกันได้อย่างไร้กำแพง โดยเฉพาะในกีฬาสนามสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่แย่งกันแทบตาย เจ้าลูกกลมๆ อย่างฟุตบอล กีฬาที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของโลก

และในยุคที่กีฬา เสิร์ฟให้คุณถึงบ้านผ่านจอสี่เหลี่ยม ทันทีที่เสียงนกหวีดให้สัญญาณ ก็ใช่ว่าคุณจะต้องเชียร์อย่างเหงาๆ เพราะตลอด 90 นาที นอกจากเสียงเชียร์ในสนาม ‘นักพากย์’ ยังเป็นคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่กับคุณไปจนจบ

 

[นักพากย์ฟุตบอล]

ในโลกของกีฬา ไม่ว่าจะเป็น ผู้อธิบายเหตุการณ์แบบช็อตต่อช็อต ผู้ที่ให้ข้อมูลเชิงลึก ไปจนถึงผู้สัมภาษณ์ผู้เล่นหรือโค้ชหลังจบเกม ทั้งหมดนี้ เป็นภาระหน้าที่ในฐานะนักพากย์กีฬา

แต่คอบอลชาวไทย ต่างคุ้นชินกับการพากย์แบบเรียลไทม์ อย่าง play-by-play commentator หรือ play-by-play announcer ที่จะคอยบรรยายทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในสนาม แบบที่ต่อให้ลุกห่างจอสักหน่อย ก็ยังไม่ถึงกับพลาด ขณะที่ ฟากตะวันตก นักพากย์ฟุตบอลมักพ่วงบทบาทการสร้างสีสัน วิเคราะห์ หรือให้ข้อมูลเชิงลึกไปพร้อมกัน

แต่จุดร่วมที่ไม่ต่างกัน คือทักษะการสื่อสารที่ดี เก็บรายละเอียดเก่ง ทำงานใต้แรงกดดันไม่พอ ยังต้องมีไหวพริบปรับตัวได้ดีเยี่ยมอีกด้วย

บทความของ วิศรุต สินพงศพร ที่เขียนไว้ใน เพจวิเคราะห์บอลจริงจัง ในปี 2021 เคยพูดถึงการพากย์เอาไว้ ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้คนดูหน้าจอสนุกขึ้น ทั้งยังแบ่งนักพากย์ที่ได้รับความนิยม ออกเป็น 2 สายอย่างง่าย นั่นคือ สายหลัก และสายความคิดสร้างสรรค์แหวกแนว 

วิเคราะห์บอลจริงจัง ระบุว่า สายหลักคือคนพากย์ปกติ แต่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ทั้งจังหวะและน้ำเสียงลงตัวไปหมด แถมรายชื่อผู้เล่นแม่นเป๊ะ เพราะทำการบ้านมาอย่างละเอียด ขณะที่ สายสร้างสรรค์ ก็ไม่ได้ทิ้งความแม่นยำของข้อมูล แต่คนจดจำพวกเขาได้มากกว่า จากสไตล์ที่แปลกใหม่ 

ดูเหมือน ทีมพากย์ BG SPORTS จะลงล็อกเปะกับสายสร้างสรรค์ พวกเขาเสกคำสนุกออกมาไม่หยุด ตะโกนด้วยอารมณ์มาเต็มแบบไม่กั๊ก ถอนหายใจเต็มหู แถมเงียบจนได้ยินเสียงแอร์ ในจังหวะบอลไม่เป็นใจ และโยนภาระให้คนดูต่อ ว่าถ้าชอบก็อยู่กันต่อยาวๆ หรือถ้าไม่ แพลตฟอร์มอื่นยังมีให้เลือกได้ 

[แล้ว BG SPORTS เป็นใคร?]

สำหรับคอบอลตัวยง อาจรู้อยู่แล้ว ว่าแพลตฟอร์มยูทูบ BG SPORTS ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด เริ่มต้นลุยตลาดถ่ายทอดสดฟุตบอล ด้วยเจลีก 

พวกเขาซื้อลิขสิทธิ์จาก SIAMSPORT ถ่ายทอดสดฟุตบอลเจลีก 1 ประเทศญี่ปุ่น ในแมตช์ที่ เซเรโซ่ โอซาก้า และทีมพันธมิตรลงสนามทุกเกมในฤดูกาล 2024 ก่อนจะขยายไปเป็นพันธมิตร กับทีมในเจลีก 3 ที่มีนักเตะไทยค้าแข้งอยู่ด้วย รวมถึงถ่ายทอดสดฟุตบอลระดับโลกอีกหลายรายการ

“มันอาจดูเหมือนว่ายังไม่พอ เราอยากจะสร้างคอนเทนต์ให้กับ BG SPORTS เพิ่มขึ้นในเชิงของ OTT ที่เราต้องไปต่ออีกสเต็ป” ปวิณ ภิรมย์ภักดี ประธาน บีจี ปทุม ยูไนเต็ด พูดเอาไว้และทำได้จริง

ด้วยช่วงเดือน ก.ย. ปี 2568  ประกาศคว้าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดของ 4 รายการแข่งขันของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย (AFC) ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน หรือ ASEAN MITSUBISHI ELECTRIC CUP 2024  

ที่ส่งให้พวกเขามียอดคนดูสดพร้อมกัน ไต่ระดับขึ้นเรื่อยๆ และอาจต้องขอบคุณแรงส่งจากทีมชาติไทยเช่นกัน เมื่อสามารถเข้าสู่รอบลึกๆ ด้วยฟอร์มที่หวังเข้าชิง BG SPORTS ถึงได้มียอดคนดูแตะ 1,000,000 คนได้สำเร็จ ก่อนจะทะยานสู่ล้านที่สอง

แถมยอดคนดูสะสม ของนัดทีมไทยไปเยือนเวียดนาม คลิปเดียวยังทะลุ 5.2 ล้านครั้ง ข้อมูล ณ วันที่ 5 ม.ค. ทั้งนี้ นอกจากการถ่ายทอดสดฟุตบอล BG SPORTS ยังมีคอนเทนต์กีฬาอื่น ๆ ในแพลตฟอร์ม เรียกได้ว่า เป็นการขยายความแมสให้คนชอบดูกีฬาขาจร รู้จักและติดตามพวกเขา

[ลูกรักอัลกอริทึม?]

หากคุณอยู่ในแวดวงคนทำคอนเทนต์ ไม่ว่าจะสายไหน รู้ดีว่าตลอดหลายปีมานี้ คงไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่า กำแพงอัลกอริทึม ที่ต้องปีนข้ามกันครั้งแล้วครั้งเล่า

ถ้าอธิบายอย่างง่าย อัลกอริทึมโซเชียลมิเดีย ก็คล้ายชุดคำสั่งที่ป้อนให้ระบบทำสิ่งที่ถูกกำหนด โดยเฉพาะการจัดลำดับก่อนหลัง โดยเงื่อนไขในการจัดลำดับ อาจเป็นตามความเร่งด่วน ความสำคัญ หรือความชอบล้วนๆ สุดแล้วแต่

และไม่รู้วางแผน หรือแค่เรื่องบังเอิญ BG SPORTS กลายเป็นรูปแบบคอนเทนต์ที่ต่างออกไป ในศึกชิงผู้ชมฟุตบอลรอบนี้ ด้วยสไตล์ที่กล่าวไปตอนต้น และนั่นอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้แพลตฟอร์มเลือกโปรโมต และให้คุณค่า จนขึ้นเป็นไลฟ์ที่แนะนำในช่วงการแข่งขัน

คอนเทนต์ยิ่งดี คนดูยิ่งดู อัลกอริทึมก็ยิ่งดัน สุดท้ายจึงกลายเป็นการปิดฉากตามที่ BG SPORTS โพสต์ขอบคุณเอาไว้ ว่าถึงผลการแข่งขันของทีมชาติไทยไม่เป็นใจ แต่ในรายการ AFF นี้ มีผู้ชมมาร่วมส่งกำลังใจ จนมีคนดูพร้อมกันเกิน 2 ล้านคน และยอดดูรวมทั้งหมด มากกว่า 36 ล้านครั้ง

แต่นั่นแหละ ขึ้นชื่อว่าฟุตบอล ที่ผู้คนมีอารมณ์ร่วมแบบสุดๆ สนามคอนเทนต์นี้ถึงได้น่ากลัวกว่านั้นมาก ความสำเร็จของ BG SPORTS พิสูจน์แล้วว่าเกิดขึ้นได้เมื่อทุกอย่างพอเหมาะพอดี

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ ว่าการพากย์กีฬาที่ทุกคนมีอารมณ์ร่วม ไม่เว้นแต่คนพากย์ ก็เป็นจุดแข็ง และบางจังหวะก็กลายเป็นจุดอ่อน ถ้าบอลตาม แรงใจจะปั่นของคนพากย์ไม่ค่อยจะมี แถมคนดู ดูยังไงก็ไม่มันส์ จบแบบกริบได้เลย แล้วคุณชอบสไตล์การพากย์แบบไหน มาแบ่งปันกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า