SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์กรภาคประชาสังคมนานาชาติหลายองค์กรร่วมกันออกแถลงการถึงรัฐบาลทั่วโลก เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีชีวมิติเพิ่มขึ้นในหลายที่ หวั่นการเก็บข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่การสอดแนมประชาชน ทั้งนี้ มูลนิธิผสานวัฒนธรรมจัดทำคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2564 องค์การ Access Now ร่วมกับ Amnesty International, European Digital Rights (EDRi), Human Rights Watch (HRW), Internet Freedom Foundation (IFF) และ Instituto Brasileiro de Defesa do Consumidor (IDEC) จัดทำจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องถึงรัฐบาลทั่วโลกให้ยุติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติซึ่งอาจนำไปสู่การสอดแนมประชาชน โดยจดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าวมีองค์กรสิทธิมนุษยชนกว่า 179 องค์กรทั่วโลก รวมทั้งมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกนี้ด้วย

เทคโนโลยีชีวมิติคือเทคโนโลยีที่เก็บข้อมูลจากหลักฐานทางชีวภาพของพลเมือง เช่น ระบบการตรวจสอบอัตลักษณ์ใบหน้า (Facial Recognition) การตรวจเก็บสารพันธุกรรม (DNA Collection) และการใช้เทคโนโลยีชีวมิติระยะไกล (Remote Biometric Recognition Technologies)

ช่วงสิบปีที่ผ่านมาหลายประเทศเริ่มใช้เทคโนโลยีชีวมิติ  เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ อูกันดา เคนยา สโลวีเนีย เมียนมา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิสราเอล อินเดีย รวมทั้งประเทศไทย หลายแห่งมีแนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสอดแนมประชาชน โดยเฉพาะกับประชาชนที่มีชาติพันธุ์และศาสนาแตกต่างจากผู้คนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ เช่น ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

ขณะที่มีอยู่อย่างน้อยหนึ่งครั้งที่รัฐบาลพยายามเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากกลุ่มประชาชนที่มีแนวคิดแตกต่างจากรัฐ เช่น กลุ่มชาวบ้านหมู่บ้านทะลุฟ้าที่ถูกสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2564 อย่างไรก็ดีทนายความให้การปฏิเสธ ขอสงวนสิทธิไม่ให้เก็บตัวอย่างดังกล่าว

แถลงการณ์ระบุรายละเอียดว่า “เทคโนโลยีดังกล่าวก่อให้เกิดภัยต่อสิทธิของเราในสองด้านหลัก ดังต่อไปนี้:

หนึ่ง ข้อมูลที่ใช้เพื่อทดสอบคอมพิวเตอร์ (Training Data) คือฐานข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าระบบโดยเปรียบเทียบในการใช้เป็นแม่พิมพ์ของระบบข้อมูลชีวมิติ โดยข้อมูลเหล่านี้มักได้มาโดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งกล่าวได้ว่าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวถูกออกแบบให้สนับสนุนการสอดแนมประชาชน

สอง ตราบใดที่ผู้คนอยู่ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้โดยสาธารณะ พวกเขาจะสามารถถูกระบุตัวตน มุ่งเป้าเฉพาะ หรือถูกติดตามได้โดยทันที ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพประชาชน ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่าวยังทำให้เกิดความหวาดกลัวซึ่งทำให้ผู้คนไม่กล้าที่จะใช้สิทธิและเสียงของตัวเอง ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้เกิดการพัฒนาความปลอดภัยในสาธารณะแต่การละเมิดสิทธิที่เกิดจากการใช้งานของเทคโนโลยีนี้เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่า ดังจะเห็นได้จากข้อมูลและหลักฐานของการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในทางที่ผิด และยังขาดความโปร่งใส”

อ่านแถลงการณ์เต็มที่ได้ที่ เว็บไซต์ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า