Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สุวรรณี เจษฎาศักดิ์’ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งในช่วงโควิด-19 รวมถึงช่วยเหลือแบบเฉพาะจุดหลังสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น

โดยสัดส่วนของ ‘หนี้ครัวเรือนไทย’ ในช่วงไตรมาส 3/2566 มีการปรับตัวลดลง 0.5% มาอยู่ที่ระดับ 90.9% จากในปี 2565 ที่อยู่ในระดับ 91.4% การลดลงดังกล่าวเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น

และในไตรมาส 3/2566 ธปท.ได้ออกแนวทางการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดยบางส่วนมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา เพื่อสานต่อการแก้หนี้ครัวเรือนผ่านทั้งมาตรการดูแลลูกหนี้กลุ่มเปราะบางที่มีอยู่แล้ว

รวมถึงมีมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ Responsible Lending ซึ่งได้ยกระดับจากการขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยให้การแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืนขึ้น

โดยสรุปสาระสำคัญ สำหรับแนวทางแก้หนี้ครัวเรือน มีดังนี้

1. ช่วยลูกหนี้ต่อเนื่องด้วยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

เริ่มใช้ไปแล้วตั้งแต่ 1 ม.ค. 2567 ในกลุ่มลูกหนี้รายย่อยและกลุ่ม SMEs (ที่ไม่เคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้) เมื่อเริ่มมีปัญหาจะได้รับการเสนอให้ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง

โดยผู้ให้บริการต้องเสนอแนวทางการช่วยเหลือ (product program) สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญหาชำระหนี้แต่ยังไม่เป็นหนี้เสีย (NPL) อย่างน้อย 1 ครั้ง

และสำหรับลูกหนี้ NPL อีกอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยจะไม่ถูกโอนขายหนี้ก่อน 60 วัน นับจากวันที่ผู้ให้บริการเสนอเงื่อนไขปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้

ส่วนลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่เป็นหนี้ค้างชำระเกิน 120 วัน และมียอดหนี้ไม่เกิน 2 ล้านบาท สามารถเข้าร่วมโครงการ ‘คลินิกแก้หนี้’ ได้เช่นเดียวกัน

โดยจะได้รับการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ผ่อนเฉพาะเงินต้นนานสูงสุด 10 ปี อัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 3-5% ต่อปี และยกดอกเบี้ยค้างเดิมให้เมื่อชำระครบตามสัญญา (เฉพาะเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมโครงการ)

ทั้งนี้ สำหรับลูกหนี้ที่เคยได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วก่อน 1 ม.ค. 2567 สามารถหารือกับสถาบันการเงิน เพื่อพิจารณาข้อมูลและแนวทางการแก้ปัญหาหนี้เป็นรายกรณีได้

2. ช่วยลูกหนี้เรื้อรังกลุ่มเปราะบางให้สามารถปิดจบหนี้ได้

จะเริ่มใช้ในเดือน 1 เม.ย. 2567 โดยจะมีการตรวจสอบข้อมูลการตัดชำระหนี้ของลูกหนี้ย้อนหลังจากวันที่ 1 เม.ย. 2567 ไป 3 ปี 4 ปี และ 5 ปี เพื่อพิจารณาการจ่ายชำระดอกเบี้ยและจ่ายชำระเงินต้นในช่วงที่ผ่านมา หากมีเข้าเงื่อนไข ผู้ให้บริการจะต้องติดต่อลูกหนี้ผ่านช่องทางอย่างน้อย 1 ช่องทาง

เงื่อนไขสำหรับลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ประเภทวงเงินหมุนเวียน (ไม่รวมสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลและบัตรเครดิต) และต้องไม่เป็นหนี้เสีย (NPL)

โดยเจาะจงช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรังโดยเฉพาะ ซึ่งลูกหนี้กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

1.ลูกหนี้ที่เริ่มมีปัญาหนี้เรื้อรัง (general PD) คือ ลูกหนี้ที่จ่ายชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา

2.ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เรื้อรัง (severe PD) คือ ลูกหนี้ที่มีปัญหาหนี้เรื้อรังที่จ่ายชำระดอกเบี้ยรวมมากกว่าเงินต้นรวมในช่วงย้อนหลัง 5 ปี และเป็นลูกหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้

ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) หรือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (Non-banks) ในกลุ่ม ธพ. ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท

ลูกหนี้ของผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ไม่อยู่ในกลุ่ม ธพ. ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท

โดยกลุ่มเหล่านี้จะได้เข้าร่วมมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญาเป็นสินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด ให้ปิดจบหนี้ภายใน 5 ปี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงไม่เกิน 15% ต่อปี

3. คุ้มครองสิทธิลูกหนี้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น

ตั้งแต่ในเดือน ม.ค.2567 ลูกหนี้จะได้รับการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเป็นธรรมมากขึ้น ลูกหนี้จะไม่ถูกคิดค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ยกเว้นกรณี refinance สินเชื่อบ้านในช่วงเวลา 3 ปีแรก

เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำ และต้องไม่ถูกคิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงได้รับยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน

ขณะที่เกณฑ์ที่ไม่ถูกคิดดอกเบี้ยบนดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อที่ให้แก่ลูกค้ารายย่อย รวมกรณีบัญชีเดินสะพัดของสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (overdraft) จะเริ่มใช้ในเดือน 1 ก.ค. 2567

อย่างไรก็ตาม ธปท. คาดหวังให้การออกมาตรการ ‘แก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน’ ช่วยปรับพฤติกรรมทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยส่งเสริมบทบาทให้เจ้าหนี้ให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบและเป็นธรรมมากขึ้น

พร้อมกับส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น ผ่านการให้ข้อมูลเงื่อนไขและคำเตือนที่ลูกหนี้ควรรู้ เพื่อกระตุกพฤติกรรม (nudge) และสามารถบริหารจัดการหนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า