Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อพูดถึงเรื่อง การบูลลี่ (Bullying)  การกลั่นแกล้งที่แสดงออกด้วยคำพูด หรือ พฤติกรรมที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่น ในปัจจุบันนี้นับว่าเป็นปัญหาที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาการบูลลี่นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเท่านั้น หลายประเทศทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น

การบูลลี่ที่เกิดขึ้นกับเด็กหรือการบูลลี่ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ก็นับเป็นปัญหาใหญ่ที่เราต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก เพราะเด็กที่มีอายุน้อยนั้น ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันในเรื่องของการรับมือกับความรู้สึกในการถูกทำร้ายกลั่นแกล้งด้วยคำพูดหรือพฤติกรรมได้มากเท่าผู้ใหญ่ ซึ่งหากละเลยไม่ให้ความสำคัญ อาจก่อให้เกิดผลเสียในวงกว้างต่อเด็กจนกลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต

TODAY ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 2 ผู้บริหาร ผู้ดูแลและต่อยอด แอปพลิเคชัน “BuddyThai” แพลตฟอร์มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ทั้งในโรงเรียนและในโลกออนไลน์ ซึ่งจะมาบอกเล่าถึงความตั้งใจในการพัฒนาแอปพลิเคชัน “BuddyThai” ผ่านบทความนี้

แอปพลิเคชัน “BuddyThai” แพลตฟอร์มช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนกลั่นแกล้งรังแก (Bully) ทั้งในโรงเรียนและในโลกออนไลน์ ได้เปิดตัวไปแล้วเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 โดยความร่วมมือกันระหว่าง กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนและวัยรุ่นราชนครินทร์และบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP

โดยจุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชั่น BuddyThai นี้เกิดจากความตั้งใจของ นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (คุณกึ้ง) CEO บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) เล็งเห็นถึงปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกทั้งทางร่างกายและทางจิตใจในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ โดยนายเฉลิมชัย ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า “ผมได้ติดตามข่าวแล้วเห็นถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนกระทำเรื่องบางอย่างที่ไม่ควรทำบ้าง ข่าวเกี่ยวกับโรงเรียนหรือคุณครูที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับนักเรียนบ้าง ทำให้ผมรู้สึกว่า การที่เกิดเป็นเด็กเยาวชนคนไทย ต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อมแบบนี้ ประกอบกับผมมีหลาน 5 คน ทำให้ผมก็ห่วงว่าสังคมที่เขาโตขึ้นมา หากเขาต้องพบเจอเหตุการณ์บางอย่างที่เขาไม่สามารถคุยกับคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองหรือคุณครูได้ แล้วกลายเป็นว่า เด็กไม่ได้มีโอกาสที่จะพูด  ไม่มีทางออก ไม่มีคนช่วยจริง ๆ ผมก็เลยคิดอยากจะทำแอปพลิเคชันที่เป็นสื่อกลาง เป็นช่องทางหนึ่งที่เด็กสามารถบอกเล่าได้ว่าเขาเจอกับเหตุการณ์อะไรมาบ้าง โดยที่เขาไม่ต้องเกรงว่าเขาจะโดนอะไร ผมยกตัวอย่างว่า ถ้าเกิดมีคุณครูทำไม่ดีนักเรียน  เขาจะไปฟ้องคุณครูก็ไม่ได้ ฟ้องพ่อแม่ก็ยาก เพราะพ่อแม่ก็อาจจะไม่เชื่อ แต่ถ้ามาบอกในแอปพลิเคชันนี้ แอปนี้ก็จะเป็นสื่อกลางที่ได้รับข้อมูล และสามารตรวจสอบดูรายละเอียดว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งอาจเข้าไปช่วยเหลือปัญหานั้นได้ แล้วที่ผมตัดสินใจลงทุนกับแอปพลิเคชันแทนที่จะทำโครงการในรูปแบบอื่นเพราะว่า เทคโนโลยีลงทุนครั้งเดียว แต่สามารถขยายฐานคนที่เราจะเข้าไปช่วยได้รวดเร็วกว่า เข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่งในตอนนี้แอปพลิเคชันยังเจาะเฉพาะกลุ่มเด็กก่อน เพราะเด็กเป็นวัยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้”

“ผมอยากทำอะไรที่มันเกิดผลลัพธ์ ผมเป็นนักลงทุน ต้องมองหลายอย่าง ต้องมองอนาคต ต้องมองว่าอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกของเรา ผมคิดว่าการลงทุนที่สำคัญ ก็คือ บุคลากร ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของทุกการลงทุน ถ้าเกิดว่าเยาวชนของเรายังมีปัญหาอยู่ หรือเขาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เด็ก  มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีในอนาคต ผมอยากจะไปแก้ปัญหาตั้งแต่สมัยเด็กก่อน  เพราะเด็กเหมือนผ้าขาว ถ้าผ้าขาวเขาโตมาในเส้นทางที่ถูกต้อง เขาก็จะไม่มีรอยด่างในหัวใจ” 

นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ (คุณกึ้ง)  CEO บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)

นางสาวหริสวรรณ ศิริวงศ์ (พีเจ) กรรมการผู้จัดการ BuddyThai Application กล่าวถึงคำจัดกัดความของ “BuddyThai” ไว้อย่างน่าสนใจว่า “คำว่า Buddy ถ้าหาในพจนานุกรมทั่วไป แปลว่า “เพื่อน” มากกว่า friend เป็นเหมือน Best friend เป็นเพื่อนที่รู้สึกว่า ไว้ใจได้ ถ้าเราต้องการความช่วยเหลือ ต้องการคำปรึกษาอะไร เราสามารถ ไปหาเพื่อนคนนี้ได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของไอเดียทั้งหมด ที่เราอยากจะให้ แอปพลิเคชัน  “BuddyThai”  เป็นเหมือนเพื่อนคนนึงของเด็กและเยาวชน ที่เมื่อรู้สึกว่าเขาไม่เข้าใจตัวเอง ไม่เข้าใจสถานการณ์ ไม่เข้าใจและไม่รู้ว่า เมื่อฉันรู้สึกแบบนี้ฉันต้องต้องแก้ปัญหาอย่างไร ต้องไปหาใคร ในเมื่อบางทีผู้ใหญ่ก็คือต้นเหตุของเขา หรือว่าเพื่อนที่โรงเรียนคือต้นเหตุหรือแม้กระทั่งผู้ปกครอง เขาก็ไม่รู้จะต้องหันหน้าไปทางไหน”

แอปพลิเคชัน “BuddyThai” มีฟีเจอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะ

Mood Tracking ระบบการบันทึกข้อมูบอารมณ์แต่ละวัน ซึ่งเด็กและเยาวชน สามารถเข้ามาบันทึกอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองพร้อมใส่เหตุผลได้ทุกวัน ระบบจะบันทึกสถิติเป็นรายสัปดาห์รายเดือนทำให้เด็กสามารถเช็คอารมณ์ของตนเองได้และประเมินได้ว่ามีอารมณ์หนักไปในทิศทางไหน และจะมีเทคนิคการจัดการอารมณ์ให้เด็กสามารถอ่านได้ สามารถเชื่อมต่อพูดคุยกับสายด่วนนักจิตวิทยาได้อย่างทันถ่วงทีเมื่อเกิดเหตุการณ์จำเป็น

แบบประเมินตนเอง แบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่าจะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร เมื่อโดนบูลลี่ พร้อมมีคำแนะนำดี ๆ จากนักจิตวิทยาที่เชื่อถือได้

ปุ่ม SOS ฉุกเฉิน ที่เด็กสามารถกดเพื่อติดต่อขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานสุขภาพจิตได้โดยตรง

ซึ่ง แอปพลิเคชัน “BuddyThai” นอกจากจะร่วมมือกับ กรมสุขภาพจิตแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆที่เข้ามาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น สำนักศึกษาของกรุงเทพมหานคร ที่ช่วยทำ Focus Group ลงพื้นที่ไปพบเจอเด็ก ๆ และคุณครู เพื่อไปฟังเรื่องราว ให้เด็กทดลองใช้แอปพลิเคชัน เก็บสถิติ  รวมไปถึงการทำ school tour ที่ได้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ “สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย” เข้ามาช่วยเหลือ การที่มีสภาเด็กและเยาวชนมาช่วยเหมือนได้ฟังเสียงจากตัวแทนของเด็กและเยาวชนจริง ๆ เพราะเขาทำงานกับเด็ก เขาจะรู้สิทธิของเด็กและเยาวชน รู้ถึงเทรนด์ รู้ถึงเหตุการณ์ในแต่ละภาคส่วน ก็จะเข้ามาช่วยพัฒนา แล้วก็ชี้ให้เราเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น

ส่วนในอนาคตก็เริ่มมีการจับมือกับภาคเอกชนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันอื่น ๆ ที่พูดถึง สุขภาพจิต ที่จะมาช่วยในส่วนของปุ่ม SOS หรือเพจอื่น ๆ เช่น Swing Thailand ที่พูดเรื่องเกี่ยวกับ LGBTQ  เพราะบางครั้งกิจกรรม School Tour ที่จัดขึ้นตามโรงเรียน ก็ไม่ได้พูดถึงเรื่อง Stop Bullying อย่างเดียวแต่จะไปพูดในเรื่องที่เด็กๆ สนใจ  ภายใต้ Theme รักในวัยเรียน ทั้งรักเพื่อน รักแฟน รักตัวเอง ก็จะมีเรื่อง Safe Sex เรื่อง LGBTQ เรื่องความหลากหลาย เข้ามา เราจึงจำเป็นต้องมีพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญมาร่วมด้วย

คุณพีเจ พูดถึงผลตอบรับของผู้ใช้แอปพลิเคชัน “BuddyThai” ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี หลังจากที่ได้เปิดใช้งาน ว่า “ Feedback ที่ได้รับมาเป็น สิ่งที่เราไม่คาดคิด มากกว่า สิ่งที่เราคาดคิด  บางทีเราคาดว่าเด็ก น่าจะต้องมาชอบทำเรื่องแบบนี้แน่เลยในแอปพลิเคชัน แต่กลับเป็นว่า เขาชอบมาพิมพ์ฝากเรื่องยาวๆ เหมือนเป็นไดอารี่ส่วนตัว  เข้ามาพิมพ์ทุกวัน ๆ  กลายเป็นว่าเขาให้ความสนใจกับฟีเจอร์นี้ เขารู้สึกว่าตรงนี้ก็พื้นที่ปลอดภัย  นอกจากนี้ตอนที่เราทำเราคาดการณ์ว่าเด็กก็ต้องเล่นกลางแจ้งสิ เด็กก็ต้องทะเลาะกัน อย่างมากก็แย่งของเล่น แต่พอตัดภาพมาชีวิตจริง เหมือนเคสล่าสุดที่เจอมา เด็กทะเลาะกันเรื่องลาบูบู้ คือกลายเป็นว่าคุณครูต้องออกกฏว่า ใครก็ตามที่มีลาบูบู้ ห้ามนำมาโรงเรียน  เพราะว่ามันเริ่มเกิดความขัดแย้ง คือมันก็กลายเป็นว่าเราคาดไม่ถึงมากว่ามันจะเกิดขึ้น หรือ แม้กระทั่งเรื่องของเด็กอยากแต่งหน้าไปโรงเรียน เราก็คิดว่า เราเริ่มแต่งหน้าไปโรงเรียนก็ประมาณมัธยมต้น แต่ตอนนี้คือมันเร็วมาก เริ่มตั้งแต่ประถม มีการเลียนแบบกัน พอเลียนแบบกันบางทีพ่อแม่ก็ไม่เข้าใจ  การที่เราเอาปุ่ม SOS มาใช้ เราคิดว่ามันต้องมีเหตุการณ์รุนแรง มีการฆ่าตัวตายแน่ ๆ  แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่เราพบเจอกลายเป็นเรื่องชีวิตประจำวันที่มันเกิดขึ้น ก็เลยรู้สึกว่าคือเคสที่เราสนใจตอนนี้มันไม่ใช่เคสที่ใหญ่หรือเป็นเชิงประจักษ์ขนาดนั้น เด็กเขาเหงา เขารู้สึกอยากคุยกับใครสักคนหนึ่ง กลายเป็นเรื่องชีวิตประจำวันมากๆ ที่เขามาคุยมาบ่น มาหาที่ปรึกษาในตัวแอปพลิเคชัน ทำให้เรากลับมาแตกโจทก์กันว่า แล้วส่วนที่สำคัญที่สุดของทุกปัญหามันคืออะไร เราก็เลยไปเจอว่า มันคือเรื่อง “Self Awareness” เลยเป็นเหมือน Theme ที่  2 ที่เราจะเริ่ม Move On ไปจากการบูลลี่  เพราะบางครั้งเรามองแบบ ผู้ใหญ่ที่เคยมีประสบการณ์ แล้วบางทีเราก็เผลอเอาไม้บรรทัดเราไปวัดเขา เรามองว่าเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงโรคซึมเศร้า มันน่าจะเป็นประมาณนี้นะ แต่กลับกลายว่ามันเกิดขึ้นจาก The very small Spot  ในช่วงเวลาเล็กๆ ของแต่ละวัน ก็เป็นอีกเหตุผลนึง ที่เรามองว่า phase ต่อไปเราจะเริ่มจากจุดที่เล็กที่สุด การบูลลี่มันคือปลายเหตุ ทุกอย่างมันก็เลยย้อนถอยกลับมาจุดที่เล็กที่สุดว่า เรารู้เท่าทันความรู้สึกตัวเราไหม เรารู้ไหมว่าเราไม่จำเป็นต้องเก่งเท่าเพื่อน ไม่จำเป็นต้องเอาไม้บรรทัดใครมาวัดเรา แต่เรารู้ไหมว่า Best Version ของเราคืออะไร  Best Option ของเราคืออะไร ก็เลยจะย้อนกลับมาพูดเรื่องนี้กัน”

สุดท้ายเด็กจะต้องมี “Self Awareness” ต้องรู้เท่าทันความรู้สึกตัวเองตระหนักรู้ว่าตอนนี้เราโกรธตอนนี้เราไม่ชอบ ตอนนี้เรารู้สึกแบบนั้นแบบนี้ เพื่อที่จะได้จัดการกับความแตกต่างได้

นางสาวหริสวรรณ ศิริวงศ์ (พีเจ) กรรมการผู้จัดการ Buddy Thai Application

นอกจากนี้ คุณพีเจ ยังพูดถึงการเติบโตอีกขั้นของ แอพลิเคชั่น “BuddyThai” ถึง แผนสร้าง Community  “Buddy For All” All mood…All Gender…All Generation… เพื่อสนับสนุนให้ทุกคนมี “Self Awareness” ตระหนักรู้ถึงการมีสุขภาพจิตที่ดี เรามีความตั้งใจพัฒนา Buddy Community ให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยทั้งในโลก online และ offline

 “Buddy For All  Buddy ก็คือเพื่อนสนิท เป็นเหมือนตัวแทนของเรา For all ในที่นี้คือ All Mood วันนี้เศร้า ไม่เป็นไร ไม่ต้องฝืน เราก็อยู่กับความเศร้าให้ได้ วันนี้มีความสุขโอเค ก็ลองสังเกตตัวเองดู ว่าอะไรทำให้เรามีความสุข All Gender ด้วยกำลังจะเข้าสู่ Pride Month เวลาเราไปแต่ละโรงเรียนมันก็มีเรื่องนี้เป็นเรื่องหัวใจหลักเหมือนกันเด็กที่ดูแตกต่าง เด็กที่เป็น LGBTQ มักจะถูกมองว่าเธอแตกต่าง เธอไม่เหมือนเพราะฉะนั้นทำให้เธอตัวเล็กลง แล้วก็มันดูเป็นเรื่องทั่วไปมากขึ้นในกลุ่มเป้าหมายเราด้วย ด้วยทั้ง Gen z, Gen alpha ที่เขาเริ่มมองว่าความหลากหลายคือเรื่องปกติ  เราก็เลยอยากจะกลมกลืนในเรื่องนี้ด้วย ส่วนท้ายก็คือ All Generation เราก็อยากเปิดกว้าง ว่าจริง ๆ โรคซึมเศร้า มันมีตั้งแต่เกิดจนผู้สูงวัย เราก็อยากจะเข้าถึง เราก็อยากจะเป็นเหมือนกระบอกเสียงเล็ก ๆ ที่จะทำให้ทุกคนตระหนักรู้ถึงความรู้สึกของตัวเอง”

คุณพีเจ กล่าวทิ้งท้าย “ ฝากให้แอพลิเคชั่น “BuddyThai” นี้ เป็นแรงบันดาลใจเล็ก ๆ ที่จะทำให้ทุกคนรู้ว่า เราสามารถเป็นตัวเองได้ในแบบที่เราอยากเป็น แล้วก็สามารถเลือกไม้บรรทัดที่ดีที่สุดสำหรับเราได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอามาตรฐานของโรงเรียน มาตรฐานของสังคม  มาตรฐานของโลกใบนี้ มากดดันตัวเอง แล้วก็อยากให้  แอพลิเคชั่น “BuddyThai” เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า “Self Awareness” ของทุกคน”

คุณกึ้ง ฝากทิ้งท้ายไว้ว่า “ผมไม่คาดหวังอะไรเลย ผมแค่คิดดีทำดี แล้วก็เริ่มต้น ผมก็คิดว่าอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้สังคมดีขึ้น อาจจะเป็นส่วนเล็กๆ ก็ได้ที่ผมได้เริ่มขึ้น ผมหวังว่าวันหนึ่ง แค่สังคมไทยได้ตระหนักว่า การปลูกฝังความคิดให้เด็กซึ่งเป็นอนาคตของประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จริงๆ แอพลิเคชั่น “BuddyThai”  เป็นแค่ช่องทางหนึ่งที่เด็กสามารถเข้ามาพูดคุย เข้ามาเช็คอารมณ์ตัวเองทุกวันว่า เขามีอารมณ์เป็นอย่างไร ถ้าเกิดมีอารมณ์ที่ไม่ดี ก็สามารถที่จะเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญที่สุด อยากจะฝากถึงผู้ใหญ่ที่ดูแลเยาวชน ให้รักและให้เวลา ผมว่า สิ่งสำคัญที่สุดของเด็ก เขาไม่ได้ต้องการสิ่งของอะไรมากมาย เขาต้องการ “เวลา”  ที่เป็น Quality Time จริง ๆ จากคนที่เขารัก อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า