Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ต่อสู้นาน 8 ปี ศาลตัดสินคดีดัง “นรต. โดดร่มไม่กาง” จำคุกจำเลยที่ 2-9 คนละ 4 ปี ยกฟ้อง จำเลยที่ 1 เนื่องจากไม่มีส่วนร่วมในการประมาท

จากเหตุการณ์การฝึกหลักสูตรพลร่มนักเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน รุ่นที่ 69 ที่ค่ายนเรศวร จ.เพชรบุรี แล้วเกิดอุบัติเหตุร่มไม่กาง ส่งผลให้ นรต.ชยากร พุทธชัยยงค์ หรือ น้องโยโย่ และนรต.ณัฐวุฒิ ติรสุวรรณสุข หรือ น้องฟิว เสียชีวิต เหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2557

วันที่ 8 มี.ค. 2565 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7 จ.สมุทรสงคราม นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อท 17/2563 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 ภาค 7 โจทก์ และนายอนันต์ชัย ไชยเดช ทนายความ นายสาธร พุทธชัยยงค์ บิดาของนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) ชยากร พุทธชัยยงค์ หรือน้องโยโย่ เป็นโจทย์ร่วม

กับ ร้อยเอกกณพ อยู่สุข จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 9 ราย ประกอบด้วย นายสมชาย อำภา จำเลยที่ 2 จ่าเอกกีรดิต สุริโย จำเลยที่ 3 นายรัชเดช เถาว์เพ็ง จำเลยที่ 4 นายวัชรพงษ์ วงษ์สุวรรณ จำเลยที่ 5 พ.ต.อ.อโนทัย ศาสตร์สง่า จำเลยที่ 6 พ.ต.อ.ประพงษ์ ภูฮง จำเลยที่ 7 ร.ต.อ.พิพัฒน์ เยาวเรศ จำเลยที่ 8 และนายสุพร ธนบดี จำเลยที่ 9 ในข้อหาเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฎิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย รับอันตรายสาหัส ป.อาญา มาตรา 83, 86, 157, 291, 300 พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา3, 11

นายสาธร (พ่อของ นรต.ชยากร) เดินทางมาถึงศาล พร้อมทีมทนาย ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าไปในศาลเพื่อฟังคำพิพากษาว่า จากการสืบพยานในชั้นศาลและการให้ปากคำของจำเลย มีความมันใจว่าวันนี้ จะต้องมีคนที่ได้รับโทษทางอาญา ซึ่งเชื่อว่าสาเหตุมาจากลวดสลิงแน่นอน สืบเนื่องจากว่า สลิงที่นำมาติดตั้งบนเครื่องบินไม่ใช่ของแท้ ที่ใช้กับเครื่องบินคาซ่าลำที่เกิดเหตุ ก่อนกระโดดร่มกองบินตำรวจได้ตรวจสอบด้วยการใช้ผ้ารูดไปที่สลิง พบว่าผ้าขาด แล้วพบว่า สลิงเกิดความเสียหายจะต้องเปลี่ยน

ขณะที่ กองบินตำรวจมีสลิงของแท้จากประเทศสเปน จำนวน 2 เส้นๆ ละ 98,000 บาท และเก็บไว้ในสต๊อกของกองบินตำรวจซึ่งสามารถนำติดตั้งบนเครื่องบิน แต่กองบินตำรวจไม่ได้เอาของแท้มาเปลี่ยนบนเครื่องบินคาซ่าลำที่เกิดเหตุ แต่บริษัทอุตสาหกรรมการบินกลับให้เจ้าหน้าที่ไปหาสลิงตามท้องตลาดมาใส่ เป็นของปลอมเส้นละ 4,800 บาท มาติดตั้งแทน จึงทำให้ไม่มีมาตราฐาน รวมทั้งการซ่อมก็ไม่มีมาตรฐาน โดยดัดแปลงนำสลิงดังกล่าวมาตัดและเจียให้ปลายแหลมไปใส่กับหัวยึดเดิม แล้วใช้เครื่องมือบีบปลอกจนแน่น แล้วนำไปติดตั้งบนเครื่องบิน เมื่อนักเรียนนายร้อยตำรวจกระโดดร่มลงมา ปกติสลิงจะดึงฝาร่มเปิด แต่เมื่อสลิงเป็นของปลอมไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สลิงหลุดมาทั้งพวง เป็นสาเหตุให้ร่มไม่กาง จน นรต.ตกลงมาเสียชีวิต

นายสาธร กล่าวว่า ตนมีบุตรคนเดียว ซึ่งตนดูแลเลี้ยงดูอย่างดีตั้งแต่เกิด ฝึกทักษะต่างๆให้บุตรมากมาย ทั้งด้านการเรียนการออกกำลังกาย การสูญเสียจึงเป็นความเจ็บปวดที่สุดในชีวิตของตน จนถึงบัดนี้ความรู้สึกเหล่านั้นก็ยังไม่เจือจางหายไป เส้นทางการต่อสู้ครั้งนี้ยาวนานมาก วันที่ 31 มี.ค. 2565 นี้จะครบรอบ 8 ปีเต็ม เหตุผลที่ต่อสู้ไม่ได้สู้เพื่อตัวเอง แต่ต้องการนำคนผิดมาลงโทษ ให้รับโทษทางอาญา ไม่ว่าประมาท หรือทุจริต ก็ต้องได้รับการลงโทษ เพราะผลเป็นอย่างไรลูกก็ไม่ฟื้น แต่สู้เพื่อให้เกิดความตระหนักในสังคม หากกรณีนี้มีคนรับผิดติดคุก ต่อไปหน่วยงานต่างๆ จะระมัดระวังมากขึ้น และสู้เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นต่อๆ ไป จะได้ไม่ต้องมาเสี่ยงชีวิตแบบนี้อีก การดำเนินคดีอาญาครั้งนี้ ตนอ่านสำนวนคำให้การทั้งพยานและจำเลยด้วยตนเอง ดูจากพฤติกรรมของจำเลยแล้วตนมั่นใจว่า วันนี้จะมีคนได้รับโทษทางอาญาแน่นอน

ล่าสุด ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7 พิจารณา แล้วเห็นว่า ความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ไม่มีเจตนาพิเศษ ที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่กองบินตำรวจ จึงไม่มีความผิด จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 9 ไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน จำเลยที่ 6 ถึงที่ 8 ด้วย ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานของรัฐ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่มีหน้าที่ติดตั้งสลิงจึงไม่มีความผิด จำเลยที่ 9 แม้มีหน้าที่ติดตั้งสลิงตามสัญญาจ้าง แต่ขาดเจตนาพิเศษที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่กองบินตำรวจ และบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) จึงไม่เป็นความผิด

สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291, 300 จำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดหาสลิง แต่ไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพ ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันติดตั้งสลิง ทั้งที่ทราบว่า ไม่มีใบรับรองและไม่มีการทดสอบคุณภาพเพื่อให้ทราบถึงแรงดึงของสลิง แต่มิได้ตรวจสอบ ทั้งไม่ได้ทดสอบคุณภาพของสลิง และจำเลยที่ 9 มีหน้าที่ดูแลซ่อมบำรุงและอยู่ด้วยในขณะมีการติดตั้งสลิง แต่ไม่ได้สอบถามแหล่งที่มาของสลิง ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 กระทำโดยประมาท ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่กำกับดูแลควบคุมการติดตั้งและไม่ได้อยู่ด้วยในขณะติดตั้งจึงไม่มีความผิด พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 มีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 291 (เดิม), 300 (เดิม) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฏหมายหลายบทให้ลงโทษ ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกคนละ 4 ปี ข้อหาอื่นให้ยก และยกฟ้องจำเลยที่ 1

นายสาธร กล่าวภายหลังศาลตัดสินว่า ในฐานะการต่อสู้ที่ยาวนานมาเกือบ 8 ปี พบอุปสรรคพอสมควร แต่การตัดสินวันนี้ จำเลยถูกลงโทษจำคุกคนละ 4 ปี ซึ่งตนเห็นถึงความสว่างทางกระบวนการยุติธรรมในระดับที่พอใจ จากนี้ไปเมื่อจำเลยขออุทธรณ์ ตนก็จำเป็นต้องอุทธรณ์ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า