Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘จุลพันธ์’ เตรียมเสนอบอร์ดชุดใหญ่ เคาะ 3 ทางเลือกใหม่ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต’ 1 หมื่นบาท ให้ใช้ได้ทั้งอำเภอ จากเดิมรัศมี 4 กิโลเมตร ยอมรับล่าช้า หลังเมษายน ปีหน้า

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet (ดิจิทัลวอลเล็ต) เปิดเผยในวันนี้ (25 ต.ค. 66) โดยสรุปกล่าวว่า ที่ประชุมมีข้อสรุปบางประเด็น และมีความเห็นแตกต่างหลากหลาย ยืนยันเดินหน้าโครงการโอนเงินดิจิทัลให้กับประชาชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐ จึงได้จัดทำข้อเสนอทางเลือก ต่อคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ที่มี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เป็นประธาน ในช่วงถัดไป เพื่อพิจารณาทางเลือกต่างๆ ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย จากเดิมโอนเงินให้กับทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 56 ล้านคน ใช้เงิน 5.6 แสนล้านบาท เปลี่ยนเป็นการจัดทำ ‘ทางเลือกกลุ่มเป้าหมาย’ ให้คณะกรรมการชุดใหญ่ ตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายได้รับการช่วยเหลือ

1. กลุ่มรายได้หรือเงินเดือนมากกว่า 25,000 บาท และ/หรือมีเงินฝาก 1 แสนบาท ไม่ควรได้รับการโอนเงินดิจิทัล มีจำนวน 43 ล้านคน ใช้เงินประมาณ 4.3 แสนล้านบาท

2. กลุ่มรายได้หรือเงินเดือนมากกว่า 50,000 บาท และ/หรือมีเงินฝาก 5 แสนบาท ไม่ควรได้รับการโอนเงิน มีจำนวน 49 ล้านคน ใช้เงิน 4.9 แสนล้านบาท

3. กลุ่มผู้มีรายได้น้อย เป็นกลุ่มผู้ยากไร้ มีจำนวน 15-16 ล้านคน ใช้เงิน 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มควรได้รับการช่วยเหลือ คณะอนุกรรมการฯ อยากเสนอตัดสิทธิผู้มีรายได้สูง แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบอร์ดชุดใหญ่ตัดสินใจ

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รัฐบาลยังใช้แนวทางการยืนยันตัวตนด้วยระบบ KYC ตามกรอบเดิม โดยใช้ฐานข้อมูลเดิม ซึ่งเคยยืนยันตัวตนไว้กับภาครัฐ จากโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อเข้าร่วมโครงการ สำหรับบุคคลธรรมดา นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กองทุนหมู่บ้าน ส่วนจะเปิดดำเนินการเมื่อใดนั้นจะประกาศอีกครั้ง

ด้านการใช้จ่าย มุ่งเน้นสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ในเขตอำเภอ เพื่อกระจายรายได้หมุนเวียนในท้องถิ่น ถือว่า เป็นพื้นที่ไม่ใหญ่มากเกินไป ต้องใช้จ่ายเงินภายใน 6 เดือน หากใช้ไม่หมดจะถูกตัดส่งคืนคลัง จึงตัดทางเลือกเขตตำบลและระดับจังหวัด

สำหรับการขึ้นเงินดิจิทัลเป็นเงินบาท ทำได้เฉพาะร้านค้าอยู่ในระบบภาษี ทั้งการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ส่วนแหล่งที่มาของเงินรองรับโครงการ ทำข้อเสนอ 3 ทางเลือก คือ

1. การใช้เงินงบประมาณเป็นหลัก

2. การใช้แหล่งเงินกู้ ด้วยหลากหลายวิธี

3. การใช้แนวทางกึ่งการคลัง ตามมาตรา 28 ด้วยการกู้เงินจาก ธนาคารออมสิน ซึ่งยอมรับว่าเคยสนใจ แต่ขอเป็นทางเลือกสุดท้าย คณะอนุกรรมการฯ มุ่งเน้นเสนอใช้งบประมาณรายจ่ายปี 2567 ในรูปแบบงบผูกพันต่อเนื่อง 4 ปี ใช้งบประมาณปีละ 1 แสนล้านบาท รวมยอดเงินประมาณ 4 แสนล้านบาท

ในด้านผู้บริหารและดำเนินการระบบ มอบหมายให้ ธนาคารกรุงไทย จัดทำแพลตฟอร์มใหม่ที่เป็นระบบบล็อกเชน มีความปลอดภัย เนื่องจากเคยสร้างแอปฯ เป๋าตัง มาใช้รองรับบัตรสวัสดิการฯ และบริการต่างๆ ของรัฐในช่วงที่ผ่านมา โดยสร้างระบบขึ้นใหม่ แยกจากแอปฯ เป๋าตัง ด้วยการโอนฐานข้อมูลเดิมเข้ามาใช้ ยืนยันใช้เงินสร้างระบบไม่ถึง 12,000 ล้านบาท ตามที่เป็นข่าว

ทั้งนี้ ขั้นตอนการจัดทำระบบเงินดิจิทัล ต้องทดสอบ เพื่อความปลอดภัย และการใช้งบประมาณ อาจทำให้การโอนเงินดิจิทัลมีความล่าช้า หลังเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 พร้อมกับการใช้งบประมาณโครงการของรัฐ

ภาพปกจาก กระทรวงการคลัง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า