SHARE

คัดลอกแล้ว

ประชุมรัฐสภาพิจารณา 6 ญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ สมาชิกวุฒิสภา หลายคนอภิปรายไม่เห็นด้วยกับการแก้ ม.256 ให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ มาเขียนใหม่ทั้งฉบับ ขณะที่เงื่อนไขจะผ่านวาระแรกหรือไม่ต้องใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 คือ 84 คนเป็นอย่างน้อย

วันที่ 23 ก.ย. 2563 การประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณา ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ญัตติ วันแรก

พล.อ.นาวิน ดำริกาญจน์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2560 มีกลไกในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้วในมาตรา 255-256 ในหมวด 15 แต่ยังไม่เคยใช้ ยังไม่เห็นปัญหากลับบ่นว่ายาก ทำไมไม่ลองใช้ดูก่อน ไปอนุมานเอาเองแล้วขอแก้ซึ่งตนว่าไม่ใช่ และการแก้ให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) คือ การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สามารถสร้างลูกขึ้นมาฆ่าแม่ ตนว่าเป็นญัตติลูกลาน (เหมือนต้นลานที่ออกลูกแล้วยืนต้นตาย)

“ผมไม่สบายใจครับ เป็นการขัดเจตนารมณ์ ทรยศต่อเสียง 16,820,402 ล้านคน ที่ชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมไม่แน่ใจว่าเหมาะสมหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือน่าจะขัดกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2560 เอง ที่ต้องการให้แก้รายมาตรา ไม่มีตรงไหนที่ให้ไปยกร่างใหม่ได้ อย่าลืมเสียง 16,820,402 ล้านคนครับ”

พล.อ.นาวิน กล่าวต่อว่า ตนเพิ่งอภิปรายเรื่องงบประมาณ 2564 ว่า ไม่มีการเตรียมเงินซื้อวัคซีนโควิด ถ้าเราไปให้แก้ มาตรา 256 เพื่อให้มี ส.ส.ร. จะต้องทำ 2 ประชามติ เลือกตั้งอีก 3 ครั้ง คือ เลือก ส.ส.ร.,เลือก ส.ส.และ เลือก ส.ว. ใช้งบประมารรวม 2 หมื่นล้านบาทเวลานี้เหมาะหรือเปล่า เงินควรจะไปใช้กับโควิดหรือไม่ กลับมาเสนอใช้เงิน 2 หมื่นล้าน เหมาะหรือเปล่า คิดถึงคนไทยหรือ agenda ของตัวเอง

ส่วนการแก้รายมาตรา ตนขอขอบพระคุณที่เดินตามกรอบที่มีในรัฐธรรมนูญ ตนจะพิจารณาทั้ง 4 ญัตติ โดยเฉพาะเรื่องบัตรเลือกตั้ง ตนจะผ่านวาระที่ 1 ให้ เพื่อเปิดให้มีการถกแถลงในเรื่องนี้ไม่ได้ปิดหมดทุกอย่าง

ด้านนายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม สมาชิกวุฒิสภา กล่าวตอนหนึ่งว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ มาตรา 256 เพื่อแก้ปัญหา และประเด็นแก้ไขมีเพียงบางเรื่องเท่านั้น ตนดูจากรายงานของ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล เอกสารมี 157 หน้า แต่มีเรื่องที่แก้ไขแค่ไม่กี่เรื่อง ก็ยังตกลงกันไม่ได้ว่าเรื่องไหนเป็นปัญหาจริงๆ เรื่องไหนจะให้แก้ไข

นอกจากนั้นการให้มี ส.ส.ร. ยังอาจเป็นการเซ็นเช็คเปล่าไปแก้เรื่องที่ดีอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายเรื่อง เช่น ปราบทุจริต ลดอำนาจนักการเมือง การจัดองค์อิสระ การจัดองค์กรถ่วงดุลการใช้อำนาจ

รัฐธรรมนูญเพิ่งใช้ไม่นาน หลายกลไกยังไม่ได้เดินไป อยากให้คิดให้รอบคอบถ้ามีปัญหาจริงก็ให้ตกผลึกก่อน หลายมาตราประชาชนลงมติเห็นชอบมา ดังนั้น ตนเห็นว่าควรจะแก้ไขรายมาตรามากกว่าร่างใหม่ทั้งฉบับ

นายสมชาย แสงการ สมาชิกวุฒิสภา อภิปรายตอนหนึ่งว่า การเมืองไทยย้อนกลับไปเหมือน 8 ปีก่อน มีผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งกดดันให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อีกฝ่ายหนึ่งมายื่นไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญทุกมาตรา

เราวนกลับมาเรื่องร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ แต่ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจปากท้องประชาชน ไม่ได้เห็นประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชนดีขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้เห็นยุทธศาสตร์ชาติและการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ากว่าเดิม ในขณะที่เนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็บัญญัติข้อดีไว้มากมาย

วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ซึ่งการกำหนดให้ต้องใช้เสียง ส.ว. 1 ใน 3 ตนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องยากถ้าเรื่องนั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศต่อประชาชนอย่างแม้จริง

ในขณะที่ถ้าปล่อยให้ร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีความคิดที่อยากให้รัฐธรรมนูญล้มไป เนื่องจากมีหลายมาตราที่ดีมากในการจัดการปัญหาการเมือง มีการปฏิรูปการเมือง วางยุทธศาสตร์ชาติ ห้ามมีผลประโยชน์ขัดกัน เช่น ม.144 ห้ามยุ่งเกี่ยวงบประมาณ ม.184-185 ห้ามถือสัมปทานรัฐ สัมปทานสื่อ รวมทั้ง พ.ร.ป.วิธีพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองให้มี 2 ชั้นศาล

ตนไปอ่านข้อมูลพบว่า อนุ กมธ.วิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางคนมีแนวคิด เช่น เสนอให้การนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ฟ้องที่ศาลอุทธรณ์เป็นชั้นแรก แทนที่จะเป็นศาลฎีกา ซึ่งเป็นการแก้หลักการสำคัญที่รัฐธรรมนูญปราบโกงระบุเอาไว้

นอกจากนั้นยังอยากให้ กมธ.สามัญของสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจในการเรียกผู้พิพากษา ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระมาชี้แจงได้ ดังนั้น ถ้าหากไม่พอใจ กกต., ศาลรัฐธรรมนูญ, ป.ป.ช. ก็จะใช้สภาแทรกแซงใช่หรือไม่ ตนอ่านละเอียดจนทราบความคิดว่าทำไมเขาต้องการยกร่างใหม่ ไม่แก้รายมาตรา

“รัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ได้แบบมีเงื่อนไข ถ้ารัฐธรรมนูญแก้ง่ายแบบไปเซเว่นได้เหรอครับ รัฐธรรมนูญใช้กับคน 69 ล้านคนเป็นกฎหมายสูงสุด”

นายสมชาย กล่าวอีกตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมาวิกฤติการเมืองจะเกิดขึ้นจาก 2 เรื่อง คือ ทุจริตคอร์รัปชั่นและเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ เมื่อไรที่เริ่มเอามวลชนเคลื่อนลงถนนไม่เคยสำเร็จ การปฏิวัติประชาชนในประเทศไทยไม่เคยสำเร็จ แต่จะเกิดการรัฐประหารล้มตายของผู้คน วันนี้ขอร้องว่าถ้าอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอชวนกลับมาเพื่อไม่ให้นำไปสู่สิ่งที่เกินเลย

“ท่านเดินผิด ถ้าท่านเดิน ม.256 ตามปกติ แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ศึกษามาแล้วว่ามีปัญหา ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน วุฒิสภาอย่าว่าแต่ 1 ใน 3 เลยครับ 250 คนก็โหวตให้ท่านครับ แต่สิ่งที่ท่านเสนอมาใน 4 ร่างไม่ใช่สิ่งที่เป็นประเด็นปัญหาของประชาชน เป็นปัญหาของท่านเอง”

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า การรื้อแล้วร่างใหม่ โดยอ้าง ส.ส.ร.มาจากประชาชน เปรียบเสมือนอาคารรัฐสภาน้ำรั่ว แทนที่จะแก้ปัญหาให้ตรงจุดกลับเสนอให้รื้อสภาทิ้งทั้งหมด ถ้าเห็นปัญหาเรื่องใด ถ้าวุฒิสภาเห็นด้วยก็ร่วมกันโหวต อย่าไปบอกว่าวุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับการแก้ไข แต่การแก้ไขโดยรื้อทิ้งทั้งหมดแล้วสร้างใหม่มันไม่มีวันจบ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า