Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ข้อความสำคัญจาก “หมอธนรักษ์” กรมควบคุมโรค “ตราบใดที่ยังมีผู้เดินทางจากประเทศจีนเข้ามาประเทศไทย ประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยง” และอัตราป่วย-ตาย คือสิ่งที่หมอไทยกำลังอยากรู้มากที่สุด

(นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค)

นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ก่อนการรายงานสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศไทยว่า เชื้อโคโรนาไวรัส เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่ผ่านมามันไม่ได้ก่อให้เกิดโรครุนแรง เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจส่วนบน ไข้ ไอ เจ็บคอ เป็นไม่กี่วันก็หาย แต่ในระยะต่อมาเราเจอเชื้อโคโรนาไวรัสที่ก่อให้มีอาการรุนแรง

ตัวแรก คือเชื้อซาร์ส เชื้อระบาดไปเมื่อปี 2003 ก็มีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 8,000 คน เสียชีวิตที่ประมาณ 10 % ไม่ถึง 10 % ดี ตัวที่สองคือ เมอร์ส ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยประมาณ  2,000 กว่าคนทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นนะครับ ในขณะที่ซาร์ส เราไม่เจอผู้ป่วยแล้ว เมอร์ส ยังเจอผู้ป่วยเรื่อยๆ จากตะวันออกกลาง

อัตราป่วยตาย เมอร์สรุนแรงกว่าซาร์ส คือป่วย 100 คน ตาย 30 คน ตัวนี้ (โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่) เป็นตัวที่เราสามารถรู้ว่ามันแพร่ระบาดได้เร็วกว่าเมอร์สกว่าซาร์ส

ตัวเลขที่พวกเราเห็นกันตอนนี้ ซาร์สระบาด 2 ปี มีผู้ป่วยแค่จำนวน 8,000 กว่าคน ตอนนี้แค่ประเทศจีนประเทศเดียว (โคโรนาสายพันธุ์ใหม่) ระบาดแค่เดือนเดียวตัวเลขก็กำลังจะแซงหน้าซาร์สไปเรียบร้อยแล้ว

ส่วนตัวเลขอีกตัวที่เรายังไม่ทราบจริงๆ ก็คือป่วยกี่คน แล้วจะตายกี่คนตรงนี้คือความรุนแรงนะครับ เพราะฉะนั้นเชื้อแต่ละตัวมีสองตัวที่เราสนใจ ตัวแรกคือ มันแพร่ได้เร็วไหม สองเมื่อเราติดเชื้อแล้วป่วยแล้วโอกาสที่จะเสียชีวิตมากน้อยแค่ไหน ส่วนเรื่องของอัตราป่วยตาย คือส่วนนี้เรายังไม่ทราบ และเป็นตัวเลขที่เราอยากจะทราบมากๆ

ความเสี่ยงเกิดจากอะไร เวลาพูดว่าแต่ละคนมีความเสี่ยงหรือเปล่า ความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคคลแต่ละคน ขึ้นอยู่กับ “โอกาสที่เราจะไปสัมผัสเชื้อมีมากน้อยแค่ไหน” การสัมผัสเชื้อโดยทั่วไป เชื้อมันอยู่ในคน เพราะฉะนั้นอันแรกเลยก็คือ

วันนี้เราเดินออกจากบ้านโอกาสที่เราจะไปเจอคนที่ป่วยด้วยโรคนี้มีมากน้อยแค่ไหน 100 คนที่เราเดินผ่าน เป็นผู้ป่วยกี่คน ซึ่งจนถึงวันนี้ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยจริงๆ คิดว่าน้อยมาก จะเป็นในกลุ่มผู้เดินทางชาวจีน ที่ป่วยมาตั้งแต่ประเทศจีน เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้สัมผัสผู้ป่วย โอกาสที่เราจะติดเชื้อต้องบอกว่าโอกาสเป็นศูนย์ ต้องถือว่าเป็นศูนย์นะครับ

โอกาสที่เราจะติดเชื้อ คือติดจากผู้ป่วยที่มีโรคนี้ การสัมผัสมีได้กี่แบบ มีได้ 2 แบบ อันแรกคือหายใจเอาละอองเชื้อเข้าไป เชื้อตัวนี้เป็นเชื้อไวรัส วิธีการแพร่โรคของมันคือ คนไข้ไอ หรือพูดแล้วน้ำลายกระเด็นออกมา ละอองน้ำลายกระเด็นออกมาแล้วอีกคนหายใจเอาละอองน้ำลายนี้กลับเข้าไป นี่คือวิธีติดเชื้อแบบที่ 1 ทางการหายใจ

วิธีการติดเชื้อแบบที่ 2 คือคนไข้อาจจะไอ แล้วเอาพวกน้ำมูก น้ำลายออกมา อาจจะไอแล้วเอามือปิดปาก แล้วเอามือไปเช็คตามที่ไหนก็แล้วแต่ แล้วเชื้อก็ติดอยู่ตามพื้นผิวต่างๆ คนที่สองมาบังเอิญไปโดนพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อ มือก็จะเปื้อนเชื้อแล้วมาขยี้จมูก ตา ปาก ความเสี่ยงเกิดได้ 2 แบบ คือหายใจเข้าไป และเอามือที่เปื้อนเชื้อมาขยี้ ตา จมูก และปาก การลดความเสี่ยง คือการลดโอกาศที่เชื้อจะเข้าทางทางเดินหายใจ กับลดที่จะเอามือไป ขยี้ตา จมูก ปาก เมื่อเราพูดถึงความเสี่ยงก็จะอยู่ประมาณนี้ อยู่สองส่วนนะครับ เราโอกาสไปเจอผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน และอันที่สองเราจะสามารถลดความเสี่ยงพวกนี้ได้ยังไง

เวลาที่เราสื่อสารเรื่องพวกนี้ ใจจริงผลอยากให้พวกเราผู้สื่อข่าวนำเสนอประเด็นที่บอกว่าวันนี้เมืองไทยที่มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ความเสี่ยงนั่นคือโอกาสที่เราจะไปเดินเจอคนที่ป่วย และอันที่สองแล้วเราจะลดความเสี่ยงส่วนตัวของเราได้ยังไง วันนี้ข้อมูลที่เราจะเสนอจะสะท้อนไปถึงคนไทยว่าตอนนี้สถานการณ์ของเราเป็นยังไง เรามีผู้ป่วยอยู่ในเมืองไทยมากน้อยแค่ไหน แล้วเอาเข้ามาในสถานพยาบาลได้ทั้งหมดหรือยัง?

“ถ้าเราสามารถเอาผู้ป่วยทุกคนมาไว้ในสถานพยาบาลได้ แน่นอนข้างนอกจะไม่มีผู้ป่วยเหลืออยู่ แต่ความเป็นจริงตราบใดที่ยังมีผู้เดินทางจากประเทศจีน ยังคงเข้ามาในประเทศไทย ประเทศไทยก็ยังมีความเสี่ยง คนไทยก็จะมีโอกาสเสี่ยง”

แล้วโอกาสเสี่ยงนี้แตกต่างกันไป คนที่ทำงานใกล้ชิดกับคนจีน ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่วันๆ แทบไม่เจอหน้าใครเลย วันนี้ถ้าเราไม่ได้ออกจากบ้าน วันนี้ความเสี่ยงของเราเป็นศูนย์ เพราะฉะนั้นแต่ละคนจัดการความเสี่ยงของแต่ละคนที่ตัวเองมี

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า