SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาติอาเซียน 4 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย กัมพูชา ลาวและเวียดนาม ได้รับวัคซีนโควิด-19 จากโครงการโคแวกซ์ (COVAX) แล้ว โดยคิดเป็นวัคซีนที่กระจายให้อาเซียนจำนวน 2,380,800 โดส

แต่ละประเทศได้วัคซีนตั้งแต่เมื่อไหร่ และได้รับวัคซีนชนิดใดบ้าง รวมถึงการกระจายวัคซีนโควิด-19 ผ่านโครงการโคแวกซ์ในตอนนี้เป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY ติดตามความคืบหน้าและสรุปมาให้อ่านกัน

1.) โครงการโคแวกซ์ ซึ่งถูกตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายกระจายวัคซีนโควิด-19 ให้ทั่วถึงทั้งโลก เคยออกรายงานเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาคาดการณ์การกระจายวัคซีนโควิด-19 ให้กับประเทศที่เข้าร่วมโครงการภายในเดือนมิถุนายน หรือไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

2.) ในตอนนั้น โครงการโคแวกซ์คาดการณ์ว่า น่าจะแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ไปทั่วโลกได้ 337.2 ล้านโดส ซึ่งหากเจาะลงมายังภูมิภาคอาเซียน แผนดังกล่าวคาดการณ์ว่า จะสามารถแจกจ่ายให้กับ 9 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เข้าร่วมโครงการได้กว่า 32.3 ล้านโดส ภายในเดือนมิถุนายนนี้

workpointTODAY เคยเปิดรายละเอียดเกี่ยวกับแผนการแจกจ่ายวัคซีนของโคแวกซ์ในอาเซียน สามารถกลับไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ https://workpointtoday.com/covax-vaccine-asean/

3.) เป็นเวลา 2 เดือนหลังจากโครงการโคแวกซ์เปิดเผยแผนดังกล่าว ในวันนี้ (3 เม.ย.) workpointTODAY กลับไปตรวจสอบความคืบหน้าการกระจายวัคซีนโควิด-19 ผ่านโครงการโคแวกซ์อีกครั้ง พบว่า ตอนนี้โครงการโคแวกซ์ ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 แล้วกว่า 33 ล้านโดส ให้กับ 74 ชาติที่เข้าร่วมโครงการ

4.) เจาะลึกเฉพาะอาเซียน ข้อมูลล่าสุดในวันนี้ (3 เม.ย.) พบว่า โครงการโคแวกซ์ได้ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ให้กับชาติสมาชิกอาเซียนแล้ว 4 ชาติ รวมวัคซีนที่อาเซียนได้รับผ่านโครงการโคแวกซ์อยู่ที่ 2,380,800 โดส

โดยทั้ง 4 ชาติอาเซียนที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จากโครงการโคแวกซ์แล้ว ได้แก่
⚫️ กัมพูชา 324,000 โดส ได้รับวันที่ 2 มีนาคม 2564
⚫️ อินโดนีเซีย 1,113,600 โดส ได้รับวันที่ 8 มีนาคม 2564
⚫️ ลาว 132,000 โดส ได้รับวันที่ 20 มีนาคม 2564
⚫️ เวียดนาม 811,200 โดส ได้รับวันที่ 1 เมษายน 2564

5.) สำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่โครงการโคแวกซ์ จัดสรรให้กับทั้ง 4 ชาติอาเซียน เป็นวัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) โดยคาดว่า วัคซีนจำนวนหนึ่งผลิตโดย ‘เอสเค ไบโอไซเอนซ์’ (SK Bioscience) ในเกาหลีใต้ ขณะที่บางส่วนถูกระบุว่า เป็นวัคซีนที่ผลิตโดยสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India)

6.) อย่างไรก็ตาม โครงการโคแวกซ์แสดงความกังวลเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า การกระจายวัคซีนโควิด-19 อาจเกิดความล่าช้าในเดือนมีนาคมและเมษายนนี้ เนื่องจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (Serum Institute of India) อาจส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ล่าช้า ผลจากมาตรการของรัฐบาลอินเดีย ที่ประกาศระงับการส่งออกวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตในอินเดียชั่วคราว เพื่อนำวัคซีนมาจัดการกับการแพร่ระบาดในอินเดียก่อน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า