Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปลัดสธ. ระบุ ‘โควิด-19’ กำลังระบาดในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มากกว่าพื้นที่อื่น เผยอัตราครองเตียงยังเพียงพอ อยู่ที่ 22% คาดเดือนหน้าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะสูงขึ้น ชี้อาการช่วงแรกจะวินิจฉัยยาก คล้ายโควิด-ไข้หวัดใหญ่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์โรคโควิด-19 ว่า สถานการณ์การระบาดเป็นไปตามคาดการณ์ คือ หลังเทศกาลสงกรานต์ โรงเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูฝน จะพบผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาล 2,970 ราย เฉลี่ยวันละ 424 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 425 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 253 ราย และเสียชีวิต 42 ราย เฉลี่ยวันละ 6 ราย แนวโน้มผู้เสียชีวิตลดลงจากสัปดาห์ก่อนที่มี 60 กว่าราย

แต่ปัจจัยเสี่ยงของผู้เสียชีวิตยังเหมือนเดิม คือ เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ได้รับเชื้อจากคนในครอบครัวที่มีกิจกรรมนอกบ้าน ที่สำคัญเกือบทั้งหมดไม่ได้ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

นพ.โอกาส ย้ำว่า การฉีดวัคซีน ถือเป็นมาตรการเร่งด่วนสำหรับผู้สูงอายุ เพราะช่วยลดการป่วยและเสียชีวิตได้ ขอให้ลูกหลานพาผู้สูงอายุในบ้านไปฉีดวัคซีน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์การฉีดวัคซีนประจำปี ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ที่ผ่านมา และหากลูกหลานป่วยมีอาการทางเดินหายใจ ต้องไม่เข้าไปสัมผัสใกล้ชิดผู้สูงอายุ หรือหากจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้สูงอายุ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ขณะนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล พบมีการระบาดมากกว่าพื้นที่อื่น จึงได้ให้กรมควบคุมโรค ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ทำหนังสือประสานประธานคณะกรรมการโรคติดต่อกทม.และจังหวัดในปริมณฑล ให้ประสานความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีนประจำปี เพื่อเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยินดีสนับสนุนเวชภัณฑ์และข้อมูลต่างๆ

โดยจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในประเทศไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบส่วนใหญ่เป็น ‘สายพันธุ์ XBB.1.16’ ซึ่งความสามารถในการแพร่ระบาดและความรุนแรงไม่ได้มากกว่าสายพันธุ์เดิม ขณะที่ เตียงรองรับผู้ป่วยภาพรวมทั้งประเทศและกทม. ยังคงเพียงพอ อัตราครองเตียงอยู่ที่ 22% สำหรับยาที่ใช้ในการรักษา มีเพียงพอเช่นกัน

นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังชี้แจงถึงสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ที่หลายคนกังวลว่า กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 16,650 ราย เสียชีวิต 17 ราย คาดว่า เดือนหน้าจะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงมากขึ้น เนื่องจากการสำรวจลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคตามบ้านเรือนประชาชนและสถานที่ต่างๆ พบว่า บางแห่งดัชนีลูกน้ำยุงลายสูงกว่า 50% เช่น โรงเรียน วัด สถานที่ราชการ และโรงงาน ซึ่งจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำชับเรื่องการสำรวจและเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายต่อไป

ทั้งนี้ อาการของโรคไข้เลือดออกในช่วงแรกจะคล้ายคลึงกับโรคติดต่อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ทำให้วินิจฉัยได้ยาก ได้กำชับให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ป่วย หากมีอาการไข้ สงสัยโรคไข้เลือดออก ขอให้ปรึกษาแพทย์

ภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า