Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ในวันนี้ (15 ม.ค. 67) เรื่อง ข้อเท็จจริงสถานการณ์ภาวะลองโควิด 19 และผลกระทบของวัคซีนโควิด 19

โดยระบุว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง สถานการณ์ภาวะลองโควิด 19 และผลกระทบของวัคซีนโควิด 19 ทางสื่อออนไลน์ และได้มีการส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในวงกว้าง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง คณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาของประเทศ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย ได้ร่วมกันพิจารณาข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่า ข้อมูลดังกล่าวยังมีคลาดเคลื่อนในหลายประเด็น และการส่งต่อข้อมูลดังกล่าวในวงกว้าง อาจเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเกิดความสับสน มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคมได้

ในการนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จึงขอชี้แจงเบื้องต้น ดังนี้ ภาวะลองโควิด (Long COVID) หรือ อาการหลังโควิด 19 (Post COVID-19 condition) เป็นภาวะที่พบได้จริง หลังการป่วยด้วยโรคโควิด 19 แต่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนโควิด 19

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ความเข้าใจในปัจจุบันเกี่ยวกับสาเหตุของภาวะลองโควิด และสาเหตุที่ผู้คนได้รับผลกระทบหนักเบาไม่เท่ากันนั้นยังมีจำกัด จึงยังคงจำเป็นต้องมีการติดตามผลกระทบ รวมถึงการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและการดำเนินของโรคได้อย่างแท้จริง

จากข้อมูลในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า อาการที่พบบ่อยที่สุดที่เกี่ยวข้องกับภาวะลองโควิด ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หายใจถี่หรือหายใจลำบาก ปัญหาด้านความจำ สมาธิ หรือการนอนหลับ ไอถาวร อาการเจ็บหน้าอก ปัญหาในการพูด อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อสูญเสียการรับกลิ่นหรือรสชาติ ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล และเป็นไข้ ซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถของบุคคลในการทำกิจกรรมประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ระยะเวลาในการฟื้นตัวขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล จึงทำให้ไม่สามารถระบุระยะเวลาการดำเนินของภาวะดังกล่าวได้อย่างแน่ชัด ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากที่พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะลองโควิดได้ 

สำหรับประเด็นการปกปิดข้อมูลและข้อเท็จจริงของผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียชีวิตจากวัคซีนนั้น ไม่เป็นความจริง ข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย มีการเก็บข้อมูล พิจารณา วินิจฉัย และมีการเผยแพร่อย่างเป็นระบบ โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังการได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก แนะนำ และมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระดับชาติหลายสาขาที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาว่า ผลกระทบดังกล่าว เกิดขึ้นจากวัคซีนหรือไม่ หรือมีปัจจัยอื่นใดที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ซึ่งต้องใช้ข้อมูลผลตรวจด้านการแพทย์ของผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้สามารถวินิจฉัยได้แน่ชัด

ทั้งนี้ ผลการวินิจฉัยจะมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีการปกปิดข้อมูลแต่อย่างใด การเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องครบถ้วน นอกจากนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และหน่วยงานใน
กระทรวงสาธารณสุข ไม่มีอำนาจใดที่สามารถปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ ได้ ดังเห็นได้จากการระบาดของข้อมูลข่าวปลอมและข่าวบิดเบือน (Infodemic) ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ รวมถึงข้อมูลบิดเบือนด้านวัคซีนจำนวนมาก ที่เผยแพร่อยู่ในสื่อออนไลน์ในปัจจุบัน

ประเด็นอัตราการตายส่วนเกิน (excess deaths) ของประชาชนไทยในช่วงปี 2565-2566 นั้น เป็นข้อมูลการตายจากสาเหตุอื่นๆ ในภาพรวม เช่น การเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม รวมทั้งจากการผ่อนคลายมาตรการป้องกันควบคุมโรค มีการเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับการจราจรเพิ่มมากขึ้นในปี 2565-25667 ซึ่งไม่เกี่ยวกับโรคโควิด 19 และการวิเคราะห์ข้อมูลอัตราการตายส่วนเกินไม่มีหลักฐานว่าเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ประการใด จึงไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงว่า สาเหตุการตายเกิดจากวัคซีน

สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข มีการเก็บข้อมูลอัตราการตายของประชากรไทยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยในรายละเอียดของอัตราการตายส่วนเกินในช่วงเวลาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขจะมีการแถลงให้ประชาชนทราบข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป

สำหรับประเด็นการติดตามผลกระทบเบื้องต้น จากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในผู้ที่ฉีดวัคซีนในประเทศไทยเกือบ 100 ราย ในระยะเวลา 1 ปี ที่มีการอ้างถึงนั้น ตามหลักวิชาการพบว่า ยังต้องมีการวางแผนแนวทางการศึกษาให้รัดกุม และต้องมีการกำหนดกลุ่มเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อหลีกเลี่ยงอคติ (Bias) ในการศึกษา ซึ่งจะทำให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลผลกระทบระหว่างผู้ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 และกลุ่มผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการทำการศึกษาผลกระทบของสิ่งใดก็ตาม หากไม่มีกลุ่มควบคุม อาจทำให้มีอคติเกิดขึ้นในการศึกษานั้นได้

ประเด็นข้อมูลรายงานในวารสาร Nature Scientific Reports ที่มีการกล่าวอ้างว่า การฉีดวัคซีนหลังเข็มที่ 3 ว่า อาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันชนิด T-Cell หมดแรงนั้น เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้มีการประสานไปยังนักวิจัยเจ้าของข้อมูลดังกล่าว ซึ่งมีการเผยแพร่รายงานในเรื่อง “Hybrid and herd Immunity 6 months after SARS‑CoV‑2 exposure among individuals from a community treatment program” ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค. 66 พบว่า ประเด็นหลักที่นักวิจัยต้องการสื่อสาร คือ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นปริมาณมากๆ ในช่วงระยะห่างสั้นๆ (ฉีดวัคซีนจำนวนมาก และฉีดก่อนครบกำหนด) ไม่ทำให้เกิดการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดี การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นควรมีการวางแผน และกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคได้ดีที่สุด

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกได้มีคำแนะนำให้ประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด 19 จำเป็นต้องได้รับวัคซีน 1 โดส และตามด้วยการฉีดวัคซีนเพิ่มเติม หลังจากฉีดเข็มแรกมาแล้ว 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต ซึ่งคำแนะนำสำหรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศ และเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับองค์การอนามัยโลกด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง คณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาของประเทศ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย จะทำการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตอบข้อสงสัยประเด็นต่างๆ ในรายละเอียด และจะทำการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบทั่วกันอย่างต่อเนื่องต่อไป

เอกสารอ้างอิง

1. https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/coronavirus-disease-(covid19)-post-covid-19-condition

2. https://www.thelancet.com/journals/lanres/article/PIIS2213-2600(23)00414-9/fulltext

The effectiveness of COVID-19 vaccines to prevent long COVID symptoms: staggered cohort study of data from the UK, Spain, and Estonia

3. https://jamanetwork.com/journals/jamanetworkopen/fullarticle/2797782

Prevalence and Correlates of Long COVID Symptoms Among US Adults

4. https://www.nature.com/articles/s41392-023-01640-z

The long-term health outcomes, pathophysiological mechanisms and multidisciplinary management of long COVID

5. https://ddc.moph.go.th/doe/pagecontent.php?page=744&dept=doe

6. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2023/11/Hstatistic65.pdf

7. https://digi.data.go.th/showcase/accident-on-thai-roads/

8. https://www.nature.com/articles/s41598-023-28101-5

9. https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19-vaccines/advice

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า