Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ดีเดย์ 1 มิ.ย.นี้ ศบค.ปลดล็อกให้เปิดสถานบันเทิงพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวัง 14 จังหวัด ขายและนั่งดื่มได้ไม่เกิน 24.00 น. ผู้ใช้บริการ พนักงาน นักร้อง นักดนตรี ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเข็มกระตุ้น พนักงานต้องตรวจ ATK ทุก 7 วันหรือเมื่อมีความเสี่ยง

วันที่ 20 พ.ค. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (ศบค.ชุดใหญ่) ว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้น ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ขอให้ไปฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มบูสเตอร์โดส เพราะช่วยลดอาการรุนแรง เสียชีวิตได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้สถานการณ์โควิดดีขึ้นจึงมีการพิจารณาผ่อนคลายปรับพื้นที่สี เหลือสีเขียว สีฟ้า และสีเหลือง นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบผ่อนคลายผับ-บาร์ต่างๆ ให้เปิดบริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป แต่ขอให้ประชาชนและผู้ให้บริการพิจารณาหลักการด้านสาธารณสุขด้วย ทุกอย่างที่มาตรการรัฐออกไป ทราบดีว่าประชาชนเดือดร้อน ไม่สบายใจ ทุกคนถูกสถานการณ์ทำให้ลำบากในการประกอบอาชีพ ซึ่งรัฐบาลก็ทำเต็มที่ ขอให้เข้าใจรัฐบาล วันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศหลักอันดับต้นๆ ในการดูแลเรื่องโควิด หลายอย่างองค์การอนามัยโลกนำของเราไปศึกษา

⚫ สรุปผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ 5 เรื่องสำคัญ

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ พร้อมรายงานสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดเชื้อและเสียชีวิตลดลง ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมกันทำให้วันที่ 1 ก.ค.สามารถปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นได้ สาระสำคัญการประชุมวันนี้

1. ยกเลิกกักตัว ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องสังเกตตัวเอง 10 วัน และสวมหน้ากากอนามัยสำหรับการปรับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณา ดังนี้

2. ปรับพื้นที่ความคุมโควิด-19 

– พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จาก 65 จังหวัด ลดลงเหลือ 46 จังหวัด ห้ามรวมตัวกันเกิน 1,000 คน

– พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) เพิ่มเป็น 14 จังหวัด

– พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) จาก 12 จังหวัด เพิ่มขึ้นเป็น 17 จังหวัด จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ จาก 16 จังหวัด เป็น 12 จังหวัด

3. เปิดผับ-บาร์-คาราโอเกะ-อาบอบนวด
ศบค.เห็นชอบ (ร่าง) แผนการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับสถานบริการ สถานประกอบการ ที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือ สถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เริ่ม 1 มิ.ย. 2565 ในพื้นที่ในการเปิดดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่สีฟ้า และพื้นที่สีเขียว

ลักษณะการเปิดให้บริการ กำหนดเวลาในการให้บริการ-จำหน่าย และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 24.00 น. ห้ามไม่ให้นั่งดื่ม และงดการใช้แก้วร่วมกัน การให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้า จะต้องสวนหน้ากาก

มาตรการสำหรับผู้ให้บริการ
– พนักงาน นักร้อง นักดนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
– ตรวจคัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกวัน ด้วย (TST)
– ตรวจพนักงานทุกคนด้วย ATK ทุก 7 วัน และเมื่อมีอาการหรือมีความเสี่ยง
– ถือปฏิบัติตามาตรการ UP

มาตรการสำหรับผู้รับบริการ
– ผู้รับบริหารต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
– ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP
– แนะนำให้ประชากรกลุ่ม 608 หลีกเลี่ยงการเข้ารับบริการ

มาตรการสำหรับสถานประกอบการ
– สถานบริการ ฯ ที่จะเปิดดำเนินการ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
– อนุญาตให้เปิดดำเนินการเฉพาะสถานบันเทิงที่ขึ้นทะเบียน
– จัดพื้นที่ให้บริการโดยมีระยะห่างโต๊ะอย่างน้อย 1 เมตร
– มีการระบายอากาศที่ดีและเพียงพอ
– จัดให้มีการตรวจสอบผู้รับบริหารว่า เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น และไม่ใช่กลุ่ม 608

อนุญาตให้สถานประกอบการกลุ่มโรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้าน หรือ สถานที่ลักษณะเดียวกัน เปิดดำเนินการได้ตามปกติ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าชม

4. ปรับมาตรการ  Thailand Pass เริ่ม 1 มิ.ย.นี้ คนไทยไม่ต้องลงข้อมูลใน Thailand Pass
– ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ สามารถแสดงผล pro-ATK หรือ RT-PCR ภายใน 72 ชม. ก่อนเดินทาง
– ยกเลิกการกักตัว ในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบ และไม่มีผลตรวจ โดยเมื่อเดินทางมาถึงสามารถตรวจ pro-ATK เมื่อถึงสนามบิน
– ประกันสุขภาพต่างชาติยังคงไว้ที่ 10,000 USD
– แนวปฏิบัติ ให้สายการบินตรวจสอบเอกสารต่างชาติ ที่ปรากฏตามหน้า QR code (วัคซีน หรื อผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ) และออก Boarding Pass
– เดินทางถึงประเทศไทยทำการตรวจสอบและลงระบบคัดกรองเข้าประเทศ
– ระบบ Thailand Pass โอนให้กรมควบคุมโรค ทั้งระบบ ทรัพยากร และงบประมาณ เพื่อมาพัฒนาระบบการติดตามโรคติดต่ออันตราย ได้แก่ โรคไข้เหลือง อีโบลา และโรคอุบัติใหม่

5. แผนการฉีดวัคซีน 

6. ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งที่ 18 ระยะเวลา 2 เดือน (1 มิ.ย.-31 ก.ค. 2565)

⚫ ยังไม่พิจารณาให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ยังไม่พิจารณาให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และยังไม่เคยกำหนดว่าจะกำหนดให้วันที่ 1 ก.ค.จะต้องเป็นวันเริ่ม แต่การดำเนินการอยู่ในแนวนี้อยู่แล้ว โรคประจำถิ่นไม่ใช่อยู่ดีๆ จะประกาศได้ เบื้องต้นสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น การเป็นโรคประจำถิ่นคือมีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่มาก แต่อาจมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากได้ แต่อาการไม่รุนแรง คนที่ได้รับวัคซีนแล้วอาการไม่รุนแรงไม่ถึงขั้นเสียชีวิต นี่คือบริบทหนึ่งของโรคประจำถิ่น

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่จะมาบังคับใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายอนุทิน ล่าวว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อถูกนำมาใช้อยู่แล้ว ควบคู่ไปกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นการรวมความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตราบใดที่ ศบค. ยังไม่ยุบ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีผลบังคับใช้เราก็ทำงานร่วมกัน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า