Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. ไม่ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เคาะ 1 ก.ย. ร้านยาขายยาต้านโควิด-19 ได้ตามใบสั่งแพทย์

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19)(ศบค.) แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่วันนี้ (19 ส.ค. 2565) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าในการจัดทำ กรอบ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ และห้วงเวลาในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post-Pandemic) เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคโควิด-19

จากการคาดการณ์ฉากทัศน์โควิด-19 ระยะหลังการระบาดใหญ่ (post pandemic) พบการติดเชื้อรายใหม่อยู่ต่ำกว่าเส้นสีเขียว อาการหนัก ใส่ท่อหายใจ และเสียชีวิตแตะที่เส้นสีแดง จึงมีความจำเป็นที่กลุ่มเสี่ยง 608 จะต้องรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้นเพื่อลดอัตราเสียชีวิต

ยารักษาโควิด-19 มีเพียงพอ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงการสำรองยาในประเทศว่าขณะนี้แนวโน้มการใช้ยาลดลง ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับดควิด-19 มากขึ้นว่าการติดเชื้อไวรัส สามารถหายได้เอง ทำให้มียาเก็บไว้ใช้ในผู้ที่จำเป็นจริงๆ คือ ยาฟาวิพิราเวียร์ คงเหลือ 5 ล้านเม็ด, ยาโมลนูพิราเวียร์ 6.76 ล้านเม็ด และยาเรมเดสซิเวียร์ 3.8 หมื่นโดส ยืนยันว่ามีความเพียงพอต่อการรักษา

1 ก.ย.นี้ ร้ายขายยาจ่ายยารักษาโควิด-19 ได้ สำหรับการเตรียมพร้อมเรื่องยา องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ได้เตรียมสำรองยา ส่วนกองทุนก็เตรียมบริหารจัดการค่ายาและการกระจายยาไปยังคลินิกเวชกรรม ซึ่งในวันที่ 1 กันยายนนี้ หน่วยบริการนอกสามารถจัดซื้อยาได้เอง และร้านขายยา สามารถจ่ายยาให้ผู้ป่วยได้ตามใบสั่งแพทย์ ส่วนหน่วยบริการใน สธ. ให้เริ่มจัดซื้อยาได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้เป็นต้นไป

รุนแรงการระบาดโควิด-19 ยังใช้เกณฑ์เดิม เกณฑ์การพิจารณาระดับความรุนแรงการระบาดโควิด-19 ยังอยู่ในเกณฑ์สีเขียว ซึ่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และ กทม.ได้ทำแผนการเตรียมผ่านให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ขณะที่ยังมี ศบค.อยู่ ต้องประเมินความเข็มแข็งและเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ช่วงเปลี่ยนผ่านตรงนี้ระหว่างเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้

นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า เดือน ต.ค.นี้จะมีการประกาศโควิด-19 เป็นโรคระบาดเฉพาะพื้นที่ บทบาทของ ศบค.ก็ค่อยๆ ลดลง ส่วนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ วันนี้ที่ประชุม ศบค.ยังไม่มีการพูดคุยกัน เพราะยังมีเวลาถึงเดือน ก.ย. ยังไม่มีเหตึเร่งด่วนจำเป็นใดๆ จะต้องมีการประเมินกันอีกครั้ง

สรุปผลการประชุม ศบค. ที่ได้มีการพิจารณาและรับทราบในประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ โดยสถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลก แนวโน้มพบผู้ติดเชื้อทั้งในทวีปเอเชีย และทั่วโลก เพิ่มขึ้นแบบ Small wave หลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันภายในประเทศ และการเดินทางเข้าประเทศ ขณะที่แนวโน้มพบผู้เสียชีวิตคงตัว สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทยระยะ post-pandemic มีลักษณะเป็น Small wave โดยเฉพาะ กทม.และปริมณฑล และจังหวัดท่องเที่ยว

ส่วนจังหวัดอื่นมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อคงตัว ทำให้ผู้ป่วยกำลังรักษาผู้ป่วยหนัก ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 คงตัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม 608 ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น หรือ LAAB สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่กำหนด ขณะที่อัตราครองเตียงระดับ 2-3 สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 และปริมาณยาที่ใช้ต่อวัน อยู่ในระดับคงตัว โดยเน้นจังหวัดดำเนินมาตรการ “3 พอ” : บริหารจัดการเตียงระดับ 2-3 จัดหายา เวชภัณฑ์ และวัคซีนคงคลัง รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการให้บริการสุขภาพได้สอดคล้องกับถานการณ์การระบาดของโรคที่คาดการณ์ รวมทั้งเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล 2U : Universal Prevention แนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากในสถานที่สาธารณะหรือขณะทำกิจกรรมคนจำนวนมากร่วมกัน และมาตรการ Universal Vaccination โดยเฉพาะกลุ่ม 608 รับการฉีดวัคซีนในทุกเข็ม เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจนถึงเสียชีวิต รวมทั้งเร่งสื่อสารผู้ปกครอง ให้บุตรหลานอายุ 5-11 ปี รับการฉีดวัคซีน เพื่อลดอาการรุนแรงภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 (MIS-C) ด้วย

2. ความคืบหน้าในการจัดทำกรอบ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ และห้วงเวลา ในการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post – Pandemic เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด -19 ทั้งนี้ จากการประเมิน อาการผู้ป่วยมีแนวโน้มไม่รุนแรง ยกเว้น ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง และ กลุ่ม 608
– การใช้ยาต้านไวรัส ควรให้เฉพาะกลุ่มที่มีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง
– การจัดบริการด้านการรักษาพยาบาล พิจารณาอาการผู้ป่วย โดยถ้าไม่มีอาการให้แยกกักที่บ้าน แต่ถ้ามีอาการอื่นๆ จากโรคประจำตัว ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง หรือ กลุ่ม608 และ/หรือ ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 94 % ให้รับไว้ในโรงพยาบาล
– ระยะเวลาในการแยกกักในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้แยกกักหลังตรวจพบอย่างน้อย 5 วัน จากนั้นให้ปฏิบัติตนแบบ DMH อย่างเคร่งครัดต่ออย่างน้อยอีก 5 วัน

3. กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติ โดยยังคงใช้วิธีการในการดำเนินการเช่นเดิมให้ดีต่อเนื่อง โดยใช้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือ กทม. จัดทำแผน และมีการสื่อสารแจ้งเตือนสถานการณ์ได้รับทราบเพื่อเตรียมความพร้อมหามีการระบาดขึ้นมาผิดปกติกลับมาอีก โดยที่ประชุมรับทราบข้อเสนอ 1) กรอบนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) โดยอาศัยอำนาจมาตรา 14 (1) ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 2) ห้วงเวลาการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post-pandemic เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคโควิด-19

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมาย ดังนี้

1) ฝ่ายเลขานุการ ตาม พรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ดำเนินการปรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
2) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จัดทำแผนการเปลี่ยนผ่าน และแผนรองรับการระบาด ในระดับจังหวัด ตามกรอบนโยบายของคณะกรรมการโรคติดต่อชาติ และ
3) กรมประชาสัมพันธ์สื่อสารประชาชนเพื่อกระตุ้นการรับวัคซีนและเตรียมพร้อมรับการปรับเปลี่ยนตามกรอบนโยบาย
3. ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด -19 ในประเทศ จากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ โดยขณะนี้มีความก้าวหน้าโดยลำดับ เช่น การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ชนิด mRNA โดยในปี 2566 และจะมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3 ก่อนมีแผนที่จะได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนภายในปี 2567 รวมถึงการพัฒนาวัคซีนนิด NDV-HXP-S ขององค์การเภสัชยกรรมก็มีความคืบหน้าเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปี 2566

4. การขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ที่ประชุมรับทราบนักท่องเที่ยวให้ความมั่นใจที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยสถานการณ์ท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (วันที่ 1 ม.ค. – 17 ส.ค. 2565) มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมจำนวน 3,780,209 คน ทำให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวสะสม 176,311 ล้านบาท

ที่ประชุมเห็นชอบการขยายระยะเวลาการพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด -19 ดังนี้
1) ขยายระยะเวลาพำนักสำหรับผู้ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเข้าประเทศ (ผ.30) ทั้งที่ไทยให้แต่ฝ่ายเดียว และที่มีความตกลงระหว่างกัน จากไม่เกิน 30 วัน เป็นไม่เกิน 45 วัน (ผ.45)
2) ขยายระยะเวลาพำนักสำหรับผู้ได้รับ Visa on Arrival จากไม่เกิน 15 วันเป็นไม่เกิน 30 วัน
3) การขยายระยะเวลาพำนักของผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรในข้อ 1 – 2 ข้างต้น ให้มีผลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2566
4) มอบหมาย มท. กต. สตม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติ ศบค. ต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังไม่ได้มีการพิจารณาที่จะยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะนี้ โดยต้องพิจารณาสถานการณ์ประกอบด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า