Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เผยโควิด-19 โอไมครอนแตกหน่อมากกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย เตือนระวังป่วยโควิดพร้อมกับไข้หวัดใหญ่ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ อาจส่งผลให้อาการหนักถึงขั้นวิกฤตได้

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เปิดเผยว่า ช่วงนี้นอกจากจะมีการแพร่ระบาดใหญ่ระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 แล้ว ยังมีการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ด้วย คนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิดและวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หากติดเชื้อทั้งไวรัสโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่พร้อมกัน มีโอกาสป่วยหนักได้ ขอให้ทุกคนที่ยังไม่เคยฉีด รีบไปรับวัคซีนป้องกันโรคโควิดและไข้หวัดใหญ่

นพ.มนูญ ยกตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายไทยอายุ 52 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ได้ตรวจร่างกายเกือบสิบปี ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ช่วง 4 เดือนก่อนป่วยน้ำหนักลด 4 กิโลกรัม วันที่ 5 ธ.ค. 2565 เริ่มมีไข้ ไอ เจ็บคอ จากนั้นวันที่ 7 ธ.ค. 2565 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใกล้บ้าน

แพทย์ทำการแยงจมูกส่งตรวจ ATK สำหรับโรคโควิด-19 และตรวจไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ให้ผลบวก ตรวจเลือดพบน้ำตาลสูง เป็นโรคเบาหวาน เอกซเรย์ปอดปกติ ออกซิเจนปกติ ได้ยาโมลนูพิราเวียร์รักษาโรคโควิด, ยาโอเซลทามิเวียร์รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ และยารักษาเบาหวาน

ผู้ป่วยนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 3 วัน มีอาการไอ เหนื่อยมากขึ้น ยังมีไข้สูง ออกซิเจนต่ำ เอกซเรย์ปอดเริ่มมีฝ้าขาว ขอย้ายมารักษาต่อ แพทย์รับคนไข้เข้าหอผู้ป่วยหนักด้วยโรคปอดอักเสบจากไวรัสโควิดและไข้หวัดใหญ่ และมีภาวะ DKA (Diabetic Ketoacidosis) น้ำตาลในเลือดสูงมาก น้ำตาลสะสมสูงมาก HbA1c 15 % คีโตนในเลือดสูง เลือดมีภาวะเป็นกรด

เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาว 2 ข้าง ต้องให้ออกซิเจนทางสายเข้าจมูก ให้ยาฉีดเรมเดซิเวียร์ทางเส้นเลือด 5 วัน และให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Evusheld ฉีดเข้าสะโพกข้างละ 2 เข็มเพื่อรักษาโรคโควิด และให้ยาโอเซลทามิเวียร์กินต่อเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่จนครบ 5 วัน เบาหวานควบคุมได้ด้วยการให้อินซูลิน ไข้ลง ยังมีไอบ้าง อาการเหนื่อยดีขึ้น ฝ้าขาวในปอด 2 ข้างลดลง

  • โอไมครอนแตกหน่อกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย

ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ครองสัดส่วนสูงถึง 99.5% โอไมครอนนั้นมีการแตกหน่อ มีลูกหลานไปมากถึงกว่า 540 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้ เป็นไวรัสลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ย่อยกัน หรือที่เรียกว่า recombinant กว่า 61 สายพันธุ์ย่อย

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของไวรัสที่สังเกตเห็นกันในช่วงนี้นั้นคือ มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่พบบ่อยหรือพบซ้ำต่อเนื่องในหลายสายพันธุ์ย่อย ทำให้สะท้อนว่า ไวรัสตัวใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะมีวิวัฒนาการไปในทิศทางคล้ายกัน (Convergent evolution) ที่สำคัญคือ ตำแหน่งการกลายพันธุ์เหล่านั้นดูจะสัมพันธ์กับสมรรถนะของไวรัสที่พัฒนาเพื่อให้ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากขึ้น (immune evasiveness)

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามี 5 สายพันธุ์ย่อยที่อยู่ในการติดตามอย่างใกล้ชิดในปัจจุบัน 

BA.2.75.x เริ่มมีรายงานตั้งแต่ช่วงธันวาคม 2564 และระบาดในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงปัจจุบันมีการแพร่กระจายไปทั่วโลกถึง 85 ประเทศ แต่เดิมระบาดมากในอินเดีย และบังกลาเทศ ต่อมาถูกแทนที่ด้วย XBB ขณะนี้ประเทศที่พบว่ามีความชุกของสายพันธุ์ย่อยนี้สูงสุดได้แก่ ประเทศไทย (53.8%), ออสเตรเลีย (25.1%), มาเลเซีย (22.5%), จีน (18.8%), และนิวซีแลนด์ (16.3%)

BA.5 ครองการระบาดทั่วโลกมายาวนาน เพราะมีสมรรถนะการติดเชื้อเร็ว และดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าสายพันธุ์เดิมอย่าง BA.1 และ BA.2 โดยตรวจพบแล้วใน 119 ประเทศ

BQ.1.x จัดเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่มีอัตราการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นรวดเร็วที่สุด ขณะนี้กระจายไปแล้ว 90 ประเทศ

XBB.x เป็นลูกผสมระหว่าง BA.2.10.1 กับ BA.2.75 โดยมีการรายงานครั้งแรกเมื่อสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ปัจจุบันระบาดกระจายไป 70 ประเทศทั่วโลก แต่ความชุกยังไม่มากนักราว 3.8% ประเทศที่พบมากได้แก่ อินเดีย (62.5%), โดมินิกัน (48.2%), สิงคโปร์ (47.3%), มาเลเซีย (40.9%), และอินโดนีเซีย (29.3%)

BA.2.30.2 มีตำแหน่งการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ข้างต้น ยังมีรายงานการระบาดไม่มากนัก แต่พบได้ในแทบทุกทวีป

ในภาพรวมแล้ว พบว่า สายพันธุ์ BA.2.75.x และ XBB ขยายตัวอย่างช้าๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก ในขณะที่ BQ.1.x และ BA.5 ซึ่งมีการกลายพันธุ์เพิ่มจากเดิม 5 ตำแหน่ง มีการระบาดขยายตัวขึ้นค่อนข้างเร็วกว่า และกระจายไปทั่วโลก การระบาดของไทยเรายังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

 

 

เช็กอาการป่วยไข้หวัดใหญ่และโอไมครอน เหมือนหรือแตกต่างกันตรงไหนบ้าง

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไข้หวัดใหญ่และโควิดเกิดจากการติดเชื้อคนละชนิดกัน ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซา มีระยะฟักตัว 1-3 วัน แต่อาจทำให้เกิดปอดอักเสบและเสียชีวิตได้ ถ้าอาการไม่รุนแรงสามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-2 สัปดาห์

ไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการ

  1. มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
  3. ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น
  4. เบื่ออาหาร
  5. คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ
  6. บางรายอาเจียน คลื่นไส้

สำหรับโควิด-19 สายพันธุ์ล่าสุดเป็นโอไมครอน เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา มีระยะฟักตัว 2-14 วัน ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ทั้งการไอ จาม ละอองฝอย น้ำลาย ส่วนใหญ่มีอาการดังนี้

  1. มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส
  2. เหนื่อยล้ามาก ปวดกล้ามเนื้อ
  3. ปวดศีรษะ
  4. เบื่ออาหาร
  5. เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอแห้ง ๆ หายใจลำบาก
  6. แพร่เชื้อได้ใน 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า