Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
ศ.นพ.ประสิทธิ์ แนะไทยควรเริ่มจองวัคซีนรุ่นที่ 2 จากผู้ผลิตทั่วโลกที่กำลังพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ดีกว่า ชี้กรณีผู้ติดเชื้อโควิด 2 สายพันธุ์ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากพอที่จะสรุปว่ามีความรุนแรงมากกว่าติดสายพันธุ์เดียวหรือไม่
วันที่ 13 ก.ค. 2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหวิทยาลัยมหิดล แถลง “อัปเดตสถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลกและในประเทศไทย : ถอดบทเรียนเพื่อก้าวผ่านวิกฤติ” โดยมีประเด็นเรื่องวิเคราะห์อัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีนในต่างประเทศ แนวทางเกี่ยวกับการรับวัคซีนเพื่อป้องกันสายพันธุ์ใหม่ๆ รวมทั้งภาพรวมการรับมือของประเทศไทยในการกระจายวัคซีนและการยับยั้งการติดเชื้อโควิด-19
ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกพบการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างรวดเร็วและคาดว่าน่าจะมีสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก สิ่งที่รัฐบาลต้องเดินหน้ากำหนดนโยบายตอนนี้ คือ เริ่มดำเนินการจองวัคซีน รุ่นที่ 2 กับบริษัทผู้ผลิตหลายบริษัททั่วโลก ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพรับมือของการกลายพันธุ์ได้ดีกว่า ที่สำคัญมีบางบริษัทนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีกว่าวัคซีนรุ่นที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บที่ไม่จำเป็นต้องใช้อุณหภูมิสูง ราคาถูกลง เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายได้นานถึง 1 ปี รวมถึงกำลังการผลิตมีเพิ่มมากขึ้น
“คาดว่าวัคซีนรุ่น 2 น่าจะออกมาภายในปีหน้าไตรมาสแรก เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิต ยืนยันว่ายุทธศาสตร์ที่ต้องใช้ตอนนี้คือการเร่งเดินหน้าฉีดวัคซีนให้ได้ทุกคน เพื่อให้ระบบสาธารณสุขอยู่รอดและมีเสถียรภาพมากที่สุด”
วัคซีนรุ่นที่ 2 ยังไม่มา ต้องพิจารณาฉีดไขว้วัคซีน

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลการฉีดวัคซีนไขว้ชนิดเพื่อรับมือกับสายพันธุ์เดลตา ในต่างประเทศพบว่า มีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าการฉีดวัคซีนชนิดเดียวกัน 2 เข็ม สำหรับประเทศไทยขณะนี้มีทีมวิจัยจาก 4 สถาบันทางการแพทย์ ที่กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่ และในเร็วๆ นี้จะทราบผลว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) จะแนะนำให้ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ชนิดเดียวกันและยังไม่มีการรับรองว่าให้ฉีดชนิด แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด-19 ของแต่ละประเทศว่าจะพิจารณาการใช้วัคซีนไขว้

ผู้ป่วยติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ ยังสรุปไม่ได้ว่ารุนแรงกว่าหรือไม่

ส่วนประเด็นการพบผู้ติดเชื้อโควิด 2 สายพันธุ์ในคนเดียวกัน ศ.นพ.ประสิทธิ์ บอกว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจอในไทย ต่างประเทศก็เคยเกิดขึ้น แต่ยังไม่เคยมีงานวิจัยจากต่างประเทศบอกว่ารุนแรงมากกว่าหรือด้อยลง ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถให้คำตอบได้จะต้องรอเวลาในการศึกษาวิจัย ที่สำคัญผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ยังมีไม่มากพอที่จะสรุป

“ที่ผ่านมาพบว่าหากสายพันธุ์ที่แกร่งกว่า ก็จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดแทนที่ ตอนนี้สิ่งที่ทำได้คือการเฝ้าระวังติดตามผลอย่างใกล้ชิดเพื่อดูอาการของผู้ป่วย”

ศ.นพ.ประสิทธิ์ ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่ไทยน่าห่วงตอนนี้คือการเพิ่มความรุนแรงของสายพันธุ์เดลตา ที่กำลังจะเข้ามายึดเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศแทนที่สายพันธุ์อัลฟา ดังนั้น ทางที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้คือวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และผู้สูงอายุ

ขออย่ากลัวที่จะฉีดวัคซีน เพราะที่ผ่านมาในโรงพยาบาลศิริราชมีผู้ป่วยหนักจำนวนไม่น้อยที่บอกว่ารอฉีดวัคซีนทางเลือก แต่กลับติดเชื้อแล้วอาการหนัก ก่อนจะเสียชีวิตทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันเลย ดังนั้นการจะรอฉีดวัคซีนทางเลือก คือรอได้ แต่ควรฉีดยี่ห้อที่มีอยู่ขณะนี้ไปก่อนเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนรอบตัว

“ผู้ป่วยโควิดเกินครึ่งของศิริราชตอนนี้ปอดอักเสบ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเยอะมาก ซึ่งคนจำนวนหนึ่งให้เหตุผลที่ไม่อยากฉีดวัคซีน เพราะอยากจะรอวัคซีนปลายปี แต่ผมต้องบอกว่าขอให้ฉีดที่มีไปก่อน เราสามารถฉีดเสริมทีหลังได้ ไวรัสตัวนี้แพร่กระจายได้เร็วจริง ผมว่าถ้าทำความเข้าใจจะดี ทั้งโลกฉีดไปเยอะแล้ว เราเห็นความสำคัญของวัคซีนมาก อย่าลืมว่าการฉีดวัคซีนต้องใช้เวลากว่าภูมิคุ้มกันจะขึ้น ถ้ามีคิวฉีดควรฉีดครับ” ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า