Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ทันกำหนด 5 สัปดาห์ดังที่ “เจ้าสัวธนินท์” ประกาศสร้าง รง.ผลิตหน้ากากอนามัย ตั้งเป้า 3 ล้านชิ้น/เดือน ก่อนส่งมอบ รพ.จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแจกจ่ายให้ รพ.ทั่วประเทศ

หลังจากนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีนโยบายลงทุน 100 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยแจกฟรีแก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชน เพื่อใช้ในการป้องกันโรค โดยได้เคยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 63 ว่าจะใช้ระยะเวลาในการสร้างโรงงานหน้ากากใน 5 สัปดาห์นั้น

ล่าสุดวันนี้ (10 เม.ย. 63) ซึ่งครบกำหนด 5 สัปดาห์ ตามที่นายธนินท์เคยประกาศไว้ “ผู้สื่อข่าวเวิร์คพอยท์” ได้เดินทางไปที่โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย ของซีพี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด (KPI)ที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยทางซีพีได้เปิดโรงงานให้สื่อมวลชนเข้าชม บริเวณด้านนอกห้องปลอดฝุ่น (Clean Room) ซึ่งเป็นห้องปลอดเชื้อที่ใช้ผลิตหน้ากาก โดยลงเครื่องจักรครบแล้ว มีเครื่องจักรหลัก 2 ตัว และอีก 1 ตัวสำรอง พร้อมผลิตหน้ากากอนามัย

ทั้งนี้ เหลือเพียงขั้นตอนการขออนุญาตจาก อ.ย. คาดว่าจะสามารถเดินเครื่องผลิตได้ในสัปดาห์หน้า เบื้องต้นตั้งเป้าผลิต 3 ล้านชิ้นต่อเดือน ก่อนส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ โดยมี รพ.จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางในการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เมื่อบุคลากรทางการแพทย์มีหน้ากากอนามัยใช้อย่างเพียงพอแล้ว จึงจะแจกจ่ายให้กับประชาชนต่อไป

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนผ่าน vdo conference ว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนกำลังใจให้ทุกคนผ่านวิกฤติ Covid-19 ไปให้ได้ ซึ่งหากวิกฤติยืดเยื้อก็พร้อมเพิ่มทุนสนับสนุนโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย ซึ่งเดิมลงทุน 100 ล้านบาท ก็จะเพิ่มการลงทุนให้มากกว่านี้ สิ่งใดที่เครือฯ ทำได้ ก็จะพยายามช่วยเหลือกัน

“ผมขอขอบคุณหมอ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เสียสละเพื่อคนไทย ในภาวะวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ รวมทั้งขอขอบคุณทีมงานทุกคนทั้งในไทยและจีน ที่ร่วมฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อบุคลากรทางการแพทย์และคนไทยได้ทันใน 5 สัปดาห์ ทั้งที่โดยปกติต้องใช้ระยะเวลาถึง 3 เดือน โดยเราวางแผนไว้ว่า หลังวิกฤติโควิด 19 จบลง จะมอบโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยนี้ให้กับ รพ.จุฬาฯ และรายได้จากการจำหน่ายหน้ากากอนามัยหลังหักต้นทุน ซึ่งทางเราจะควบคุมราคาตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เรามอบให้ศูนย์โรคหัวใจ รพ.จุฬาฯ ทั้งหมด”

นายศักดิ์ชัย บัวมูล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิศวกรรมกลางอาหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการผลิต ในฐานะหัวหน้าสายงานด้านวิศวกรรมและการออกแบบกระบวนการผลิตโรงงานหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย กล่าวว่า ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room) ที่ใช้สำหรับการผลิตหน้ากากอนามัยนั้น เมื่อถึงเวลาดำเนินการผลิตจริง จะมีผู้ดำเนินการในห้องเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อความสะอาดและปลอดภัยสูงสุด ซึ่งหน้ากากอนามัยของซีพีทุกชิ้นต้องได้มาตรฐาน

“เราได้ร่วมมือกับ สจล ลาดกระบัง ในการใช้ระบบสมองอัจฉริยะ AI ในการตรวจหน้ากากทุกชิ้น เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ก่อนจะใช้เครื่องจักรบรรจุลงซอง จากซองลงแพ็ก แพ็กละ 12 ชิ้น จากแพ็กบรรจุลงลัง และจากลังไปเข้าโกดัง ซึ่งต้องอัตโนมัติทั้งหมด ทำให้ทางวิศวกรของซีพีเราต้องออกแบบเครื่องจักรเองบางส่วน เพื่อให้หน้ากากดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนี้ ในการติดตั้งเครื่องจักร เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญเจ้าของเทคโนโลยีและเครื่องจักรที่จีนบินมาไม่ได้ ทางเราจึงต้องทำเอง ติดตั้งเอง จึงแก้ปัญหาด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญผ่าน teleconference ทางไกล โดยใช้ระบบ True Versual World และสามารถติดตั้งได้เองภายใน 4 วัน อย่างมีคุณภาพ” นายศักดิ์ชัย กล่าว

สำหรับวัตถุดิบสำคัญในการผลิตหน้ากากอนามัยครั้งนี้ คือ แผ่นกั้นเชื้อโรค หรือ เมลต์โบลวน์ (Meltblown) ภายในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นวัตถุดิบที่หายากและราคาปรับสูงขึ้นจากภาวะปกติหลายสิบเท่า ทำให้กระบวนการจัดซื้อต้องใช้พลังจากเครือข่ายและพันธมิตรในหลายประเทศ เนื่องจากต้องการให้มีวัตถุดิบผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

ตามมาตรฐานการผลิต หน้ากากอนามัยจะประกอบด้วย 3 ชั้น  ชั้นแรกเป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีเขียว) เคลือบสารไฮโดรโฟบิกเพื่อเพิ่มสมบัติกันน้ำ ชั้นต่อมาเป็นนอนวูฟเวนชนิดเมลต์โบลวน์ (สีขาว) ใช้ป้องกันเชื้อโรค และชั้นสุดท้ายเป็นนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (สีขาว) โดยนอนวูฟเวนชนิดสปันบอนด์ (spunbond nonwoven)

การก่อสร้างโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย นายภูมิชัย ตรัยดลานนท์ รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจอุปกรณ์การเกษตร 2 บริษัท เกษตรภัณฑ์อุตสาหกรรม จำกัด (KPI) ในฐานะหัวหน้าทีมควบคุมการก่อสร้างโรงงานหน้ากากอนามัยฟรีเพื่อคนไทย กล่าวว่า โรงงานที่ผลิตหน้ากาก จะต้องทำห้องปลอดฝุ่น (Clean Room) ซึ่งต้องทำให้เสร็จใน 3 สัปดาห์ เป็นความยากที่ต้องทำให้ได้ รวมทั้งวางแผนด้านกำลังคน เพื่อให้โรงงานเสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดเวลาและได้มาตรฐาน

ด้าน ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ผู้ช่วยบริหาร สำนักประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้กล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคในการสั่งซื้อเครื่องจักรและวัตถุดิบต่างๆ รวมทั้งเรื่องการขนส่ง กว่าจะดำเนินการได้สำเร็จว่า จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ส่งผลให้ทุกประเทศมีมาตรการเข้มงวดเรื่องการนำเข้าและส่งออก ซึ่งมีผลต่อการนำเข้าเครื่องจักรผลิตหน้ากากอนามัย ที่เครือซีพีได้ดำเนินการสั่งซื้อจากประเทศจีน รวมถึงปัญหาเรื่องการจัดหาวัตถุดิบที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก ประกอบกับสถานการณ์การบินจากประเทศจีนที่มีจำนวนเที่ยวบินลดลงกว่า 70% และมีกำหนดการที่ไม่แน่นอน ทำให้ต้องปรับแผนการขนส่งเครื่องจักรกันแบบวันต่อวัน

“เครื่องจักรผลิตหน้ากากต้องไปต่อคิวโรงงานที่มีคิวผลิตเครื่องจักรยาวเหยียด และทุกประเทศแย่งกันหมด ซึ่งตามโจทย์ของคุณธนินท์ เครื่องจักรต้องทันสมัย เป็นแบบอัตโนมัติ ดังนั้น เครื่องที่สั่งมาจะทำงานต่อเนื่องได้วันละ 3 กะ แล้วใช้กำลังคนเพียงกะละ 3 คน นอกจากนี้ ตลอดการเตรียมการขนส่ง เราถูกยกเลิกเที่ยวบินไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง เพราะความเข้มงวดในการส่งออก ทำให้ต้องวางแผนรายวัน ซึ่งเราพบว่ามีเที่ยวบินว่างที่ซีอาน ทำให้ต้องลากเครื่องจักรโดยใช้รถบรรทุกจากโรงงานกว่า 1,700 กม. เพื่อไปขึ้นเครื่อง แต่พอไปถึงก็ถูกยกเลิกเที่ยวบินอีก หรืออย่างวัตถุดิบตัวที่ใช้กรองชื่อว่า เมลโบรนด์ (Meltblown) ซีพีใช้เครือข่ายทั่วโลกในการตามหาวัตถุดิบที่หายาก ขาดตลาด ราคาแพง ซึ่งเราถูกยกเลิกออเดอร์กว่า 20 ครั้ง เพราะหลายประเทศเริ่มเข้มงวดด้านการส่งออก ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ได้ไม่ง่ายเลย” ดร.ธีระพล กล่าว

นอกจากนี้ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ยังให้ข้อคิดในภาวะวิกฤติเช่นนี้ทิ้งท้ายไว้ว่า ในยามวิกฤติต้องคิดว่าจะทำอย่างไร จะรับมืออย่างไร ตนผ่านวิกฤติมาหลายครั้ง แต่ครั้งนี้รุนแรงกว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะเป็นโรคระบาดทั่วโลก ลองหาทางออกที่พอจะทำได้ เช่น ร้านอาหารอาจไม่ต้องจ้างพนักงานออก แต่เปลี่ยนมาส่งอาหารให้ผู้บริโภคถึงที่ โดยให้พนักงานที่อยู่ว่างๆ เป็นผู้ส่ง และสอบถามผู้บริโภคถึงสิ่งที่ต้องการเพิ่มเติม ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่เขาต้องการ หากทางร้านหาให้เขาได้ครบ พร้อมไปส่งถึงที่ ในภาวะที่ไม่มีใครอยากออกจากบ้าน เขาจะนึกถึงเราก่อนเป็นคนแรก และแม้ในวันหน้าทุกอย่างจะดีขึ้นก็ต้องไม่ประมาท ความสำเร็จควรดีใจได้เพียงวันเดียว นั่นคือดีใจเพียงวันเดียวพอ วันต่อๆ ไปต้องคิดหาทางรับมือและคิดไว้เสมอว่า หากเกิดวิกฤติขึ้นอีกจะทำอย่างไร จะรับมืออย่างไร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า