Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 24 มิ.ย. น.ส.เพชรชมพู กิจบูรณะ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) แถลงข่าวสรุปผลการประชุมว่า กมธ.จะขอขยายระยะเวลาในการดำเนินงานต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร จากเดิมมีกรอบระยะเวลาจำนวน 30 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 10 ก.ค. นี้ออกไป เพื่อจะได้มีระยะเวลาในการทำงานอย่างละเอียดรอบคอบ เนื่องจากเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาและพิจารณา
การประชุม 5 ครั้งที่ผ่านมาได้เชิญทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม NGOs มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล และได้ทำหนังสือไปยัง UPOV 1991 เพื่อสอบถามรายละเอียดและสอบถามความถูกต้องในการตีความของ กมธ. ในอนุสัญญาต่างๆ เพื่อยืนยันความถูกต้อง ทั้งนี้ ยังได้สอบถามประเด็นการได้เปรียบและเสียเปรียบหากประเทศไทยจะเข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าวโดยเฉพาะประเด็นเมล็ดพันธุ์ข้าว
อย่างไรก็ตาม กมธ. เห็นว่า รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายทั้งการเยียวยาเกษตรกรควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร เพื่อสร้างการแข่งขันในเวทีระดับโลก
ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า จะเชิญคณะกมธ.ที่เกี่ยวข้อง เช่น กมธ.การเกษตร มาร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมประกอบการพิจารณาต่อไป

นะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้เข้าหารือกับ นายวีระกร คำประกอบ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ CPTPP และเชิญชวนให้ไทยเข้าร่วม เมื่อ 18 มิ.ย.

น.ส.เพชรชมพู ชี้แจงเพิ่มเติมว่า แม้ประเทศภาคีของ​ CPTPP​ จะมีการประชุม​ประจำปีในวันที่​ 5 ส.ค.ที่จะถึงนี้​ และถ้าเราพร้อมเจรจาเข้าร่วมข้อตกลง​ก็ต้องส่งหนังสือ​แสดงเจตจำนงไปก่อนหน้า​ แต่ในการทำงานของ กมธ.จะไม่นำกรอบเวลานี้มาเป็นข้อผูกมัดตัวเอง​ ไม่เร่งรีบพิจารณา​จนถึงขั้นทำให้มีประเด็น​สำคัญ​ต้องตกหล่นไป​ เรื่องใดก็ตามที่เป็นผลประโยชน์​ของประเทศชาติ​ จะต้องพิจารณา​ให้ละเอียด​รอบคอบ
โดยเฉพาะประเด็น​ UPOV​ 1991 ซึ่งเป็นอนุสัญญา​ระหว่าง​ประเทศ​เพื่อการคุ้มครอง​พันธุ์​พืชใหม่​ คณะ กมธ.จะทำเป็นหนังสือสอบถาม​อย่างเป็นทางการ​ไปทางหน่วยงาน​โดยตรง​ เพื่อขอความชัดเจนเรื่อง​ สิทธิ​ของเกษตรกร​ในพันธุ์​พืชใหม่ที่ได้รับความ​คุ้มครอง​ และ​ การขอยกเว้นพันธุ์​พืชบางประเภทที่เป็นพืชไร่​ พืชเศรษฐกิจ​
“คณะ กมธ.ได้เชิญ​หลายภาคส่วนมาให้ข้อมูล​ ทั้ง​ภาค​รัฐ​ เอกชน​ และ​ NGOs ต่างๆ​ ที่ทำงานในประเด็น​ที่เกี่ยวข้อง​ เพราะเราตระหนัก​ดีว่า​ ข้อตกลง​นี้​หากไทยส่งหนังสือแสดง​เจตจำนงขอเจรจา​แล้ว​ ต้องนำข้อเสนอ​ข้อห่วงกังวล​ของประชาชนไปเป็นข้อเจรจาด้วย​ หากมีคำถามใดที่เราเองยังตอบประชาชน​ได้ไม่ชัด​ เราก็ไม่สมควรดำเนินการ​ไปถึงขั้นยื่นหนังสือดังกล่าว”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า