Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กลลวงมิจฉาชีพใช้สายชาร์จ ขโมยข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือ ดูดเงินบัญชีธนาคารจนหมด เตือนอย่าใช้สายชาร์จคนแปลกหน้า ขณะที่รองผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยียืนยันเคสแบบนี้ยังไม่เคยมีในประเทศไทย

  • แค่เสียบสายชาร์จ ถูกดูดเงินในบัญชี

วันนี้โลกออนไลน์มีการพูดถึงเรื่องสายชาร์จโทรศัพท์ดูดข้อมูล และตื่นตัวกับภัยภัยไซเบอร์นี้อย่างมาก ขณะที่ตำรวจสอบสวนกลางออกมาเตือนเรื่องการใช้สายชาร์จโทรศัพท์ ว่าปัจจุบันพบว่ามีสายชาร์จที่ฝังตัวส่งสัญญาณไร้สาย Access Point ที่เมื่อเราเสียบสายชาร์จเข้ากับอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือของเราแล้ว จะทำให้เหล่าแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์ของเราได้จากระยะทางไกล 

โดยเเฮกเกอร์จะสามารถโจรกรรมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เลขบัญชีธนาคาร, รหัสธนาคาร, รหัสผ่าน หรืออาจจะถูกส่ง Malware อันตรายเข้ามายังอุปกรณ์ ซึ่งรูปร่างหน้าตาของสายชาร์จดังกล่าว จะมีหน้าตาคล้ายกับสายชาร์จทั่วไป มีทั้งสายชาร์จแบบ Lightning, Micro-USB หรือ USB-C จึงอาจทำให้หลายคนไม่ทันระวังตัว 

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการถูกแฮกข้อมูล ควรระมัดระวังการใช้สายชาร์จของคนเเปลกหน้า หรือ การเสียบสายชาร์จไฟจากพอร์ทรูปแบบต่างๆ ตามสถานที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, สถานีโดยสารต่างๆ 

  • เพจดัง เตือนใช้สายของแท้ชาร์จไร้สาย

ขณะที่เพจ Drama-addict ออกมาเตือนว่า ให้ซื้อสายของแท้ (หรือเป็นสายที่ apple certified) และไม่ใช้สายชาร์จของคนใครก็ไม่รู้ สายใครสายมัน หรือชาร์จไร้สายไปเลย

และยังระบุอีกว่า สายชาร์จไอโฟน ที่ทีมแฮคเกอร์ดัดแปลงข้างในให้สามารถดูดข้อมูลจากเครื่องเหยื่อได้ สมมุติมีคนใช้สายนี้เสียบชาร์จ ก็จะสามารถดูดข้อมูลในเครื่องนั้นได้ โดยตัวสายจะมีอุปกรณ์ในการดักจับข้อมูล ถ้าเหยื่อพิมพ์ข้อมูล รหัสผ่าน ก็จะถูกส่งข้อมูลผ่านระบบไร้สายไปเข้าคอมพ์ของมิจฉาชีพได้ 

พร้อมเตือนว่าตอนนี้มิจฉาชีพมาทุกรูปแบบ และสายชาร์จของมิจฉาชีพนี่ก็มีขายทั่วไปในท้องตลาด หน้าตาภายนอกแยกจากสายชาร์จไม่ออก ดังนั้นเวลาจะชาร์จมือถือ ใช้สายใครสายมัน อย่ายืมสายคนแปลกหน้ามาใช้ 

  • ระวัง Wi-Fi ปลอม ชื่อคล้าย Wi-Fi สาธารณะที่ให้ใช้ฟรี

เพจ Drama-addict ยังบอกอีกว่าอีกวิธีที่มีการเตือนเรื่อยๆ คือ Wi-Fi  ปลอม ซึ่งวิธีนี้ มิจฉาชีพจะไปตั้งจุด Hotspot Wi-Fi ให้ชื่อคล้ายๆ กับ Wi-Fi สาธารณะที่ให้ใช้ฟรี  และต่อเน็ตได้ แต่ถ้าเราหลงเชื่อไปใช้งาน Wi-Fi ปลอมพวกนี้ แล้วกรอกรหัสไป ข้อมูลก็จะถูกดักไว้โดยมิจฉาชีพ ถูกขโมยข้อมูลแบบไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าจะไปใช้งาน wifi สาธารณะ เช็กกันดีๆ ว่าเป็นของจริงหรือของปลอม พลาดไปก็หมดตัวได้เลย

  • เปิด 3 อันดับแรกกลลวงมิจฉาชีพไซเบอร์

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รองผบก.ปอท.) บอกว่า เรื่องสายชาร์จแฮกข้อมูล มีความเป็นไปได้ยากและในประเทศไทยยังไม่เห็น ส่วนกรณีชายที่บอกว่าชาร์จโทรศัพท์มือถือทิ้งไว้ แล้วเงินโอนออกเองอัตโนมัติ ตรวจสอบข้อมูลแล้วไม่ได้มาจากสายชาร์จโทรศัพท์ แต่มาจากวิธีอื่นส่วนเรื่องสายชาร์จดูดข้อมูล ในประเทศไทยยังไม่มี

พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ บอกว่า มิจฉาชีพไซเบอร์ ที่เข้ามาหลอกลวง ตามสถิติการแจ้งความออนไลน์ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรม ทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) เท่าที่ตรวจสอบคือเรื่องการซื้อของขายของออนไลน์ เพราะตอนนี้ทุกอย่างอยู่ในมือเราทั้งหมด ไม่ว่าจะสั่งในแอปพลิเคชัน สั่งจากเพจ และมีการโอนเงินด้วยโมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งมิจฉาชีพแฝงตัวเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เยอะ

สองคือ หลอกให้ทำงานออนไลน์ หรือทำงานทางอินเทอร์เน็ต เช่น ดูคลิปยูทูบแล้วได้เงิน คือกลลวงของมิจฉาชีพ ก่อนจะหลอกให้ทำภารกิจและลงทุนจนหมดตัว

สาม คือแชร์ลูกโซ่ หรือหลอกลงทุนที่ไม่มีอยู่จริง จะมาในรูแบบสอนการลงทุน จากนั้นจะอ้างว่ามีการลงทุนที่ทำเงินได้ และชักชวนให้ลงทุน ผ่านระบบปลอม หรือให้นำเงินมาให้แล้วจะลงทุนให้

  • วิวัฒนาการมิจฉาชีพไซเบอร์

อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศบอกว่าปัจจุบันทคโนโลยีพัฒนามาไกลมาก มาจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป  ทำให้มิจฉาชีพมีช่องทางที่เข้ามาหาเราง่ายขึ้น แฮกเกอร์รูปแบบใหม่ๆ ที่ต้องระวัง ส่วนใหญ่มาทางมือถือ ช่องทางที่จะเข้ามาหาเรากว้างและเร็ว  เช่น เมื่อก่อนจะเข้าอินเทอร์เน็ตต้องเข้าคอมพิวเตอร์ และเมื่อเลิกใช้งานก็ปิดเครื่อง แต่ปัจจุบันเราใช้โทรศัพท์ เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มิจฉาชีพมีช่องทางที่เข้าถึงง่าย 

เมื่อสิบปีที่แล้วมิจฉาชีพเข้ามาทางอีเมล จากนั้นเมื่อโทรศัพท์เริ่มเป็นที่นิยม ก็มีการส่งเอสเอ็มเอสเข้ามา จนปัจจุบันเข้ามาทางโซเชียลมีเดีย ทางไลน์ หรือแมสเซนเจอร์ ในเฟซบุ๊ก แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือ ส่งเป็นลิ้งก์มาเหมือนเดิม และช่วงนี้ที่ระบาดหนักช่วงนี้คือ ส่งเป็นเอสเอ็มเอสเข้ามาทางโทรศัพท์ 

  • ไม่เชื่อ ไม่คลิก ไม่โดน 

อ.ปริญญา กล่าวว่า ในการหลอกลวงมิจฉาชีพอาศัยจุดตายมนุษย์ 2 จุด คือ ความโลภและความกลัว กลัวก็กด โลภก็กด แต่ถ้าเป็นไอโฟน อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง หรืออาจจะแฮกไม่ได้เลย แต่ถ้าเป็นแอนดรอยด์จะง่าย ส่วนใหญ่ที่โดน 99.99 เป็นแอนดรอยด์   

แต่คนที่ใช้แอนดรอยด์แล้วไม่โดนมิจฉาชีพหลอกหรือแฮกข้อมูลก็มีเยอะ เพราะเขาไม่ได้กดลิงก์ต่างๆ พร้อมฝากคำเตือนว่า

เชื่อ คลิก โดน ไม่เชื่อ ไม่คลิก ไม่โดน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า