Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไข้เลือดออก (Dengue fever) เป็นโรคที่อยู่คู่กับเมืองร้อนชื้นอย่างประเทศไทยมายาวนาน เพราะพบการระบาดในประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501* เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลล่าสุดจากกรมควบคุมโรคเผยว่า ปี 2566 นี้ มีสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมกว่า 110,809 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 106 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566**) นับว่าเป็นสถิติการระบาดสูงสุดในรอบ 5 ปี

คิดว่าตัวเลขเหล่านี้กำลังบอกอะไรกับเรา?… แน่นอนว่าคงไม่พ้น การย้ำเตือนให้เราทุกคนรู้ว่า โรคนี้ยังไม่เคยหายไป และยังคงเป็นปัญหาอยู่เสมอ ทั้งกับด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงคุณภาพชีวิตของคนไทย

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจทราบแล้วว่า โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) มียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อนชื้น และจะระบาดหนักในช่วงฤดูฝนของทุกปี แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่เคยทราบมาก่อน คือ โรคไข้เลือดออกเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี แต่ช่วงวัยที่เสียชีวิตมากที่สุด คือ วัยทำงาน

ดังนั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงมีหลายหน่วยงาน จากหลายภาคส่วน ได้ร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ และแนะวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประชาชนกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนใช้ชีวิตได้เต็มที่ ห่างไกลการเจ็บป่วย และลดอัตราการเสียชีวิต

อย่างเมื่อปีที่แล้ว ก็มีการเปิดตัว “อิงมา” Dengue Virtual Human ที่สร้างขึ้นโดยอิงมาจากสถิติของคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อไข้เลือดออกกว่า 1.2 ล้านคนใน 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อเน้นย้ำว่าไข้เลือดออกยังคงใกล้ตัวและน่ากลัวที่คิด (รู้จักอิงมาให้มากขึ้น คลิก)

และล่าสุดกับการต่อยอดไปสู่งาน “ส่งต่อความหวังจากอิงมา ชวนคนไทย ปักหมุดหยุดไข้เลือดออก” ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทาเคดา ประเทศไทย และพันธมิตรความร่วมมือ Dengue-zero ที่อยากเน้นย้ำความสำคัญของโรคไข้เลือดออก สร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และส่งต่อข้อความแห่งความหวังในการต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนคนไทย

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในพันธมิตรหลักของงานนี้ เปิดเผยว่า “หนึ่งในพันธกิจหลักของกรุงเทพมหานครคือ การที่ผู้คนมีความมั่นคงทางสุขภาพ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเหล่าอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต ได้ทำงานใกล้ชิดกับชุมชนในการสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมมาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับพันธมิตรความร่วมมือ Dengue-zero ในการสื่อสารถึงภัยของไข้เลือดออกที่มีเป้าหมายในการลดการแพร่เชื้อ ลดการระบาดของโรค ที่นำไปสู่การลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้ สำหรับการร่วมกันทำพันธกิจ ปักหมุด หยุดไข้เลือดออก และร่วมกันบอกลาไข้เลือดออกไปกับน้องอิงมาในวันนี้ คือหมุดหมายสำคัญในการให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการสร้างเกราะป้องกันและตอกย้ำว่า เราสามารถเอาชนะโรคไข้เลือดออกได้”

ด้าน มร. ปีเตอร์ สไตรเบิล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทาเคดา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ทาเคดามุ่งมั่นในการมอบสุขภาพที่ดีกว่าและอนาคตที่สดใสให้กับผู้คนทั่วโลก ผ่านนวัตกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เราตระหนักดีว่าไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ที่มีคนจำนวนกว่า 390 ล้านคนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากโรคนี้ โดยจำนวนผู้ป่วยกว่า 96 ล้านคนมีอาการป่วยอย่างรุนแรง*** เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ เรื่องไข้เลือดออกที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน ทั้งการพัฒนาและต่อยอดระบบการป้องกันเพื่อควบคุมการระบาด การทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชน และการส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันของโรคไข้เลือดออก ขอขอบคุณพันธมิตรความร่วมมือ Dengue-zero และทุกภาคส่วนที่ร่วมกันแสดงถึงพลังแห่งความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกและบรรลุเป้าหมายในการให้ไข้เลือดออกในไทยเป็นศูนย์ไปด้วยกัน”

โดยภายในงาน มีกิจกรรมมากมาย ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัส และมีส่วนร่วมในการต่อสู้กับโรคไข้เลือดออก เช่น

Message of Hope Gallery” แกลเลอรี่ประสบการณ์จริงจากผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อของโรคไข้เลือดออก

The Last Message from Ing-Ma” บูธถ่ายภาพที่เปรียบดังแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ กับการพบกับอิงมาที่จะมาชวนทุกคนร่วมปักหมุด หยุดไข้เลือดออกไปด้วยกัน

รวมทั้งมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการการเฝ้าระวัง การควบคุมจำนวนลูกน้ำยุงลายเพื่อไม่ให้แพร่พันธุ์ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน เพื่อเน้นย้ำว่า ถึงแม้โรคไข้เลือดออกจะใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่คิด แต่สามารถป้องกันได้ โดยสิ่งที่สำนักข่าว TODAY คิดว่าน่าสนใจ คือ หลัก 3 ก. 5 ป. ป้องกันโรค ที่ทำได้ง่าย และเริ่มได้ที่ตัวเอง

3 ก.

      1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก
      2. เก็บขยะ
      3. เก็บแหล่งน้ำ ปิดภาชนะที่มีน้ำขังให้มิดชิด เพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่

5 ป.

      1. ปิดภาชนะ
      2. เปลี่ยนน้ำในภาชนะ
      3. ปล่อยปลากันลูกน้ำ
      4. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง
      5. ปฏิบัติจนเป็นนิสัย

นอกจากนั้น อีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยปักหมุดหยุดไข้เลือดออกได้ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก เพราะปัจจุบันในไทยมีวัคซีนที่ป้องกันเชื้อก่อโรคนี้ได้ถึง 4 สายพันธุ์ ซึ่งช่วยป้องกันการนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้เลือดออกได้ถึง 80-90%**** โดยสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

ติดตามข่าวสารและวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มเติมได้ที่ www.KnowDengueTH.com

 

อ้างอิง

*https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

**https://lookerstudio.google.com/reporting/dfa7d4e2-b7f5-48ed-b40a-54f1cd4cbdfb/page/cFWgC?s=uJijraAskGk

***https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/dengue-and-severe-dengue

****คำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2566

#ไข้เลือดออกป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน #ปักหมุดหยุดไข้เลือดออก #DengueZeroMOU

C-ANPROM/TH/DENV/0258: Oct 2023

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า