SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ปลาหมอคางดำ’ ปลาที่มีถิ่นฐานอยู่มาจากแอฟริกา ยังคงถูกจับตาหลังระบาดแล้วอย่างน้อย 16 จังหวัด โดยข้อมูลกรมประมงยันมีบริษัทเอกชนเพียงรายเดียวที่นำเข้ามาวิจัยอย่างถูกกฎหมายก่อนที่จะยุติ แต่ข้อมูลนี้กลับขัดแย้งกับฝั่งบริษัทผู้นำเข้า (ซีพีเอฟ) ที่แจงว่ามีการทำลายและแจ้งพร้อมส่งตัวอย่างให้แล้ว ขณะที่ การแถลงข่าววันนี้ (17 ก.ค. 2567 ) อธิบดีกรมประมงยืนยัน “ไม่พบหลักฐานการรับตัวอย่างและขวดตัวอย่างดังกล่าว” ทั้งแจง 6 มาตรการจัดการเร่งด่วน

สำนักข่าว TODAY ร่วมฟังการแถลงข่าวครั้งแรก นำโดย นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ถึงแนวทางการจัดการปัญหา และลดการเจริญเติบโตของปลาหมอคางดำ เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศทางประมงที่ดี รวมถึงการเอาผิดทางกฎหมายกับบริษัท หรือบุคคลที่เป็นต้นเหตุการแพร่กระจาย

6 มาตรการ โดยกรมประมง

1. แก้ไขกฎหมายหรือผ่อนปรนใช้เครื่องมืออวนรุน และเปิดทางให้แต่ละจังหวัดใช้เครื่องมือประมงอื่นๆ เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำ

2. ปล่อยปลานักล่า คือ ปลากะพงขาวและปลาอีกง 226,000 ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติใน 7  จังหวัด กรมประมงยืนยันว่า ปลาหมอคางดำโตเต็มวัยก็กินปลานักล่าที่กำลังจะปล่อยไม่ได้

3. นำปลาหมอคางดำ ไปใช้ประโยชน์ผลิตเป็นปลาป่นได้ พร้อมเชิญชวนประชาชนนำไปประกอบอาหาร ซึ่งทำได้ทั้งคั่วกลิ้ง ทอดเกลือ ฉู่ฉี่ น้ำยาขนมจีน ต้มยำ แดดเดียว ทอดมัน ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้ปลาหมอคางดำเป็นวัตถุดิบได้

4. สำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ ในพื้นที่เขตกันชน แล้วนำมาจัดระบบหาตำแหน่งที่อยู่ ก่อนจะกำจัดต่อไป

5. สร้างความรับรู้และความตระหนักให้กับประชาชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในเรื่องจัดการและนำมาใช้ประโยชน์

6. ทำวิจัยเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4 ชุด (4n) ทำให้ปลาหมอคางดำเป็นหมัน จากนั้นจะปล่อยปลาหมอคางดำพิเศษเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำ เพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มีชุดโครโมโซม 2 ชุด (2n) การผสมพันธุ์เช่นนี้ ก็จะทำให้เกิดลูกปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซม 3 ชุด (3n) กลายเป็นปลาหมอคางดำที่ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้

ทั้งนี้ อธิบดีกรมประมง ยังพูดถึงกระแสสังคมที่มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องต้นตอของการแพร่ระบาด โดยอธิบดีกรมประมง อธิบายว่า ได้มีการขออนุญาตนำเข้ามาในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อวิจัยปรับปรุงพันธุ์จากบริษัทแห่งหนึ่ง (ซีพีเอฟ) จำนวน 2,000 ตัว เมื่อเดือน ธ.ค. ปี 2553 ผ่านด่านกักสัตว์สุวรรณภูมิ แล้วนำมาทดลองที่ศูนย์วิจัยสัตว์น้ำจืด จ.สมุทรสงคราม โดยการอนุญาตครั้งนั้น กรมประมง มีเงื่อนไข 2 ข้อ คือ

1. ต้องส่งตัวอย่างปลา โดยจะเป็นการดองปลาทั้งตัวในโหลฟอร์มาลีน หรือจะเก็บเป็นตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อใช้ในการตรวจดีเอ็นเอก็ได้

และ 2. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง เมื่อเดือน ม.ค.ปี 2554 ผู้นำเข้าระบุว่า ทำลายตัวอย่างทั้งหมดเรียบร้อยแล้วนั้น กรมประมงได้ดำเนินการตรวจสอบจากหนังสือรับแจ้งในช่วงปี 2553-2554 ไม่พบการนำส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำ 50 ตัว ว่าบันทึกในสมุดลงทะเบียน รวมทั้งไม่มีตัวอย่างขวดโหลดองปลาตามที่บริษัทกล่าวอ้างแต่อย่างใด ซึ่งขัดแย้งกับบริษัทผู้นำเข้าที่อ้างว่า นำส่งตัวอย่างปลาหมอคางดำให้กรมประมงแล้ว

“ฉะนั้นถ้าบริษัทดังกล่าวมีข้อมูล ต้นเอกสารหรือถ้ามีบุคคลที่มีข้อมูลที่จะร่วมกันแสวงหาข้อเท็จจริง เพื่อที่จะตรวจสอบสัตว์น้ำที่หลุดว่าเกิดจากเหตุใด ควรออกมาร่วมกันพิสูจน์ความรับผิดชอบของมนุษย์มีสองส่วน 1. คือตามที่กฎหมายบอกไว้ความรับผิดชอบอย่างที่ 2. คือการรับผิดชอบต่อสังคมให้สังคมเดินไปได้ควรแสดงตัวออกมาเพื่อจะรับผิดชอบ กรมประมงยืนยันว่าตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบันมีเพียงบริษัทเดียวเท่านั้นที่นำเข้ามา ยังไม่มีเอกชนรายอื่น”

อธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้ายว่า กรมประมงจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อหาสาเหตุของการที่ปลาหมอคางดำหลุดเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติของไทย ทั้งนี้การสอบสวนไม่ได้เป็นการเอาผิดผู้ใด แต่ทำเพื่อหาข้อมูลของปัญหา หากพบว่าเรื่องนี้มีสิ่งใดที่เจือปนทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงจึงค่อยดำเนินการเอาผิด

พบ ‘ปลาหมอคางดำ’ ระบาด ใน กทม. แล้ว 3 เขต ‘บางขุนเทียน-ทุ่งครุ-บางบอน’

ลงแขก-จับทอดกิน ล่า ‘ปลาหมอคางดำ’ เอเลี่ยนสปีชีส์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า