Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘บาทดิจิทัล’ (CBDC) เริ่มทดสอบระบบแล้วโดย 3 กลุ่มธุรกิจการเงิน ‘กรุงศรี-ไทยพาณิชย์-2C2P’ ก่อนขยายไปให้ประชาชนทั่วไปได้ใช่ในปีนี้

‘แซม ตันสกุล’ กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต เปิดเผยว่า ปัจจุบันเงินสกุลดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ของไทยยังอยู่ในช่วงทดสอบ (Pilot) โดยมีผู้ร่วมทดสอบ 3 ราย ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ และ 2C2P ซึ่งแต่ละรายต่างแยกการทดสอบระบบ

digital-baht-cbdc-has-started-testing

สำหรับการทดสอบของธนาคารกรุงศรีฯ เปิดให้พนักงานทดลองใช้งานภายในโรงอาหารของธนาคารและตลาดครูหวี (ข้างกรุงศรีฯ พระราม 3) เท่านั้น แต่คาดว่าจะขยายการทดสอบไปยังกรุงศรีฯ เพลินจิต และบริษัทพันธมิตรในกลุ่มค้าปลีก (Retail) เร็วๆ นี้

เบื้องต้นตั้งเป้าหมายพนักงานเข้าร่วมทดสอบ 2,000 คน โดยกลุ่มร้านค้าที่เข้าร่วมทดสอบระบบ คือกลุ่มร้านค้าภายในตลาดครูหวีทั้งหมด ประมาณ 100 ร้านค้า

ทั้งนี้ ช่วงเวลาทดสอบระบบบาทดิจิทัลกินระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 31 ส.ค. 2566 เพื่อดูการตอบรับและระบบเบื้องหลัง ก่อนรายงานไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาขยายการใช้งานไปยังประชาชนต่อไป

สำหรับประโยชน์ของ CBDC มองว่า มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการดำเนินโครงการรัฐสวัสดิการ และการปล่อยสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ของธนาคาร ยกตัวอย่างเช่นช่วงโควิด-19 รัฐบาลประกาศให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ปกครองคนละ 2,000 บาท

ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวอาจไม่ไปถึงนักเรียน แต่ต่อไปสามารถกำหนดได้ว่า เงินจำนวนดังกล่าวซื้อของกับร้านค้าที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนเท่านั้น เช่น ชุดนักเรียนหรืออุปกรณ์การเรียน และหากไม่ใช้ สามารถดึงเงินกลับได้ทันที คล้ายคลึงกับแอปฯ เป๋าตัง เห็นต้นทางและปลายทางที่ใช้เงิน

ส่วนสินเชื่อแบบมีวัตถุประสงค์ เช่น สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ สามารถกำหนดได้ว่า ต้องใช้เพื่อซื้ออุปกรณ์การผลิตเท่านั้น หรือสินเชื่อบ้าน นอกจากค่าบ้านแล้ว ต้องใช้เพื่อซื้อของตกแต่งบ้านจริงๆ เป็นต้น เป็นต้น กล่าวคือ สามารถควบคุมวัตถุประสงค์การใช้เงินได้ จากเดิมที่ไม่สามารถทำได้

นอกจากประโยชน์ในแง่การทำรัฐสวัสดิการและการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร กรุงศรีฯ คาดว่า CBDC จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนการผลิตเหรียญและธนบัตรในระบบ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของประเทศถูกลง

สำหรับการทดสอบครั้งนี้ ความคาดหวังส่วนใหญ่เป็นความเสถียรของระบบเป็นหลัก โดยเฉพาะช่วงที่ธุรกรรมหนาแน่น เช่น ตอนพักเที่ยงที่คนมักใช้จ่ายกัน ติดปัญหาหรือไม่ สามารถเห็นเงินต้นทาง-ปลายทางได้อย่างไร สามารถแลกเงินกลับเป็นบาทปกติได้หรือไม่ เป็นต้น

‘การใช้ CBDC ต่างประเทศ เช่น จีน เริ่มไปแล้ว ระบบราชการจีนรับรองเงินเป็นหยวนดิจิทัลสามารถใช้ในร้านค้าทั่วไป สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ’

สำหรับการใช้งานค่อนข้างง่าย ลักษณะคล้ายพร้อมเพย์ เพียงแต่เป็นอีกแอปพลิเคชันเท่านั้น โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกที่ทดสอบ ภาพรวมค่อนข้างดีและไม่มีปัญหา

‘ตอนนี้ไม่ได้คาดหวังตัวเลขธุรกรรม แต่คาดหวังประสิทธิภาพของระบบเป็นหลักว่าใช้งานได้ ตอนนี้เป็นแอปฯ แยก แต่สุดท้ายอาจรวมเข้ามารวมกันในโมบายแบงก์กิ้ง ตอนนี้เราแยกออกมาก่อนเพื่อให้คนใช้เข้าใจเรื่องของระบบ รวมถึงเป็นการสอนร้านค้าไปด้วยในตัวว่าตอนนี้แยกกันกับพร้อมเพย์ก่อน แต่วันพนึ่งอาจมารวมกันก็ได้’

ในอนาคตเป็นไปได้ว่า CBDC จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ลดปัญหาแอปฯ ล่มในช่วงสิ้นเดือนได้ เพราะนอกจากระบบจะแยกกับโมบายแบงก์กิ้งแล้ว เทคโนโลยีเบื้องหลังอย่างบล็อกเชนก็สามารถรองรับธุรกรรมได้ค่อนข้างสูง

เบื้องต้นคาดว่า CBDC จะฝังอยู่ในโมบายแบงก์กิ้งของธนาคาร เพื่อผู้ใช้จะได้ไม่ลำบากในการใช้งาน โดยจะต้องแปลงเงินบาทมาเป็น CBDC ซึ่ง 1 CBDC คือ 1 บาท โดยปัจจุบันยังไม่มีชื่อสกุลเงินสำหรับ CBDC ไทยอย่างเป็นทางการ แต่หากอิงกับ ‘หยวนดิจิทัล’ ของจีน CBDC ก็เปรียบได้กับ ‘บาทดิจิทัล’

เมื่อถามถึงการใช้งานในกลุ่มประชาชนทั่วไป กรุงศรีฯ คาดว่า ภายหลังทดสอบเฟสนี้ คาดว่า ธปท.จะเริ่มขยายการใช้งานมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีมาตรการจูงใจ (Incentive) เช่น ส่วนลด หรือเงินคืน เป็นต้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า