Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในที่สุดก็เคาะแล้วกับ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท’ ที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีกกว่าจะได้ข้อสรุป ล่าสุด ‘คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet’ ได้เห็นชอบ ‘กรอบหลักการ’ แล้ว 

แต่ว่าสรุปว่า ทำไมคณะกรรมการฯ ถึงเห็นด้วยว่าต้องทำ? จะใช้เงินจากไหนมาดำเนินโครงการ และจะกระจายเงินยังไง TODAYBizview สรุปให้ฟัง

[ เหตุผลและความจำเป็นของ ‘ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาท’ ]

พร้อมๆ กับการเคาะกรอบหลักการรอบนี้ ทางคณะกรรมการฯ ได้บอก ‘เหตุผลและความจำเป็น’ ในการทำโครงการนี้ด้วยหลักๆ 3 ข้อ 

1️⃣ ในปี 2567 คาด GDP จะเติบโต 2.7% ต่อปี ถือเป็นระดับที่ ‘ต่ำกว่า’ ที่หลายหน่วยงานเคยประมาณไว้ และอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ-มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต อีกอย่างคือ พอเทียบ GDP ในไตรมาส 3 กับ 4 ของปีที่แล้ว ที่ขจัดผลของฤดูกาลแล้ว (Seasonally Adjusted) จะพบว่า GDP ไตรมาส 4 หดตัว 0.6%

2️⃣ ปัจจุบัน ‘เศรษฐกิจไทย’ ยังต้องเผชิญกับความท้าท้ายทั้งในและนอกประเทศ อาทิ

– ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ 

– รายได้ประชาชนฟื้นตัวไม่เท่ากันหลังโควิด

– หนี้ครัวเรือนสูง บั่นทอนกำลังซื้อ ภาระดอกเบี้ยที่สูงขึ้น 

– เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้า โตต่ำ กระทบเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกถึง 69%

3️⃣ รัฐบาลจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการฯ เพื่อ ‘เพิ่มเงินหมุนเวียน’ ในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวไปสู่ ‘ท้องถิ่นและชุมชน’ โดยขอบเขตและเงื่อนไขของโครงการฯ ที่เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น

แล้วคณะกรรมการฯ ยังระบุถึง ‘ความเสี่ยงทางด้านการคลัง’ ที่ต้องมีความระมัดระวังและป้องกัน รวมถึงมีแนวทางในการช่วยลดผลกระทบดังกล่าว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด

📂ผลลัพธ์ที่คาดหวัง = เมื่อให้สิทธิแก่ประชาชน 50 ล้านคน คิดเป็นจำนวนเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 5 แสนล้านบาท และกำหนดให้ใช้จ่ายในร้านค้าที่กำหนดที่เป็นการเติมเงินลงสู่ฐานราก จะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจประมาณ 1.2% – 1.8% จากกรณีฐาน 

[ รัฐบาลจะเอาเงินมาจากไหน? ]

แหล่งเงินจะใช้เงินจากงบประมาณจาก 3 แหล่ง ได้แก่ 

– เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 175,000 ล้านบาท 

– เงินงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท 

– การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ (กู้ ธกส.) จำนวน 172,300 ล้านบาท

รวมเป็นเม็ดเงิน 500,000 ล้านบาท

[ แจกใคร แจกแบบไหน แจกยังไง? ]

📌ใครได้เงิน 1 หมื่นบาทบ้าง?

– ประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน 

– อายุเกิน 16 ปี ณ เดือนที่มีการลงทะเบียน 

– ไม่เป็นผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทต่อปีภาษี

– มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์-สถาบันการเงินเฉพาะกิจรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

📌แจกผ่านช่องทางไหน

– Super App ของรัฐบาล โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

– Super App นี้จะพัฒนาให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่นๆ ได้ด้วย

🗓️ระยะเวลาโครงการ

– สมัครเข้าร่วมโครงการในไตรมาส 3 ของปี 2567

– เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ของปี 2567

📌ซื้อสินค้าอะไรได้บ้าง? 

– ซื้อได้ทุกประเภท 

– ยกเว้น สินค้าอบายมุข น้ำมัน บริการ และออนไลน์

– ยกเว้น สิ่งที่กระทรวงพาณิชย์จะกำหนดเพิ่มเติม

📌ซื้อจากร้านไหนได้บ้าง?

– ‘ประชาชน’ ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กในพื้นที่ระดับอำเภอ (878 อำเภอ) ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น

📌หลังจากนั้น ร้านค้าถอนเงินสดได้เลยไหม?

– ร้านค้าจะ “ไม่สามารถถอนเงินสดได้ทันที” หลังประชาชนใช้จ่าย แต่ร้านค้าจะสามารถถอนเงินสดได้เมื่อมีการใช้จ่ายตั้งแต่ในรอบที่ 2 เป็นต้นไป

– โดยหลังรับเงินใช้จ่ายจากประชาชนทั่วไป ‘ร้านค้า’ ใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้าได้ไม่จำกัดขนาดร้านค้า 

– แต่ร้านที่จะ ‘ถอนเงินสด’ ได้จะ ‘ต้องอยู่ในระบบภาษี’ โดยอยู่ในข้อใดข้อหนึ่งใน 3 ข้อนี้

(1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

(2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (PIT) – มาตรา 40 (8)

(3) ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT)

หรือ แปลง่ายๆ ว่ารอบแรก คนทั่วไปใช้เงินดิจิทัลซื้อสินค้าได้จากร้านเล็กๆ ในอำเภอที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นร้านในอำเภอจะเอาไปซื้อสินค้าต่อจากร้านไหนขนาดใดก็ได้ แต่เงินจะเบิกออกมาได้ต้องเป็นการใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป คือ รอบที่ 1 กับรอบที่ 2 ต้องเกิดขึ้นก่อน หลังจากผ่านการใช้จ่ายรอบที่ 2 แล้วจึงจะถอนเงินสดออกมาได้ โดยร้านที่ถอนเงินสดได้จะต้องอยู่ในระบบภาษี

[ วิธีป้องกันการทุจริต ]

– แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ โดยมี

– ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ประธาน)

– ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (อนุกรรมการ)

– ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ (อนุกรรมการ)

– ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (อนุกรรมการ)

จะมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบ วินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ รวมถึงการกระทำที่อาจฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ นำมติที่ได้รับความเห็นชอบเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปภายในเดือนเมษายน 2567

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า