Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

   คลื่นความร้อนกำลังแผดเผาหลายประเทศในยุโรปขณะนี้ ที่กำลังหนักหน่วงในรอบ 70 ปี เลยคือประเทศอิตาลี โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ ไม่เว้นแม้แต่เมืองยอดนิยมอย่างมิลาน ปิซา เวโรน่า และหลายเมืองที่ได้รับผลกระทบอ่วมสุดเวลานี้ จนต้องมีการประกาศภาวะฉุกเฉินในการบริหารจัดการน้ำ

           ช่วงนี้ถ้าใครไปเที่ยวเมืองมิลานจะไม่ได้ไปถ่ายรูปฉากหลังกับน้ำพุสวยงาม เพราะทางการประกาศปิดน้ำพุตามสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วเมืองเพื่อรับมือภัยแล้ง ยกเว้นน้ำพุในบ่อเลี้ยงปลา และน้ำพุที่เปิดให้ดื่มสาธารณะได้
           ในเมืองเวโรนาและปิซา ระบุข้อจำกัดให้ใช้น้ำในการดื่มกิน ไม่อนุญาตให้เติมน้ำในสระว่ายน้ำ รดน้ำแปลงผัก สวนและหญ้าในสนามกีฬา รวมทั้งงดล้างรถ และกิจกรรมใดๆ ที่ไม่จำเป็นสำหรับความต้องการของมนุษย์โดยเด็ดขาด ข้อกำหนดนี้มีผลถึงวันที่ 31 สิงหาคม ใครฝ่าฝืนอาจถูกปรับสูงสุด 500 ยูโร
            ในพื้นที่ที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทางภาคเหนือของอิตาลี เทศบาลหลายแห่งได้ประกาศการปันส่วนน้ำแล้ว มีการรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้น้ำที่บ้านให้มากที่สุด นอกจากนี้ผู้อยู่อาศัยและเจ้าของธุรกิจห้างร้านจะต้องไม่ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียสเพื่อประหยัดพลังงาน เพราะสภาพอากาศที่ร้อนระอุสส่งผลให้มีการใช้ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนย่านต่างๆในเมืองเกิดไฟฟ้าดับเมื่อสัปดาห์ก่อน

           สาเหตุจากคลื่นความร้อน ภัยแล้งที่ยาวนานขึ้น และฤดูร้อนที่มาเร็ว นี่คือภาพสะท้อนให้เห็นชัดว่าปัญหา Climate Change การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเข้าขั้นวิกฤตขึ้นทุกปี กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ แน่นอนว่า การเพาะปลูกทำเกษตรกรรมก็ยิ่งสาหัส เมื่อวัตถุดิบปากท้องก็จะได้รับผลกระทบด้วย
           แม่น้ำสายหลักอย่างแม่น้ำโป แหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของอิตาลี มีความสำคัญต่อการชลประทาน เพราะเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของประเทศ เกิดภาวะแห้งแล้งปริมาณน้ำต่ำกว่าปกติถึง 8 เท่า เพราะปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลต่อการทำเกษตรกรรม การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ รวมทั้งแหล่งน้ำจืดสำหรับผลิตน้ำดื่ม ทำให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินประหยัดน้ำเพื่อสงวนน้ำไว้ใช้ในการเกษตรแทน

            ขณะที่ความกังวลถึงมาตรการป้องกันภัยแล้ง หนึ่งในนั้นคือ การที่รัฐประกาศว่าอาจจะปันส่วนน้ำในเวลากลางวันในบางพื้นที่ที่ขณะนี้มีข้อจำกัดในการใช้น้ำในช่วงเวลากลางคืนอยู่แล้ว ส่วนหลายเมืองก็ต้องพึ่งพาการจัดหาน้ำประปาที่บรรทุกใส่รถบรรทุกเข้ามา
            ภัยแล้งสุดในรอบ 70 ปี ของอิตาลี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมของประเทศ ทำให้ประเมินว่าปีนี้ชีวิตเกษตรกรชาวอิตาลีและพืชผลเกษตรจะได้รับผลกระทบคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียไม่ตำ่กว่า 3 พันล้านยูโร ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศลดลง 30-40% โดยคาดว่าผลผลิตเกษตรที่ได้รับผลกระทบ อาทิ ข้าวโพด มะเขือเทศ มะกอก ข้าวอาร์โบริโอ ที่ถือเป็นสายพันธุ์ข้าวที่นิยมนำมาทำเมนูยอดนิยม ‘รีซ็อตโต้’ รวมทั้งผลผลิตลูกพีช ลูกแพร์ แอปริคอตต่างตกอยู่ในความเสี่ยง
             สำนักข่าว The Guardian รายงานว่า ภัยแล้งจะส่งผลให้ผลผลิตน้ำมันมะกอกของอิตาลีลดลง 20-30% ซึ่งปัจจุบันอิตาลีเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันมะกอกอันดับต้นๆของโลกรองจากสเปน เกษตรกรอิตาลียังต้องเผชิญปัญหาเช่นเดียวกับเกษตรกรอีกหลายประเทศในยุโรปคือ ต้นทุนราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย ยูเครน ทำให้ต้นทุนการทำเกษตรของพวกเขาสูงขึ้นตาม
             สภาพภัยแล้งในอิตาลีปีนี้ งานวิจัยบอกว่าจะเกิดขึ้นบ่อยในปีถัดๆไป และแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดภัยแล้งหนักขึ้น และยิ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำโปที่เกี่ยวข้องกับการผลิตทางการเกษตร 1 ใน 3 ของประเทศ
             อิตาลี เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นชัดว่าทรัพยากรน้ำในประเทศลดลงต่อเนื่องมาหลายปี และภัยแล้งจะเกิดขึ้นเป็นวัฏจักร ยังไม่นับว่าปีนี้คลื่นความร้อนที่สูงขึ้นผิดปกติส่งผลต่อยุโรปหนักขึ้นเรื่อยๆ อาทิ สเปน และโปรตุเกส ที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงจนเกิดไฟป่า ซึ่งประเด็นน่าห่วงของสเปน คือความเสี่ยงที่ในอนาคตพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศมีโอกาสจะเป็นทะเลทราย บางเมืองเปิดให้มีน้ำใช้วันละ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนโปรตุเกสก็ถึงกับจำกัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำเพื่อสงวนน้ำไปใช้ในด้านการเกษตรและผลิตน้ำดื่มแทน
             เป็นตัวอย่างว่าหลายประเทศในยุโรปจะเผชิญภัยแล้งแบบนี้บ่อยขึ้น เพราะปริมาณน้ำฝนในยุโรปลดลงต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่หนักหน่วงขึ้นนี้ก็จะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบการเกษตรที่จะนำมาสู่การผลิตอาหารได้มีจำนวนลดลง
              จะเห็นว่าปัญหาโลกร้อนไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ปัญหานี้กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ เรื่องปากท้องอย่างเห็นได้ชัด และมันก็ค่อยๆเผยตัวส่งผลลบให้เราเห็นมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปีนั่นเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า