Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือ Economic Intelligence Center (EIC) ภายใต้ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2567 ยังฟื้นตัวช้า โดยมีปัจจัยที่กดดันมาจากการลงทุนของภาครัฐที่มีแนวโน้มหดตัวตามความล่าช้าในการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2567   

ซึ่งส่งผลให้แรงสนับสนุนเศรษฐกิจที่จะมาจากการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มจำกัดในช่วงครึ่งแรกของปี แม้จะสามารถเร่งรัดการเบิกจ่ายได้มากขึ้นหลัง พ.ร.บ.งบประมาณ 2567 ประกาศใช้ในช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ก็จะไม่สามารถเร่งรัดเบิกจ่ายได้เต็มที่ภายใต้ช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณนี้ 

อีกทั้ง ภาครัฐยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้นจากหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูงหลังวิกฤติโควิด นอกจากนี้ในด้านการผลิตของไทยก็ยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะการผลิตอุตสาหกรรม หลายสาขายังหดตัวต่อเนื่องและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน 

โดยตลอดทั้งปี 2567 นี้พบว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยงในอีกหลายๆ ด้าน ได้แก่ 

1.เศรษฐกิจจีนชะลอลงจากปัญหา เชิงโครงสร้าง ที่จะกระทบการส่งออกของไทยและการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาไทย 

2.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจรุนแรงขึ้นจากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าของกบฏฮูตีในทะเลแดง ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าจากเอเชียไปยังยุโรป อาจส่งผลให้ระยะเวลาและต้นทุนค่าขนส่งทางเรือจากไทยไปยังยุโรปสูงขึ้นมาก 

3.รายได้ครัวเรือนฟื้นช้า ไม่ทั่วถึง และมีภาระหนี้สูง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและธุรกิจขนาดเล็กที่มีความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนไม่มาก 

4.ภาคการผลิตอุตสาหกรรมหลายสาขาฟื้นตัวช้า จากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นและการแข่งขันกับสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ 

5.วิกฤตภัยแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเกษตรปรับลดลง  

สำหรับในด้านของปัจจัยบวกในปีนี้ ก็ยังมีอยู่และเป็นปัจจัยที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อน โดยจะมาจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคบริการจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและการท่องเที่ยวในประเทศที่ผู้เยี่ยมเยือนไทยยังเติบโตดี 

ด้านการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวดีขึ้นตามแนวโน้มการอนุมัติการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) และการส่งออกที่ฟื้นตัวจากแนวโน้มการค้าโลกที่ขยายตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการค้าโลก 

อย่างไรก็ดี ต้องจับตามองความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทานจากเหตุการณ์การโจมตีของกบฏฮูตีและความแห้งแล้งของคลองปานามา 

นอกจากนี้ EIC ยังได้ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/2567 ว่ายังมีแนวโน้มจะขยายตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้า หรือ ไตรมาส 4/2566 โดยจะมีแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดี ตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เร่งตัวจากนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก

โดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ที่ได้อานิสงส์จากเทศกาลตรุษจีน รวมถึงนักท่องเที่ยวหลายประเทศกลับมาใกล้เคียงระดับปกติ  ซึ่งในปีนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยแล้วกว่า 4.39 ล้านคน และสามารถสร้างรายได้ท่องเที่ยวราว 2.15 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567)

ด้านตลาดแรงงานก็ฟื้นตัวแข็งแกร่งกลับไปเท่าระดับก่อนวิกฤตโควิด รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น มาตรการลดค่าครองชีพ โดยเฉพาะราคาพลังงาน และโครงการ Easy e-receipt กระตุ้นการใช้จ่ายช่วงต้นปี

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีแรงหนุนจากการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับการผลิตบางอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัว เช่น อิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ยังมีปัจจัยกดดันจากการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2 ล่าช้า ทำให้แรงส่งในการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐมีแนวโน้มซบเซาในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 

ซึ่งส่งผลกดดันการอุปโภคและลงทุนภาครัฐ ตลอดจนความไม่แน่นอนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความเสี่ยงใหม่ในตะวันออกกลางที่อาจกระทบการขนส่งทางทะเลและทำให้ห่วงโซ่อุปทานโลกชะงักขึ้นได้อีก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า