Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เรารู้จัก บุหรี่ กันมานาน มีการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายของมันอย่างแทบจะทุกแง่ทุกมุมแล้ว ทำให้เราตระหนักในโทษภัย และเฝ้าระวังได้ แต่..บุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นของใหม่ ที่ข้อมูลวิจัยและเคสตัวอย่างผู้ป่วยอาจยังมีจำนวนน้อยเกินที่จะทำให้ผู้คนหวาดกลัวและตระหนักถึงภัยร้ายได้  ทั้งที่รูปแบบและขั้นตอนในการสูบบุหรี่ไฟฟ้า สารพิษที่ซ่อนอยู่ในน้ำยาเคมี มีภัยใกล้เคียงกับการสูบบุหรี่ธรรมดามาก แต่ความน่ากลัวของบุหรี่ไฟฟ้า คือการพยายามสร้างแรงดึงดูดที่เหนือกว่าบุหรี่มวนทั่วไป เช่น ดีไซน์เคสของบุหรี่ไฟฟ้าให้มีรูปลักษ์เป็นแฟชั่นติดตัวสุดเท่  มีรสชาติให้เลือกหลากหลาย มีกลิ่นหอมเหมือนลูกอมหรือเครื่องดื่มรสต่าง ๆ ที่ล้วนเป็น “แฟชั่นอาบยาพิษ” แต่แน่นอนว่าจุดขายเหล่านี้ ย่อมดึงดูดนักสูบหน้าใหม่ที่รู้ไม่เท่าทันภัยร้าย ให้อยากรู้..อยากลอง..มากขึ้น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และทำให้ผู้สูบมีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่ไฟฟ้าได้ยากขึ้นด้วย

จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ  (ศจย.) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และภาคีเครือข่าย กำหนดประเด็นรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลก ประจำปี 2566 ที่ผ่านมา คือ “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงสถานการณ์ความรุนแรง พิษภัย และอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

บุหรี่ไฟฟ้าล่าเหยื่อ..ล่อเยาวชนเป็นนักสูบหน้าใหม่

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในปัจจุบันว่า ภาพรวมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 32 ในปี 2534 เหลือเพียงร้อยละ 17.4 ในปี 2564 แต่ “นักสูบหน้าใหม่” โดยเฉพาะ “กลุ่มเด็กและเยาวชน” กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุสำคัญมาจาก “บุหรี่ไฟฟ้า” ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 จึงมีมติเห็นชอบการป้องกันควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 5 มาตรการ ได้แก่

  1. พัฒนาและจัดการองค์ความรู้
  2. สร้างความตระหนักรับรู้โทษ พิษภัยบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน และสาธารณชน
  3. เฝ้าระวังและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
  4. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสนับสนุนมาตรการป้องกันควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า
  5. ยืนยันนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามบุหรี่ไฟฟ้า

Dr. Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย

ทางด้าน Dr. Jos Vandelaer ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นบุหรี่ ไม่มีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบ แต่..มีสารนิโคตินซึ่งเป็นสารเสพติดและมีสารเคมีอันตรายหลายชนิด องค์การอนามัยโลก จึงสนับสนุนให้ไทยออกกฎหมายห้ามนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการปกป้องสุขภาพประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนจากอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ขณะที่ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เด็กและเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของธุรกิจยาสูบ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบเด็กและเยาวชนอายุ 15-24 ปี สูบบุหรี่ ร้อยละ 12.7 ของผู้สูบบุหรี่ทั้งหมด 9.9 ล้านคน ในจำนวนนี้สูบบุหรี่ไฟฟ้า ร้อยละ 0.26 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้หากเสพติดบุหรี่จะกลายเป็นลูกค้าของธุรกิจยาสูบไปอีกหลายสิบปี สสส. และภาคีเครือข่ายจึงให้ความสำคัญเรื่องการเสริมสร้างให้ประชาชนมีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า และการรู้เท่าทันกลยุทธ์ของธุรกิจยาสูบ เพื่อปกป้องสุขภาพประชาชนให้ปลอดภัยจากควันบุหรี่

เช่นเดียวกับที่ ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เห็นพ้องและกล่าวว่า ข้อมูลจากทั่วโลกบ่งชี้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิดผู้เสพติดนิโคตินในกลุ่มเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดอื่นๆ ปี 2565 จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ 6,045 ราย พบว่า เยาวชนสูบบุหรี่ไฟฟ้า มีแนวโน้มลองสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ศจย. เองได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 21 เรื่อง ‘คนไทยไม่เอาบุหรี่ไฟฟ้า’ ในระหว่างวันที่ 1-2 มิ.ย. พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถึงประเด็นปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในไทย และร่วมหาทางออกในการปกป้องเยาวชนจากบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ที่หลอกล่อโดยการตลาดล่าเหยื่อให้เป็นนักสูบหน้าใหม่ จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษอย่างบุหรี่ไฟฟ้า

สสส.เดินหน้าสู้สู่ END GAME บุหรี่ในไทย

ดร.สุปรีดา ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้ทางสสส. มีคำขวัญที่ว่า “บุหรี่ไฟฟ้ามีพิษ เสพติดอันตราย” เพราะขณะที่การสูบบุหรี่มวนลดลง แต่มีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า New S-Curve หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งประเทศไทยยังเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่ แต่กลับมีผู้คนบางกลุ่มอยากจะสนับสนุนให้ถูกกฎหมาย ทั้งที่เริ่มมีเคสตัวอย่างของพิษภัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากบุหรี่ไฟฟ้าให้เห็นกันบ้างแล้ว อาทิ การมีปอดอักเสบรุนแรงในคนอายุน้อย เป็นต้น

สสส. สนับสนุนทั้งการผลักดันนโยบายด้านการควบคุมยาสูบ การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการ และการรณรงค์สื่อสารสังคม เพื่อให้ประชาชนเกิดความตื่นตัว ตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า นำไปสู่การปรับเปลี่ยนค่านิยม ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ และการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ โดยเฉพาะการป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงกลุ่มผู้สูบหนักที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัด และการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ป้องกันเด็กและเยาวชน ที่อาจเลียนแบบพฤติกรรม ส่งผลให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ในอนาคต จุดเริ่มต้นแรกของโอกาสที่จะนำไปสู่สารเสพติดอื่นที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น” ดร.สุปรีดา กล่าว

แม้ว่าระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูบบุหรี่ในไทยทยอยลดลง ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 17.4 ยังไงก็ตามหวังว่าอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศไทยจะมีดัชนีลดลงเป็นเลขตัวเดียวให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะเดินต่อไปสู่ END GAME เหมือนในหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ที่มีมาตรการห้ามเด็กตั้งแต่ปี 2552 ที่เกิดเป็นต้นไปห้ามสูบบุหรี่

ขณะที่ ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในนามสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ และเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ รวมมีวิชาชีพสุขภาพ 23 องค์กร จะช่วยกันรณรงค์คุ้มครองสุขภาพอนามัยประชาชนคนไทยจากโรคภัยที่เกิดจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า และขอประกาศสนับสนุนให้รัฐบาลยืนหยัดกฎหมาย ห้ามนำเข้า ห้ามขาย ห้ามสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเด็ดขาด และขอเรียกร้องไปยังพรรคการเมืองทุกฝ่าย ปกป้องสุขภาพประชาชน และดูแลลูกหลานไม่ให้ข้องแวะกับบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า

Young male in red hoodie vaping smoking, exhales thick vapor, isolated rear view

ตัวแทนเยาวชนเร่งเฝ้าระวัง พร้อมช่วยสร้างค่านิยม เลือกไม่สูบ

ทางด้านตัวแทนจากเยาวชน น.ส.พัทราภรณ์ แจ่มทอง ประธานชมรม GenZ Wangpong โรงเรียนวังโป่งศึกษา จ.เพชรบูรณ์ กล่าวว่า ในนามของกลุ่มตัวแทนเยาวชน GenZ ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของบริษัทบุหรี่ รู้สึกไม่ดีกับผู้ใหญ่บางกลุ่มที่มุ่งเป้ามาที่เด็กและเยาวชน เพื่อหวังให้กลุ่ม GenZ มาใช้บุหรี่ซึ่งมีนิโคติกเป็นสารเสพติดมีฤทธิ์ต่อสมอง หากเยาวชนติดบุหรี่ อนาคตของชาติ ถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างมาก

น.ส.พัทราภรณ์ แจ่มทอง ประธานชมรม GenZ Wangpong โรงเรียนวังโป่งศึกษา จ.เพชรบูรณ์

อีกทั้งในปัจจุบันมีกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ในการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าให้มีรูปร่างและกลิ่นรสให้สูบง่าย ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดได้ไวกว่า รวมทั้งสูบได้สะดวกและบ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ดังนั้นในนามของตัวแทนเยาวชน ชมรม GenZ จะร่วมมือกันสร้างสมาชิก สร้างค่านิยมให้เยาวชน “เลือกไม่สูบ” เป็นแกนนำสร้างความรู้ที่ถูกต้อง เกี่ยวกับโทษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า และไม่สนับสนุนให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย เพราะบุหรี่ไฟฟ้าทำให้เยาวชนมีสุขภาพที่ไม่ดี สมองถูกทำลายได้ง่ายขึ้น

ดร.สุปรีดา ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในตัวอย่างของเคสที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้า เท่ากับดูดบุหรี่จริง 50 มวนต่อวันในคนอายุน้อย อันตรายเหล่านี้เป็นที่น่าห่วงและเป็นภัยต่อสุขภาพมาก แต่สิ่งที่ห่วงมากยิ่งกว่านั้น นี่คือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาล่อใจคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่เพียงการทดแทนการสูบบุหรี่ของคนที่สูบบุหรี่มวนอยู่แล้ว แต่เป็นการกระตุ้นนักสูบหน้าใหม่ได้แรงกว่าผลิตภัณฑ์เก่า”

ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนจึงต้องเร่งส่งสัญญาณถึงคนไทยให้ระวังอันตรายของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ด้วย เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าต้องสื่อสารให้รู้จักพิษภัยอันตรายที่ได้รับจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่ได้น้อยไปกว่าบุหรี่มวน และสิ่งที่น่ากังวลเพิ่มเติมไปนอกจากนี้ คือ การสูบบุหรี่ถือเป็นบันไดไปสู่สิ่งเสพติดที่แรงขึ้น ๆ ได้ มีตัวเลขชัดเจนของคนที่เสพยาเสพติด 60 -70 % ต่างเริ่มสตาร์ทจากการสูบบุหรี่มวน ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเอง คงพ่นพิษจุดจบปลายทางไม่ต่างกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า