Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปรากฏการณ์ Netflix บ้านแตกกลับมาอีกครั้ง เมื่อ Netflix บังคับใช้กฎห้ามแชร์รหัสผ่านให้ครอบคลุมดีไวซ์พกพาอย่างมือถือ แท็บเล็ต และโน้ตบุ๊กด้วย ทำเอาหลายคนไม่พอใจ จุดกระแสยกเลิก Netflix ขึ้นมาอีก

ไขข้อข้องใจเล็กน้อย หากมีคนสงสัยว่าทำไม Netflix บ้านแตกหลายรอบ

Netflix บ้านแตกรอบแรกเกิดขึ้นเมื่อเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว ตอนนั้น Netflix ออกประกาศออกมาเลยว่า จะยุติการแชร์รหัสผ่านให้ดีไวซ์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในครัวเรือนเดียวกัน โดยตรวจจับจากเลข IP Address ของ Wi-fi คนที่อยากแชร์จอต้องเพิ่มโปรไฟล์ในราคา 99 บาท 

สอบถามกันไปสอบถามกันมา กลายเป็นว่านโยบายในตอนนั้นมีผลเฉพาะคนที่ดูผ่านทีวี ใครที่ดูผ่านดีไวซ์เคลื่อนที่ยังแชร์รหัสกันได้ตามปกติ ถ้าใครไม่ใช้ทีวีก็ไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งถือว่า Netflix ยังหยวนให้อยู่

แต่รอบล่าสุด Netflix ไม่หยวนให้แล้ว ทำนโยบายให้ครอบคลุมดีไวซ์พกพาด้วย ทำให้การแชร์รหัสนั้นทำไม่ได้เลย กลายเป็น Netflix บ้านแตกอย่างสมบูรณ์ 

กระแสยกเลิก Netflix แรงขึ้นในโซเชียล คำถามคือย้ายไปเจ้าอื่นแล้วหนีพ้นหรือไม่

ตั้งแต่ Netflix ยกเลิกแชร์รหัสผ่าน แม้มีกระแสดราม่าในช่วงแรก แต่ตัวเลขนั้นไม่โกหก ยอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทุกไตรมาสรวมๆ แล้วเพิ่มขึ้นหลายล้านคน ผลประกอบการดีขึ้นทุกไตรมาส ผู้บริหารเองก็ยอมรับว่า ตั้งแต่จำกัดการแชร์รหัสก็ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 

ไตรมาสแรกในปี 2022 Netflix มีผู้ใช้งาน 221.6 ล้านบัญชี ลดลง 2 แสนบัญชี เป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่เปิดตัวสตรีมมิ่ง Netflix ก็เลยเริ่มบอกกับสังคมว่าจะปิดสายหาร เพราะมีผลกระทบต่อธุรกิจ 

ผ่านไปสองปี ตัวเลขผู้ใช้งานล่าสุดของ Netflix อยู่ที่ 260.8 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นมา 39 ล้านบัญชี

เมื่อ Netflix ประสบความสำเร็จ ก็เป็นตัวอย่างชั้นดีให้ธุรกิจสตรีมมิ่งเจ้าอื่นทำบ้าง บริการสตรีมมิ่งที่ Disney เป็นเจ้าของ คือรายถัดไปที่ใช้กลยุทธ์การปราบปรามการแช์รหัสผ่าน มีผลทั้งตัว Disney+ และ Hulu แต่ยังมีผลเฉพาะประเทศที่ใช้งาน Disney+ ตัวเต็ม ส่วนของไทยยังเป็น Disney+ Hotstar ที่ยังแชร์รหัสกันได้ (ณ ตอนนี้)

หารายได้เพิ่มจากโฆษณา

Prime Video ที่เคยแซว Netflix เรื่องรหัสผ่าน คือเจ้าที่ยังคงเปิดให้แชร์รหัสผ่านกันได้ และแชร์ได้ 3 อุปกรณ์ แต่ในขณะเดียวกัน Prime Video ก็ต้องหารายได้ทางอื่น ไม่ว่าจะเป็นเพิ่มแพ็กเกจมีโฆษณา (Netflix และ Disney เริ่มทำไปแล้วในบางประเทศ) ไปจนถึงขึ้นราคาในบางประเทศ และไม่มีอะไรมายืนยันว่า Prime Video จะคงนโยบายหารจอแบบนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ ในเมื่อรุ่นพี่ทำสำเร็จมาแล้ว 

แพ็เกจจ่ายถูกลงแต่มีโฆษณา ถือเป็นช่องทางรายได้ใหม่ของธุรกิจสตรีมมิ่ง เพราะเข้าถึงกลุ่มคนดูมาก ค่อยๆ กินส่วนแบ่งทีวีเคเบิลแบบดั้งเดิมมากขึ้นทุกปี การลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจึงเป็นแนวทางที่แบรนด์สินค้าจะได้เข้าถึงกลุ่มคนได้ 

จ่ายถูกลงแต่มีโฆษณาจึงจะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสตรีมมิ่ง จากเดิมที่เคยจ่ายไม่ว่าจะมากน้อย ก็ปลอดโฆษณาแน่นอน 

คำถามต่อไปที่น่าคิดคือ ถ้าสตรีมมิ่งต้องดิ้นรนหารายได้ ทั้งเพิ่มราคา ปิดระบบแชร์ เพิ่มโฆษณา แบบนี้ไปเรื่อยๆ คนดูจะในฐานะคนจ่ายเงิน จะยังยอมจ่ายต่อไปเรื่อยๆ รึเปล่า และมันจะยิ่งทำให้เนื้อหาเถื่อน เว็บไซต์เถื่อนโตขึ้นมากรึเปล่า 

อ้างอิงข้อมูล

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า