Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

งานวิจัยชี้ 6 สาเหตุ ตำรวจละเมิดจริยธรรมวิชาชีพ ได้แก่ 1.) ค่าตอบแทนน้อย ทำให้ต้องใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ 2.) การแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม ความก้าวหน้าไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ 3.) การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง 4.) ค่านิยมและระบบที่ปฏิบัติต่อๆ กันมาในวงการตำรวจ 5.) ขาดมาตรการตรวจสอบและลงโทษอย่างจริงจัง และ 6.) ขาดจิตใจในการให้บริการสังคม

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ “จริยธรรมในวิชาชีพตำรวจ” โดยพลตำรวจตรี ดร.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ และคณะ ได้ศึกษาปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพตำรวจ สาเหตุของปัญหา กลไกการควบคุม และแนวทางการแก้ไข ด้วยวิธีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติงานจำนวน 567 คน ประชาชนจำนวน 488 คน และสัมภาษณ์ตำรวจระดับผู้บริหารจำนวน 25 คน

พบว่าสาเหตุของการละเมิดจริยธรรมในวิชาชีพตำรวจมี 6 ข้อหลักๆ คือ

1.) ค่าตอบแทนน้อย ทำให้ต้องใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์

จากกลุ่มตัวอย่าง 567 คน ซึ่งเป็นตำรวจระดับปฏิบัติงานตั้งแต่ชั้นสิบตำรวจตรี – พันตำรวจเอก และ 56.9% มีอายุราชการมากกว่า 15 ปี พบว่า 84.2% มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 10,001 – 30,000 บาท เจ้าหน้าที่เกือบ 2 ใน 3 เห็นว่าค่าตอบแทนที่ได้รับอยู่นั้นไม่เหมาะสม บางคนจึงใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เช่น รับเงินวิ่งเต้นคดี กลุ่มตัวอย่าง 40.6% ยอมรับว่าเคยปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ตรงไปตรงมาเพราะมีปัญหาการเงินส่วนตัว

2.) การแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม ความก้าวหน้าไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถ

กลุ่มตัวอย่างครึ่งหนึ่งเห็นว่าองค์กรตำรวจมีการเลื่อนขั้น แต่งตั้งโยกย้าย ไม่เป็นธรรม การพิจารณาเลื่อนขั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถเท่านั้น เจ้าหน้าที่ 38.2% ระบุว่าเคยโดนเจ้านายกลั่นแกล้ง เพราะฉะนั้นผู้ที่ต้องการเติบโตในหน้าที่การงานจึงต้องไม่ปฏิบัติตัวเป็นศัตรูกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจ นอกจากนี้ ตำรวจบางคนยังต้องใช้เงินที่ทุจริตมาได้ไปวิ่งเต้นขอตำแหน่ง

3.) การแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง

ระบบอุปถัมภ์ทำให้เกิดการรับใช้ผู้มีอำนาจด้วยการละเมิดจริยธรรมและคอร์รัปชัน เนื่องจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมืองสามารถแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้าย ให้คุณให้โทษกับตำรวจผู้ปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ 20.1% ยอมรับว่าเคยถูกผู้มีอำนาจสั่งให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่การบิดเบือนคดีและจับแพะ

4.) ค่านิยมและระบบที่ปฏิบัติต่อๆ กันมาในวงการตำรวจ

แม้จะรู้ว่าการกระทำใดไม่ถูกต้อง แต่เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งเลือกที่จะปฏิบัติตามค่านิยมหรือรูปแบบที่ทำตามๆ กันมา และมองการละเมิดจริยธรรมเป็นเรื่องธรรมดา จึงกระทำผิดเพื่อเอาตัวรอดและทำให้ตนเองอยู่ในสังคมตำรวจได้ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้บังคับบัญชากดดัน ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มตัวอย่างกว่า 76.3% มองว่าค่านิยมและระบบดังกล่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

5.) ขาดมาตรการตรวจสอบและลงโทษอย่างจริงจัง

ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เห็นว่า การละเมิดจริยธรรมเป็นประโยชน์มากกว่าโทษ ทั้งทางด้านทรัพย์สินและความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ นอกจากนั้นตำรวจที่กระทำผิดมักไม่ค่อยถูกลงโทษทางวินัย เจ้าหน้าที่ 82.2% เห็นว่าบทลงโทษผู้กระทำผิดมีน้อยและเบาเกินไป ขณะที่ประชาชนเกือบ 2 ใน 3 ไม่รู้ว่าต้องร้องเรียนกับหน่วยงานไหนเมื่อพบตำรวจกระทำผิด

6.) ขาดจิตใจในการให้บริการสังคม

เจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งมองว่าประชาชนมีสถานภาพด้อยกว่าและไม่ได้มองว่าตนเองมีหน้าที่รับใช้ประชาชน จึงเลือกปฏิบัติ ไม่รับแจ้งความในกรณีที่เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ข่มขู่และรีดไถประชาชน ตำรวจ 18.5% ยอมรับว่าเคยเลือกปฏิบัติกับคนบางกลุ่ม

อย่างไรก็ดี คณะผู้วิจัยเสนอแนวทางการแก้ปัญหาจริยธรรมในวิชาชีพตำรวจไว้ ดังนี้ 1.) ควรพิจารณาหลักเกณฑ์การสรรหาบุคคลเข้ามารับราชการอย่างเหมาะสม 2.) ปรับปรุงหลักสูตรการอบรมข้าราชการตำรวจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและมีคุณภาพ 3.) สร้างขวัญกำลังใจแก่ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน ทั้งเงินเดือน สวัสดิการ อุปกรณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ 4.) สร้างวัฒนธรรมที่ดีขององค์กรตำรวจ 5.) เพิ่มบทลงโทษตำรวจที่ละเมิดจริยธรรม และ 6.) ป้องกันการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมือง

อ้างอิง http://digital.library.tu.ac.th/…/Info/item/dc:59823

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า