Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ทางวิชาชีพ สังคมสงเคราะห์ 21 ประเทศ ร่วมประชุมวิชาการ Eurasia Forum of Social Workers 2024 ครั้งที่ 15 โดยไทยเป็นเจ้าภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงนาม MOU 8 ฉบับ โชว์ผลงานวิชาการและนวัตกรรมใหม่ 63 เรื่อง มีของ พม. ไทย 14 เรื่อง ชูเป็นก้าวสำคัญ ยกระดับนักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ไทยสู่ทักษะสากล

ภาคีความร่วมมือ 5 องค์กร ประกอบด้วย สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ Eurasia Forum of Social Workers, Philippine Association of Social Workers Incorporate (PASWI) และเมืองพัทยาร่วมจัดการประชุมวิชาการ Eurasia Forum of Social Workers 2024 ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 20-22 มี.ค. 2567 ที่ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุ พัทยา จ.ชลบุรี โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในพิธีเปิด ท่ามกลางนักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ทั้งระดับบริหาร นักวิชาการ นักปฏิบัติ และคณะทำงาน รวม 230 คน จาก 21 ประเทศ เข้าร่วม

ประกอบด้วย ประเทศรัสเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย อังกฤษ อิตาลี มองโกเลีย เบลารุส อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิหร่าน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย อาร์เมเนีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สิงคโปร์ เวียดนาม พม่า มาเลเซีย จีน และประเทศไทย เพื่อเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวการปฏิบัติงานร่วมกัน แบ่งปันทักษะงาน ถ่ายโอนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งร่วมกันนำเสนอผลงานวิชาการวิจัยด้านสังคม การดูแลผู้สูงอายุ การรวมกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนพิการ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ในการทำงานทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์

ที่เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน ในมิติงานต่างวัฒนธรรม ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศโลก ที่ส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อยกระดับวิชาชีพเป็นการแบ่งปันสถานการณ์ด้านสังคมสงเคราะห์ของภูมิภาคต่างๆ ในเครือข่ายสภาวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ ได้ลงมือปฏิบัติและนำความรู้ต่อยอดในการปฏิบัติในด้านที่เหมาะสม สู่การพัฒนาทักษะวิชาชีพนักสังคมสงเคราะห์ ในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนพิการ สามารถช่วยเหลือป้องกันคุ้มครองตนเอง

ศาสตราจารย์ สค.ร.ระพีพรรณ คำหอม นายกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการ Eurasia Forum of Social Workers 2024 ได้มีการนำเสนอผลงานวิชาการ และนวัตกรรมใหม่ในเวทีการประชุมถึง 63 เรื่อง โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้นำเสนอผลงานวิชาการ และนวัตกรรมใหม่ในงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวม 14 เรื่อง นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการยกระดับทักษะสากลให้นักวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ของประเทศไทย อีกทั้งการประชุมครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้ตระหนักเห็นความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนบทเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศโลกที่ส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มเปราะบาง

นายกสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ กล่าวต่อว่า งานนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีคนเข้าร่วมงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่สำคัญเวทีนี้ทำให้เกิดปรากฎการณ์ความร่วมมือของผู้นำระดับสูงที่มีอำนาจการตัดสินใจของ 8 ประเทศ พร้อมใจกันลงนามทำบันทึกความร่วมมือทางวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ระหว่างกัน รวม 8 ฉบับ โดยสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ลงนามร่วมกับ 4 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอินเดีย, CSWPD ประเทศบังคลาเทศ, AASW ประเทศอาร์เมเนีย และ IrASW ประเทศอิหร่าน

สำหรับการประชุมวิชาการ Eurasia Forum of Social Workers ครั้งที่ 16 มีกำหนดจัดที่ ประเทศเกาหลีใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทำงานสังคมสงเคราะห์ ในมิติต่างวัฒนธรรม ผ่านการนำเสนอนวัตกรรมใหม่งานสังคมสงเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า