Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

explainer ดราม่าสำคัญจากประเทศเมียนมา เมื่อสื่อมวลชนเปิดหน้าซัดกันอย่างดุเดือด จุดเริ่มต้นจาก CNN ที่เป็นสื่อต่างชาติแห่งแรกที่ได้เข้าไปทำข่าวในเมียนมา หลังเกิดเหตุยึดอำนาจ

เรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร และคนเป็นนักข่าว ควรวางตัวอย่างไรกับสถานการณ์นี้ workpointTODAY จะอธิบายให้เข้าใจใน 16 ข้อ

1) ประเทศเมียนมา เกิดการรัฐประหารขึ้น ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยทหารยึดอำนาจของประชาชน ทำให้เกิดการประท้วงมากมาย จากคนทุกวัย ฝั่งทหารไม่ยอมง่ายๆ ตอบโต้ด้วยความรุนแรง จนมีผู้เสียชีวิตหลักร้อย สถานการณ์ความรุนแรงหนักขึ้นเรื่อยๆ ฝั่งทหารรับบทโหด ใช้อาวุธสงครามกับประชาชนเพื่อควบคุมความสงบ

2) การคอนโทรลประชาชนนั้น รัฐบาลทหารใช้วิธีการตัดอินเตอร์เนต หลายๆพื้นที่ ไม่สามารถสื่อสารออนไลน์ได้ เพื่อเป็นการขัดขวางการรวมกลุ่มของประชาชน ที่จะใช้ช่องทางออนไลน์ในการนัดรวมตัวกัน ซึ่งการโดนตัดอินเตอร์เนต ทำให้ข่าวสารต่างๆ ที่หลุดออกมาจากเมียนมา ถือว่ามีน้อยมาก

3) ไม่เพียงแค่ปิดกั้นการสื่อสารเท่านั้น แต่รัฐบาลทหารยังปิดประเทศ ไม่ให้สื่อมวลชนต่างชาติเข้ามาทำข่าวอีกด้วย เพื่อควบคุม ไม่ให้ภาพโหดร้ายที่มีต่อผู้ชุมนุมหลุดรอดออกไป ไม่อย่างนั้นประชาคมโลกจะกดดันเมียนมามากกว่านี้

4) หลังรัฐประหารได้ 2 เดือน รัฐบาลทหารเปลี่ยนกลยุทธ์การสื่อสาร พวกเขาจำเป็นต้องใช้สื่อมวลชนต่างชาติในการอธิบายสถานการณ์และสร้างความชอบธรรมเพื่อไม่ให้โดนนานาชาติคว่ำบาตร ดังนั้นกองทัพจึงเชิญสื่อบางสำนัก เข้ามาทำข่าวที่เมียนมา ในทริปพิเศษที่กองทัพต้องการประชาสัมพันธ์ตัวเอง โดยหัวใหญ่ที่สุดที่ถูกเชิญนั่นคือ CNN จะได้โอกาสพิเศษเข้าไปสัมภาษณ์กับพลทหารระดับใหญ่ ได้แก่ซอว์ มิน ตุน โฆษกของกองทัพ

5) เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ CNN จึงส่งคลาริสซ่า วอร์ด หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศเป็นคนลงพื้นที่ โดยคลาริสซ่าเป็นชาวอังกฤษ แต่ไปเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเยลที่อเมริกา เธอทำงานเป็นสื่อมวลชนมาตลอด และย้ายไปหลายสำนัก แต่สุดท้ายในปี 2015 มาอยู่กับ CNN จุดเด่นของเธอ คือเป็นนักข่าวที่ชำนาญในการลงพื้นที่สงคราม เธอไปมาหมดแล้ว ทั้งซีเรีย, อิรัก, อัฟกานิสถาน, ยูเครน, อิหร่าน และเธอสามารถพูดได้ 3 ภาษาอย่างคล่องแคล่วคือ อังกฤษ,ฝรั่งเศส และ อิตาเลียน รวมถึงสื่อสาร ในภาษาอาระบิก, รัสเซีย และ สแปนิช ได้เบื้องต้นด้วย

6) คลาริสซ่า และทีมงาน เดินทางจากสนามบินอินชอน ที่เกาหลีใต้ ไปถึงเมืองย่างกุ้ง ในวันที่ 30 มีนาคม โดยก่อนถึงวันนัดหมายกับนายพลซอว์ มิน ตุน เธอได้ลงพื้นที่ไปตามท้องถนน และเขตตลาดในเมืองย่างกุ้ง เพื่อเก็บภาพบรรยากาศรอบๆ ปรากฎว่า เจอชาวบ้านเดินเข้ามามุง เพราะตั้งแต่รัฐประหาร ไม่มีสื่อต่างชาติเข้าประเทศมาก่อน จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มชูสัญลักษณ์สามนิ้ว เพื่อแสดงจุดยืนว่าอยู่ตรงข้ามกับทหาร

7) คลาริสซ่า ยื่นไมค์สัมภาษณ์ชาวบ้านหลายคนที่ตลาด เหตุการณ์ก็ผ่านไป จากนั้นเมื่อถึงเวลานัดหมายเธอไปสัมภาษณ์กับนายพล ซอว์ มิน ตุน เมื่อพูดคุยเสร็จแล้วก็ส่งเทปกลับมาออนแอร์ที่อเมริกา เป็นการสัมภาษณ์แบบ Exclusive นี่คือสื่อแรกที่เข้าถึงระดับนายพลของเมียนมาแบบนี้ อย่างไรก็ตาม การสัมภาษณ์กับนายพลซอว์ มิน ตุน ไม่มีประเด็นอะไรใหม่ ส่วนใหญ่ตอบตามสคริปต์ที่วางไว้ โดยคลาริสซ่า ใช้คำว่า “มันเป็นบทสัมภาษณ์ที่น่าอึดอัดใจมาก ถ้าพูดด้วยความสัตย์จริง”

8) คลาริสซ่าไปอยู่ในเมียนมา มาหลายวัน แต่กลับไม่มีภาพนิ่งหรือวีดีโอ ในมุมที่ผู้คนคาดหวัง เช่น ภาพทหารใช้ความรุนแรง ภาพการประท้วง หรือภาพชาวบ้านโดนจับกุม ด้วยความที่โดนทหารประกบติดเธอตลอด ทำให้การถ่ายทำอะไร ก็ทำได้ยาก

คลาริสซ่า อธิบายว่า ก่อนจะมาเมียนมา ได้รับคำมั่นจากฝั่งทหาร ว่าจะสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ แต่พอมาถึงจริงๆ จะไปไหนมาไหน ก็โดนทหารนอกเครื่องแบบประกบติด และนี่ถือเป็นการทำข่าวที่ยากมากที่สุดครั้งหนึ่ง

9) การที่ CNN เข้าไปในเมียนมา แต่กลับไม่ได้คลิปเด็ดๆอะไรออกมาเลย ทำให้บรรยากาศของชาวเมียนมาที่มีต่อคลาริสซ่าเปลี่ยนไป ในช่วงแรกๆ ชาวเมียนมา ที่ได้เห็น CNN ก็รู้สึกตื่นเต้น เพราะเชื่อว่าภาพที่ชาวโลกไม่เคยเห็น จะถูกเผยแพร่ผ่านทีวีช่องใหญ่ อย่างไรก็ตาม เมื่อคลาริสซ่าไม่มีสกู๊ปใดๆ อีก ผู้คนจึงผิดหวังเป็นอย่างมาก และแซวว่าเหมือนเธอเป็นนักท่องเที่ยว ส่วนทหารเป็นไกด์ทัวร์ ไปแนะนำสถานที่ต่างๆที่อยากจะให้เห็นแค่นั้น

10) ไม่เพียงแค่นั้น ประชาชนเมียนมาบางคน ที่คลาริสซ่า ขอสัมภาษณ์ที่ตลาด โดนทหารนอกเครื่องแบบ ไล่จับกุมตัวไปทีละคน รวมแล้วเป็นจำนวน 11 คน จนเธอโดนวิจารณ์หนักว่า ไปเมียนมาทั้งที นอกจากจะไม่ได้ประเด็นข่าวอะไรใหม่ๆแล้ว ยังทำให้ชาวบ้านโดนจับอีกต่างหาก

11) แอนดรูว์ แม็คเกรเกอร์ มาร์แชลล์ นักข่าวสายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ทวีตวิจารณ์คลาริสซ่าอย่างหนักหน่วงว่า “นี่คือหายนะชัดๆ CNN ไม่ควรเสียเวลารายงานเรื่องเมียนมาอีกต่อไป คลาริสซ่า วอร์ด และทีมของเธอถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างภาพให้รัฐบาลทหารเมียนมา นี่คือทริปที่ไร้ความหมาย และทำให้คนบริสุทธิ์จำนวนมากต้องเสี่ยงอันตราย”

ในมุมของแอนดรูว์ เขาชี้ว่า คลาริสซ่า ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลทหาร ที่เวลาภาพบ้านเมืองเมียนมา ออกมาจาก CNN ก็จะดูปกติ ไม่มีความรุนแรงใดๆ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ประชาชนเสียชีวิตรายวัน รวมแล้วมากกว่า 500 คน ณ เวลานี้

12) เมื่อโดนวิจารณ์แบบนั้น คลาริสซ่า ทวีตตอบโต้กลับทันทีว่า “การไปเยือนเมียนมาครั้งนี้ ฉันได้รับข้อความดีๆ และพลังบวกจากผู้คนที่เมียนมา แต่ทว่ากลับมีนักข่าวชายผิวขาวบางคน (ที่ไม่ได้อยู่ในเมียนมาด้วยซ้ำ) เขียนตำหนิแบบไม่หยุดหย่อน ว่าการเดินทางของฉันในครั้งนี้ไปทำร้ายประชาชนเมียนมา” พร้อมทั้งใส่อีโมจิ รูปคนสงสัย

คลาริสซ่า ทวีตอีกหนึ่งข้อความว่า “ถึงประชาชนเมียนมา เราไม่สามารถไปเจาะหาพวกคุณได้ ในระหว่างที่เราอยู่ในประเทศของคุณ แต่ขอให้รับรู้ว่าเราได้ยินเสียงของคุณ ได้เห็นความเจ็บปวดของคุณ และเห็นถึงพลังใจที่มี พวกเราจะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อบอกเล่าเรื่องของพวกคุณด้วยความยุติธรรม”

13) เมื่อคลาริสซ่า อธิบายมาแบบนั้น แอนดรูว์สวนกลับไปด้วย 24 ทวีต มีใจความหลักว่า ถ้าหาก CNN จะเข้ามาแล้วไม่สามารถบอกเล่าถึงความโหดร้ายของรัฐบาลทหารได้ อย่ามาเลยดีกว่า มันจะกลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้ทหารเปล่าๆ

14) สำหรับประเด็นนี้ มีคนแตกแขนงเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งที่เห็นด้วยกับแอนดรูว์ และฝั่งที่เข้าใจคลาริสซ่า

ฝั่งที่เห็นด้วยกับแอนดรูว์ เช่น เคิร์สเท่น ฮาน นักข่าวชาวสิงคโปร์ที่ชี้ว่า ทริปของคลาริสซ่าครั้งนี้ไม่มีประโยชน์เลยการที่เธอยื่นไมค์ สัมภาษณ์ประชาชน 11 คน ทั้งๆที่น่าจะรู้ว่าทหารจับตาดูอยู่ ทำให้ประชาชนโดนจับกุมตัว ซึ่งถ้าไปแล้วไม่มีประโยชน์แบบนี้ ไม่ไปดีกว่า ที่สำคัญ ทริปนี้เป็นการ PR ตัวเองของฝั่งกองทัพชัดๆ แต่ต่อให้เป็นการ PR แฝง แต่ถ้าเป็นนักข่าวที่มีฝีมือจริงๆ ก็จะทำทุกทาง เพื่อหาข่าวมาให้ได้ กลายเป็นว่า นานๆทีเมียนมาจะให้นักข่าวต่างชาติเข้าประเทศ แต่คลาริสซ่า ก็ใช้โอกาสนี้ไปอย่างเสียเปล่า

15) แต่ฝั่งที่เข้าใจคลาริสซ่าก็มีไม่น้อย ตัวอย่างเช่น อัลเลกร้า เมนเดลสัน นักข่าวจาก South East Asia Globe ทวีตว่า “ฉันไปเมียนมาเมื่อสัปดาห์ก่อนร่วมกับ CNN เราเป็นนักข่าวต่างชาติกลุ่มแรกที่ได้ไปเมียนมา หลังรัฐประหาร จริงอยู่ทริปนี้ถูกจัดโดยกองทัพ ดังนั้นพวกเขาจึงไม่อยากให้เห็นภาพความขัดแย้งอะไรขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ฉันเชื่อมั่นจริงๆว่า ข่าวที่เรารายงานออกไปนั้น มันยังมีคุณค่าของสื่อมวลชนอยู่”

เช่นเดียวกับความเห็นในโลกออนไลน์บางส่วนที่ระบุว่า ต่อให้โดนรัฐบาลทหารเชิญก็เถอะ แต่ในฐานะนักข่าว ถ้าคุณได้โอกาสสัมภาษณ์กับคนระดับนายพลแบบ Exclusive เป็นสื่อแรกของโลก ถามว่าคุณจะทิ้งโอกาสนี้ไปอย่างนั้นหรือ?

16) เรื่องราวดราม่าทั้งหมดจบลงที่ตรงนี้ และเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาในเชิงวิชาชีพของสื่อมวลชน ว่าควรทำอย่างไรกันแน่ ถ้าเจอเหตุการณ์นี้กับตัวเอง กล่าวคือ ถ้าหากรัฐบาลเผด็จการทหาร เชิญสำนักข่าวดังไปทำข่าว แต่เซ็ตฉากทุกอย่างไว้หมดแล้ว ว่าอยากให้เห็นอะไร อยากให้เล่าตรงไหน สำนักข่าวควรจะวางตัวอย่างไร ควรตอบรับข้อเสนอแล้วเดินทางไปหรือไม่ คิดซะว่าอย่างน้อยก็เป็นการทำข่าว หรือควรจะปฏิเสธแต่แรกเพื่อไม่ให้ตัวเอง ตกเป็นเครื่องมือ Propaganda ของเผด็จการทหาร

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า