Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เตรียมออกร่างกฎหมาย “จริยธรรมสื่อ” โดยจะมีอำนาจจะกำหนดได้ว่า ใครเป็นสื่อแท้ ใครเป็นสื่อเทียม โดยเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ ทีวี หนังสือพิมพ์ แต่สำนักข่าวออนไลน์ รวมถึงไป TikToker, Youtuber จะโดนควบคุมอย่างสมบูรณ์ กฎหมายนี้คืออะไร Today จะไปอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดใน 6 ข้อ

1) วันที่ 11 มกราคม 2565 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน หรือที่เรียกกันโดยสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อ นั่นเอง

ภาครัฐมองว่าปัจจุบัน สื่อมวลชนไม่มีองค์กรที่จะคอยควบคุมคนทำงานให้เป็นกิจจะลักษณะ ตัวอย่างเช่น คนที่จะทำงานเป็นทนายความ ต้องมี “ใบอนุญาต” จากสภาทนายความเสียก่อน จึงจะรับงานได้ แต่คนทำงานสื่อในยุคปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตแบบนั้น ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ในแพลตฟอร์ม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือเป็นสื่อออนไลน์ ที่นำเสนอข่าวด้วยตัวเอง ใน facebook, TikTok,Twitter และ Youtube

ดังนั้นภาครัฐจึงต้องการ สร้าง “สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ” ขึ้นมา ทำหน้าที่คล้ายสภาทนายความ คือใครที่ต้องการทำงานเป็นสื่อมวลชน นำเสนอประเด็นต่างๆ ให้ประชาชนได้รับรู้ ต้องเป็นสมาชิก และได้รับใบอนุญาต จากสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ

2) ถ้า พ.ร.บ จริยธรรมสื่อผ่าน หมายความว่าสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ จะถูกก่อตั้งขึ้นมา โดยสภาแห่งนี้จะมีหน้าที่หลักๆ 2 อย่างด้วยกัน
– เป็นคนตัดสินใจว่า จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเป็นสื่อมวลชน
– จะมีหน้าที่พิจารณาว่า คอนเทนต์ไหน ถูกต้องตามมาตรฐานจริยธรรมของสื่อมวลชนหรือไม่ ถ้าหากใครนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน สภามีอำนาจสูงสุดในการถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากสภาได้ และจะทำให้นักข่าวคนดังกล่าวกลายเป็น “สื่อมวลชนเทียม”

3) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 วุฒิสภาผลักดัน พ.ร.บ.จริยธรรมสื่อ อย่างเร่งด่วน ให้เข้าสภาทันที ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อการผลักดันให้ผ่าน 3 วาระรวด บังคับใช้เป็นกฎหมายให้เร็วที่สุด จึงมีประชาชนตั้งคำถามว่า ทำไมถึงต้องผลักดันอย่างรวดเร็วขนาดนั้น ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้พิจารณาอย่างรอบด้าน

4) พ.ร.บ. จริยธรรมสื่อ ที่จะถือกำเนิดสภาวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ได้มีคนเห็นด้วยไปเสียหมด มีคนจำนวนมาก ออกมาโต้แย้ง ประชาชนไปตั้งคำถามในเว็บไซต์ Change.org ขอเรียกร้องให้หยุด พ.ร.บ. นี้ โดยมีเหตุผลหักล้างหลายข้อว่าทำไม พ.ร.บ. นี้ จึงมีโทษมากกว่าประโยชน์ โดยข้อโต้แย้งในมุมต่างๆ ประกอบด้วย

[ ข้อโต้แย้ง 1 ] – ทำไมคนกลุ่มเดียว (สภาวิชาชีพสื่อมวลชน) ถึงมีอำนาจในการตัดสินได้ ว่าใครควรจะเป็นสื่อมวลชน ใครไม่ควรเป็นสื่อมวลชน TikToker หรือ YouTuber ที่ไม่มีสังกัด สามารถนำเสนอข่าวได้หรือไม่ถ้าไม่ถูกรับรองจากสภา นี่เป็นวิธีการปิดกั้นหรือไม่ ให้มีคนนำเสนอข่าวสารได้แค่กลุ่มเดียวเท่านั้น

[ ข้อโต้แย้ง 2 ] – ทำไมคนกลุ่มเดียว จึงมีอำนาจในการพิจารณาว่า คอนเทนต์ไหน ถูกต้องตามจริยธรรม และศีลธรรมอันดีของประเทศ ใช้เกณฑ์ “ความรู้สึก” ของคณะกรรมการแค่นั้นเลยหรือ?
ในร่าง พ.ร.บ. มีประโยคที่เขียนว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมสื่อมวลชน แต่การใช้เสรีภาพนั้นต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”

นิยามของคำว่า “ไม่ขัดต่อหน้าที่ปวงชนชาวไทย” มีความครอบจักรวาลมาก ถ้าหากมีสื่อที่วิจารณ์เรื่องงบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ จะถูกสภาตัดสินว่า เป็นคอนเทนต์ที่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทยหรือไม่
เช่นเดียวกับนิยามของคำว่า “ข่าวที่ไม่ขัดกับศีลธรรมอันดีของประชาชน” ถ้าหากผู้สื่อข่าวนำเสนอเรื่อง Sex Toys หรือ Sex Worker จะโดนตีความว่าเป็นการเสนอข่าวที่ขัดศีลธรรมหรือไม่

[ ข้อโต้แย้ง 3 ] – สภากรรมการ ถ้าไม่พอใจคอนเทนต์ไหน ตามมาตรา 44 ของพ.ร.บ. ฉบับนี้ ระบุว่า “สามารถส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาต่อได้” เท่ากับว่า ถ้าหากนักข่าวนำเสนออะไร ที่ไปขัดใจสภาวิชาชีพสื่อมวลชน อาจถูกส่งต่อให้ตำรวจ หรือศาล นำไปสู่การโดนข้อหาทั้งอาญา และแพ่ง จนมีบทสรุปถึงการติดคุกได้เลย

[ ข้อโต้แย้ง 4 ] – คณะกรรมการในวาระแรก จะมาจาก กรมประชาสัมพันธ์ 2 คน, มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี 5 คน รวมเป็น 7 คน

โดย 7 คนดังกล่าวจะเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิอีก 4 คน เข้ามาอยู่ในสภาด้วย เมื่อเห็นวิธีการคัดสรรกรรมการสภาแล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐบาลมีความเกี่ยวพันกับการคัดเลือกกรรมการใกล้ชิด จึงมีการครหาว่า สภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งนี้ จะกลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของภาครัฐ ที่เอาไว้หยุดยั้งคอนเทนต์ใดๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อตัวเอง โดยนำเอาคำว่า ผิดจริยธรรมมาบังหน้า

[ ข้อโต้แย้ง 5 ] – การมีสภา จะเป็นการสร้างขั้วอำนาจในวงการสื่อมวลชนให้เกิดขึ้น จะมีการแย่งชิงโอกาสในการเป็นกรรมการสภา เพราะมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ใครเป็นสื่อ หรือจะกำจัดคอนเทนต์ของใครก็ได้

[ ข้อโต้แย้ง 6 ] – ในปัจจุบัน นักข่าวจำนวนมาก ที่นำเสนอสกู๊ปแบบเจาะลึก ลงพื้นที่อย่างเข้มข้น นำเสนอข่าวทุจริตในวงการต่างๆ พวกเขาโดนคู่กรณีฟ้องร้องเป็นประจำ แต่ก็สามารถเอาตัวรอดจากศาลได้ โดยใช้เหตุผลว่า เป็นการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน อนาคตถ้าหากเขาไปขัดใจสภากรรมการ อาจโดนกำจัด จนอาจต้องเปลี่ยนสถานะเป็น สื่อมวลชนเทียม ถึงตรงนั้นเวลาขึ้นศาลใดๆ คนที่เป็นสื่อมวลชนก็จะเสียเปรียบ แม้จะทำข่าวอย่างสุจริตก็ตาม

[ ข้อโต้แย้ง 7 ] – ในแต่ละปี รัฐบาลต้องใช้เงินอย่างน้อย 25 ล้านบาท สำหรับสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งนี้ คำถามคือ สภาฯ แห่งนี้ มีความสำคัญคู่ควรกับการใช้เงินจากภาษีของประชาชนหรือไม่

[ ข้อโต้แย้ง 8 ] – เงิน 25 ล้านบาทที่สภาได้รับ จะมาจากกทปส. ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของกสทช. มันจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าหากสื่อมวลชนนำเสนอข่าวโจมตีกสทช. ทางสภาอาจมองได้ว่า จะไปโจมตีกสทช. องค์กรที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำให้สภาได้อย่างไร การรับเงินจากรัฐ มีโอกาสจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนได้

5) บทสรุปของเรื่องนี้ คือการมีอยู่ของสภาวิชาชีพสื่อมวลชน รัฐบาลมั่นใจว่ามีประโยชน์ เพราะจะควบคุมคนนำเสนอข่าวสารได้อย่างเต็มที่ มีอำนาจแทรกแซงโดยสมบูรณ์ และสามารถกำหนดได้ว่าใครควรเป็นสื่อมวลชน รัฐบาลต้องการจัดระเบียบสื่อมวลชนมาตั้งแต่ปี 2560 แล้ว แต่กฎหมายคุมสื่อในปีนั้นไม่สัมฤทธิผลเพราะถูกแรงต่อต้านจำนวนมากจากประชาชน

แต่สื่อมวลชนหลายสำนักนั้น ไม่เห็นด้วยการ พ.ร.บ. ฉบับนี้ โดยล่าสุดนักวิชาชีพ และนักวิชาการสื่อมวลชน ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก ว่าการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ควรถูกเลื่อนออกไปก่อน จนกว่าจะได้รับการทบทวนข้อดีและข้อเสียอย่างละเอียดมากกว่านี้ เพราะมีผู้ได้รับผลกระทบมากเกินไป

6) ในเรื่องนี้ ก็มี 2 มุมให้ได้ถกเถียงกัน มุมแรก มีคำกล่าวว่ายุคนี้ใครๆก็เป็นสื่อได้ ทำให้เกิดข่าวสารที่ไม่มีการกลั่นกรอง มี Fake News เกิดขึ้นเยอะไปหมด การที่สื่อมวลชนในยุคต่อไป จะต้องได้รับการรับรองอย่างชัดเจนจากหน่วยงานผู้ทรงคุณวุฒิ ก็ถือเป็นการคัดกรอง ไม่ให้ข่าวสารที่ผิดเพี้ยนหลุดเข้าไปในระบบเยอะเกินไปกว่านี้

แต่อีกมุมหนึ่ง ก็มองได้เช่นกันว่า ที่รัฐบาลต้องการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะคอนโทรลสื่อมวลชน และกำหนดได้ว่า ข่าวสารแบบไหน ที่สามารถเผยแพร่ได้ ข่าวสารแบบไหนที่เผยแพร่ไม่ได้ โดยใช้หน้ากากคำว่า “จริยธรรม” เอามาบังหน้า นอกจากนั้นยังเป็นการปิดกั้นผู้คนปกติ ที่ต้องการนำเสนอข่าวสารอีกด้วย เหมือนว่าบทบาทการเป็นสื่อมวลชนมีไว้แค่คนที่สภาเห็นชอบเท่านั้น

ต้องติดตามกันต่อไปว่า การโต้แย้งจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ หรือว่าในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ สภาจะผลักดันกฎหมายฉบับนี้เสร็จรวดเดียว 3 วาระ แล้วถูกบังคับใช้ทันทีในประเทศไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า