Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสรรพากร เปิดให้ ผู้มีเงินได้ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน 2566 ทำให้เหลือเวลาอีกไม่กี่วันแล้ว และเหลือเพียงช่องทางเดียวแล้ว ที่มีผู้เงินได้จะสามารถยื่นแบบฯ ได้ นั่นคือช่องทาง ยื่นแบบออนไลน์ ผ่านระบบ e-filing จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ส่วนการยื่นแบบกระดาษนั้นไม่สามารถทำได้ เพราะสิ้นสุดไปตั้งแต่ในวันที่ 31 มีนาคม 2566

หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะต้องเสียค่าปรับอาญาไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 1.5  (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการ จนถึงวันชำระภาษี

  • อกสารที่ต้องเตรียมยื่นภาษีออนไลน์ มีดังนี้

– หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) เป็นเอกสารที่แสดงถึงรายได้รวมทั้งปี หลังจากหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ

– รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, ค่าเลี้ยงดูบุตร

– เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน เบี้ยประกันชีวิต

– ประกันสุขภาพ หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ

  • ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ 2565

– เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร คลิกที่นี่  www.rd.go.th เลือก “ยื่นแบบออนไลน์”

– สำหรับใครที่เพิ่งยื่นภาษีเป็นครั้งแรก ต้องสมัครสมาชิกก่อนยื่นแบบออนไลน์

– จากนั้น หน้าจอเข้าสู่ระบบ “กรอกเลขประจำตัวอยู่เสียภาษีอากร” หรือชื่อผู้ใช้งาน (เลขประจำตัวประชาชน) และรหัสผ่านที่ตั้งไว้ จากนั้น “กดเข้าสู่ระบบ”

– ระบบจะให้นืนยันตัวตนด้วยระบบ OTP เพื่อยืนยันตัวตนผ่านหมายเลขโทรศัพท์ หากมีการเปลี่ยนเบอร์ให้ระบบเบอร์โทรศัพท์ใหม่

– กดขอรหัส OTP เลือกเบอร์โทรศัพท์ที่แจ้งไว้ เพื่อส่งรหัส OTP

– เมื่อได้รับรหัส OTP และกรอกเรียบร้อยแล้วให้กด “ยืนยัน”

– ระบบจะแสดงหน้าจอผู้มีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กด ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ซึ่งเป็นแบบภาษีเงินได้ประจำปี

– จากนั้น ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล / วันเดือนปีเกิด / สถานที่ติดต่อ / ร้านค้า / กิจการส่วนตัว และให้ระบบสถานะปัจจุบัน จากนั้นเลือกกด “ถัดไป”

– ระบบแสดงหน้ารายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป วิชาชีพอิสระ รายได้ทรัพย์สินการทำธุรกิจ รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา หากเป็นพนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน เลือกรายได้จากเงินเดือน กดที่ “ระบุข้อมูล”

– ระบบแสดงหน้ารายได้ ให้ใส่รายละเอียดเงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เลขผู้จ่ายเงินได้ จากนั้นกด “บันทึก”

– ระบบจะพากลับมาที่หน้ารายได้เหมือนเดิมให้ “ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง” ว่า ถูกต้องหรือไม่ (หากมีรายได้ที่นอกเหนือจากเงินเดือนให้กรอกให้ครบถ้วน) จากนั้น กด “ถัดไป”

– ระบบจะแสดงรายการค่าลดหย่อนภาษีที่มีในปี 2565 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
  • กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินออมและลงทุน
  • กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล
  • กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนบริจาค

กรอกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม หรือใครที่มีการออมการลงทุนต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี

– ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กดปุ่ม “ยืนยันการยื่นแบบ”

– เสร็จสิ้นการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า