Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 10 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวกับที่ประชุมถึงเรื่องสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งท่านได้กล่าวถึงมาตรการเยียวยาของกระทรวงการคลัง ส่วนการลงพื้นที่คือเพื่อดูว่าจะมีมาตรการใดๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนกกลับมาใช้ชีวิตปกติเร็วที่สุด

(ภาพถ่ายทางอากาศ พื้นที่น้ำท่วม จ.ยโสธร)

สำหรับมาตรการน้ำทั้งจากฝนที่ตกเยอะและที่ไหลลงมาจากภูเขา ได้พูดถึงเรื่องการกักเก็บน้ำ ท่านมีข้อสั่งการให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รับไปศึกษาร่วมกับหน่วยงานน้ำอื่นๆ โดยให้มีแผนการทำแก้มลิงซึ่งบางส่วนอาจจะต้องทำบนพื้นที่ของประชาชนที่เป็นบริเวณที่ท่วมซ้ำซากว่าจะสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำได้หรือไม่ แต่จะต้องมีการเยียวยาให้ประชาชน เช่น อาจจะเป็นค่าเช่าพื้นที่ และปรับเปลี่ยนอาชีพเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกับที่เคยได้รับหรือมากกว่า

ทั้งนี้ ในช่วงเช้าวันที่ 12 ก.ย.จะมีการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) คงจะมีความคืบหน้าเรื่องแผนการจัดการน้ำอย่างบูรณาการต่อไป

ขณะเดียวกันที่ประชุม ครม. อนุมัติงบกลางปี 2562 รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเป้นค่าใช้จ่ายในโครงการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเนื่องจากอุทกภันในภาคเหนือ กรอบวงเงิน 261,533,200 บาท

ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในการแถลงข่าวก่อนหน้านั้นว่า เรื่องภัยพิบัติรัฐบาลมีวอร์รูมในการแก้ปัญหาอยู่แล้วโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ระดับล่างก็มีในระดับพื้นที่ที่กระทรวงมหาดไทยดูแล รัฐบาลจะทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ติดตามการแก้ปัญหา หามาตรการใหม่ๆ แผนงานโครงการ การสนับสนุนงบประมาณ

“ที่ผ่านมาเราดำเนินการมา 5 ปีอย่างต่อเนื่อง ผมบอกแล้วว่าสามารถทำให้ทุกกิจกรรมเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าของก่อนหน้ารัฐบาลผมจะเข้ามา แล้วก็ลดความเสียหายไปได้เป็นจำนวนมาก แต่ละปีต้องเสียเงินค่าเยียวยาต่างๆ ลดจาก 3-4 หมื่นล้านบาท เหลือหมื่นล้านบาท แต่ตอนนี้มีปัญหาฝนตกเกินปริมาณที่เคยตก ชาวบ้านก็ยืนยันมา ยังไงก็ต้องท่วม เราก็มีมาตรการเยียวยาขั้นต้นอยู่แล้ว และไปตรวจเยี่ยมเพื่อดูแลให้ได้มากขึ้น”

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า การที่ตนไปลงพื้นที่คือการปลุกขวัญกำลังใจ ว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้ทอดทิ้งเขา ตนจะทอดทิ้งได้อย่างไร ถึงตนไม่ได้ไปก็เหมือนกัน ตนอยู่ตรงนี้ก็ได้รับรายงานทุกวัน แต่การลงพื้นที่คือการทำให้เกิดการไว้วางใจซึ่งกันและกัน ส่วนในฤดูกาลหน้าหากยังเพาะปลูกไม่ได้ต้องดูว่าเราจะมีอาชีพอะไรให้กับเขาต้องดูทุกมิติ ขณะนี้กำลังพิจารณาหนทางใหม่ๆ เช่น หาแก้มลิงใหม่ ถ้าพื้นที่ประชาชนเก็บน้ำไว้ได้ระยะหนึ่งเมื่อน้ำแห้งจึงค่อยเพาะปลูก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า