Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากการคว่ำบาตรเพื่อตอบโต้รัสเซียของโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างหนักในรัสเซีย แต่ถึงอย่างนั้น บริษัทพลังงานรายใหญ่ของรัสเซียอย่าง Gazprom ยังคงส่งออกก๊าซได้ตามปกติ และมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นด้วย

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นได้ TODAY Bizview จะอธิบายให้ฟัง

Gazprom คือผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในรัสเซียที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากการจัดหาก๊าซให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยส่วนใหญ่ Gazprom จะส่งออกก๊าซไปยังยุโรปและเอเซีย ก่อนหน้านี้บริษัทเองยังมีประเด็นที่จีนจะเข้ามาลงทุนอีกด้วย หลังจากนักลงทุนยุโรปทยอยถอนตัวออกจากการถือหุ้น

ในต้นเดือนที่ผ่านมา Gazprom เพิ่มปริมาณส่งออกก๊าซธรรมชาติอย่างเห็นชัด ซึ่งการเพิ่มปริมาณการส่งออกรายวันในเดือนนี้ ถือว่าเป็นการส่งออกสูงสุดในรอบเจ็ดเดือนที่มา 

จากกระแสของการคว่ำบาตร ทำให้ผู้ซื้อสต็อกสินค้าท่ามกลางความกังวลอย่างต่อเนื่อง จากการบุกยูเครนของรัสเซียที่อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณคงเหลือของสินค้า และมีความเสี่ยงที่รัสเซียอาจจะหยุดการส่งออกด้วย

โดยผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติกำลังเรียกร้องและพยายามที่จะนำเข้าเชื้อเพลิงเท่าที่จะทำได้ ในกรณีที่มอสโกตอบโต้การคว่ำบาตรอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบไปถึงความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตามเส้นทางขนส่งของยูเครน และก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 

จากการรายงานของ Bloomberg บริษัท Gazprom ส่งออกก๊าซเฉลี่ยวันละ 500 ล้านลูกบาศก์เมตรไปยังประเทศที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพโซเวียต ในครึ่งเดือนแรกของมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งปริมาณส่งออกมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งเดือนกุมภาพันธ์ที่ 19% แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของเดือนมีนาคมในปี 2021 ที่ผ่านมา

ถึงแม้การส่งออกจะเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตก๊าซของ Gazprom เฉลี่ยอยู่ที่ 1.47 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันในเดือนมีนาคม ลดลงเกือบ 2% จากเดือนก่อน และต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว 

ที่ผ่านมา รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติของยุโรปมากถึง 40% ซึ่งในบรรดาประเทศของสภาพยุโรปนั้น เยอรมนี นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียมากที่สุด สำหรับการใช้เชื้อเพลิงเพื่อช่วยให้บ้านอบอุ่นในฤดูหนาว และใช้ในการผลิตต่างๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ เยอรมนียังมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ และเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐอเมริกา ทั้งยังเป็นผู้เข้าร่วมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนอีกด้วย

แต่จากสงครามในครั้งนี้ ทำให้หลายๆ ประเทศกำลังพยายามที่จะเลิกนำเข้าก๊าซจากรัสเซียในระยะยาว ซึ่งจะใช้เวลาพอสมควร ถึงแม้ในอนาคต ประเทศเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาใช้ก๊าซของรัสเซียอยู่ดี 

ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัสเซีย ได้ออกคำเตือนหลายครั้งเกี่ยวกับการตัดจ่ายก๊าซที่อาจจะเกิดขึ้น

โดย อเล็กซานเดอร์ โนวัก รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัสเซียอาจจะพิจารณาหยุดส่งก๊าซธรรมชาติ ผ่านท่อ Nord Stream 1 ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงที่ใหญ่ที่สุดไปยังยุโรป เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรในครั้งนี้

ทางด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงาน เผยว่าการส่งก๊าซผ่านยูเครนมีความเสี่ยงที่จะหยุดชะงัก เนื่องจากไม่สามารถรับประกันถึงความปลอดภัยที่สถานีคอมเพรสเซอร์ตลอดเส้นทางได้ 

อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ยังคงย้ำว่าประเทศปฏิบัติตามข้อผูกพันด้านอุปทานอย่างเต็มที่

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญยังเผยอีกว่า เป็นไปได้ยากมากที่รัสเซียจะตัดการส่งก๊าซไปยังยุโรปโดยสมบูรณ์อย่างกะทันหัน  แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริง จะเป็นสิ่งที่เจ็บปวดมากสำหรับสหภาพยุโรป อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับรัสเซีย คือการตัดการส่งออกก๊าซผ่านท่อในยูเครน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเยอรมนีอย่างมาก

ในการแถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กรรมาธิการพลังงานยุโรป กาดรี ซิมสัน กล่าวว่า หากมีการหยุดชะงักของการไหลของก๊าซจากรัสเซีย วิธีแก้ปัญหาในระยะสั้น คือการนำเข้าก๊าซเพิ่มเติมจากนอร์เวย์ อาเซอร์ไบจาน กาตาร์ และสหรัฐอเมริกาแทน

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปริมาณก๊าซธรรมชาติเหลวของสหรัฐอเมริกาและกาตาร์ ไม่น่าจะครอบคลุมความต้องการทั้งหมดในกรณีที่มีการตัดยอดของรัสเซียโดยสมบูรณ์

การใช้ทางเลือกอื่น นอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย เช่น ถ่านหิน เนื่องจากหลายประเทศในยุโรปพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากการวิเคราะห์อีกมุมมองหนึ่ง นักวิเคราะห์กล่าวว่าตอนนี้อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับปูตินที่จะตัดขาดการส่งก๊าซ เนื่องจากรัสเซียมีเงินสำรองในสกุลเงินอยู่ที่ 6.3 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันและก๊าซก็สูงมาก ดังนั้นการตัดยอดอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเงินกองทุนสำรองของประเทศในยุโรปที่ต้องดิ้นรนเพื่อชดเชยความขาดแคลน

ถึงแม้ยุโรปต้องพึ่งพารัสเซียสำหรับพลังงาน รัสเซียเองก็ยังพึ่งพารายได้ของยุโรปด้วยเช่นกัน จึงเป็นไปได้ยากที่ปูตินจะสั่งตัดการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านไปยังช่องทางยูเครน เนื่องด้วยทั้งสองฝ่ายยังต้องพึ่งพากันและกันในที่สุด

ที่มา : Bloomberg, NPR 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า