Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในทุกปี เมืองดาวอสของประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะจัดการประชุม World Economic Forum ปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีมว่า “ความร่วมมือในโลกที่แตกเป็นเสี่ยง”

นอกจากหารือกันในหลายเรื่องแล้ว เวทีนี้ยังมักจะเปิดพื้นที่ให้พูดถึงการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสมอ แม้จะเป็นการพูดในภาคของธุรกิจ และผู้กำหนดนโยบายมากกว่าจะมาจากคนตัวเล็กตัวน้อย จนทำให้นักกิจกรรม นักเคลื่อนไหวรณรงค์ทางสังคม มักจะมารวมตัวประท้วงในบริเวณสถานที่จัดการประชุมกันทุกปี เพื่อต้องการให้ภาคธุรกิจและรัฐบาลใส่ใจและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้ตรงเป้ามากขึ้น

เมื่อพูดถึงโลกร้อนในการประชุม World Economic Forum ก็ยังมีรายงานข่าวว่า บรรดาผู้นำระดับโลก ผู้บริหารองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ไปจนถึงผู้กำหนดนโยบายต่างก็นั่งเครื่องบินเจ็ตส่วนตัวมาร่วมประชุมครั้งนี้ ทำให้เมืองดาวอสมีเครื่องบินเจ็ตบินวนเข้าออกหลายลำ จนมีการรวบรวมตัวเลขการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงการประชุมที่บริเวณเมืองดาวอสสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย ทำให้เป็นตลกร้ายประชดประชันถึงบรรดานักการเมือง มหาเศรษฐี ที่มาประชุมเพื่อมาหาแนวทางแก้ปัญหาโลกร้อน แต่วิธีการเดินทางก็ไม่ได้ช่วยลดโลกร้อนอย่างไรเลย

สำหรับปีนี้ การประชุม World Economic Forum ในส่วนของประเด็นสิ่งแวดล้อม ยังคงมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า บริษัทพลังงานต่าง ๆ ที่ผลิตเชื้อเพลิงจากฟอสซิลยังไม่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเรียกร้องขอให้ธุรกิจต่าง ๆ หันมาเร่งลงทุนในธุรกิจสีเขียวให้มากกว่านี้ และที่สำคัญประเทศที่มีศักยภาพจะต้องเพิ่มงบประมาณที่จะทำให้ข้อตกลงปารีส Paris Agreement ที่จะต้องควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ไปสู่เป้าหมายให้ได้

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมยังคงมองโลกในแง่ดีว่าจะพยายามหาทางรับมือกับปัญหาโลกร้อนต่อเนื่อง แต่หากไปดู รายงาน Global Risks Report 2023 จัดทำโดย World Economic Forum ไม่ได้มองโลกในแง่ดีไปด้วยขนาดนั้น เพราะรายงานระบุความเสี่ยงที่โลกต้องเผชิญหลักๆ ในอีก 2 ปี ข้างหน้า หนีไม่พ้นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่พังทลายลงเรื่อยๆและไม่มีทีท่าจะรับมือกันอยู่

โดยปัญหาสิ่งแวดล้อมติดเข้ามาเป็นความเสี่ยงมากถึง 5 อันดับ ขณะที่รายงานฉบับเดียวกันนี้ยังประเมินว่าความเสี่ยงของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า พบว่า 10 อันดับแรกจะเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมแทบทั้งสิ้น

10 อันดับความเสี่ยงของโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า

1.วิกฤตค่าครองชีพ
2.ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเหตุสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว
3.การเผชิญหน้ากันของประเทศที่ขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์
4.ความล้มเหลวในการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5.การพังทลายของความสามัคคีทางสังคมและการแบ่งขั้วทางสังคม
6.เหตุการณ์ความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมขนาดใหญ่
7.ความล้มเหลวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
8.การแพร่ขยายของปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์
และปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์
9.วิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติ
10.การโยกย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจเกิดขึ้นครั้งใหญ่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า