Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในแต่ละปี กูเกิลจะจัดงานประชุมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ Google I/O เป็นการเปิดตัวของใหม่ในแต่ละโปรดักต์ที่เราใช้งานกันแทบทุกวันอย่าง Google Search, Google Maps, Google Translate, Google Workspace และระบบปฏิบัติการ Android 

ปกติงาน Google I/O จะคึกคัก มีนักข่าว บล็อกเกอร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกบินไปร่วมงานที่ Mountain View แคลิฟอร์เนีย แต่โควิดก็ทำให้งานต้องจัดแบบออนไลน์ติดต่อกัน ซึ่งปีนี้ สถานการณ์เริ่มปกติ มีการเปิดรับคนให้เข้าร่วมงานได้บ้าง

ในบทความนี้ TODAY Bizview จะสรุปให้ฟังเกี่ยวกับฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เราจะได้ใช้กันในอนาคต 

[ Android 13 นำ Privacy มาเป็นแกนกลาง]  

ของใหม่ที่จะได้เห็นสำหรับผู้ใช้มือถือ Android คือ เราไม่จำเป็นต้องให้แอปอื่น เข้าถึงข้อมูลทุกอย่างในเครื่องเรา เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้อัลบั้มไหน รูปไหนที่แอปนอกเข้าถึงได้ 

โดย Android จะเพิ่มสองทางเลือกใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลคือ “Photos & videos” และ “Music & audio” แทนการเข้าถึงไฟล์ทั้งหมดหรือ “Files and media” ช่วยให้เรามีทางเลือกในการควบคุมข้อมูลของเรามากขึ้นนั่นเอง  

ใน Android 13 ยังมีฟังก์ชั่นใหม่ คือไม่ว่าแอปไหนอยากจะส่ง notification มาให้เรา แอปนั้นต้องได้รับอนุญาตจากเราก่อน จากเดิมที่เราต้องทยอยปิด notification เองทีละราย ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวที่ดีอย่างหนึ่ง 

นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเล็กๆ น้อยๆ อย่างการลบประวัติ Clipboard หรือข้อมูลที่เราเคยคัดลอกไว้ให้อัตโนมัติ เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง ดังนั้นแอปต่างๆ จะถูกบล็อกไม่ให้เห็นข้อมูลของเก่าที่เคยคัดลอกเอาไว้  

มาที่ Material You กันบ้าง ต้องเล่าย้อนก่อนว่า ฟีเจอร์นี้มีมาตั้งแต่ Android 12 แล้ว เป็นการคุมโทนหน้าตาของระบบในมือถือให้เป็นสีเดียวกัน โทนเดียวกัน เราสามารถตกแต่งหน้าจอได้ตามความต้องการตั้งแต่สี แอนิเมชั่น ขนาดข้อความ 

ใน Android 13 ก็มีการพัฒนาเพิ่ม ให้มีลูกเล่นอย่าง แสดงตัวเลือกสีที่สร้างไว้ล่วงหน้า และยังสามารถเปลี่ยนธีมไอคอนแอปครอบคลุมแอปอื่นนอกเครือกูเกิลด้วย 

[ Google Search เพิ่มคุณภาพการค้นหาด้วยรูป ] 

ในปีนี้ กูเกิลเน้นพัฒนาของใหม่เกี่ยวกับการค้นหาด้วยภาพ หรือ Google Lens ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นการค้นหาที่ได้รับความนิยม มีการใช้ค้นหาไปแล้วกว่า 8 พันล้านครั้งต่อเดือน! 

ล่าสุด กูเกิลเตรียมเพิ่งฟังก์ชั่น multisearch สามารถค้นหาด้วยข้อความ และรูปภาพได้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ค้นหาร้านอาหารจากรูป screenshot และสามารถสั่งค้นหา near me เพื่อแสดงร้านอาหารที่อยู่ใกล้ๆ ฉัน 

multisearch จะเริ่มใช้งานในภาษาอังกฤษก่อน และจะเริ่มขยายไปยังภาษาอื่นในอนาคต 

กูเกิลยังเพิ่มความสามารถ multisearch ในการค้นหาบน Google Lens ใช้กล้องมือถือส่องไปที่วัตถุ และระบบจะแสดงผลการค้นหาหลายๆ วัตถุ ได้ในคราวเดียว 

[ ลบข้อมูลของเราออกจาก Search ได้ง่ายขึ้น ]

กูเกิลเปิดตัวเครื่องมือใหม่ ให้เราสามารถลบข้อมูลส่วนตัวของเราอย่างเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ออกจาก Search ได้ง่ายขึ้น 

มองหาเมนู Results About You บนแอป จะมีช่องทางให้ขอลบข้อมูลออกจาก Search ได้ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นการขอลบออกจาก Search เท่านั้น หากข้อมูลของเรามีระบุไว้บนเว็บไซต์ไหน ต้องติดต่อโฮสต์เว็บไซต์นั้นให้ลบให้อีกครั้งหนึ่ง 

[ Google Maps ทวีความสมจริง ]

นานมาแล้วที่กูเกิลพยายามให้รายละเอียดการใช้แผนที่ให้สมจริงที่สุด และให้การนำทางมันง่ายขึ้น 

เช่นการใช้งาน Live View หรือส่องกล้องมือถือไปตามทางเดินเพื่อให้ระบบบอกทางตามตรอกซอกซอยให้ รวมถึงช่วยชี้จุดเป้าหมายที่เรากำลังจะไปได้แบบเห็นภาพมากที่สุด 

ในงาน Google I/O ปีนี้ Google Maps เปิดตัวโหมดใหม่ immersive view หรือก็คือการที่เราได้เห็นสิ่งแวดล้อมจริงที่นั่น ก่อนที่เราจะเดินทางไปถึงเสียอีก  

ยกตัวอย่างเช่น อยากรู้ว่า บิ๊กเบน ลอนดอน ของจริงเป็นอย่างไร ก็สามารถใช้โหมด immersive view ดูได้ และสามารถดูสิ่งแวดล้อมจริงได้ในแต่ละช่วงเวลา หรือดูล่วงหน้าได้แบบสมจริงว่าร้านอาหารที่อยากไปคนแน่นไหม หรือมีไวบ์แบบที่เราต้องการหรือไม่ 

immersive view ใน Google Maps จะเริ่มเปิดใช้งานในเมืองสำคัญก่อนคือ ลอสแองเจลิส ลอนดอน นิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก และโตเกียว

นอกจากนี้ Google Maps ยังจะขยายการใช้งาน eco-friendly routing หรือการแนะนำทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยระยะทางที่สั้นกว่า ประหยัดน้ำมันมากกว่า ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งกำลังจะขยายไปยังที่ใหม่เพิ่มเติมคือ ยุโรป 

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วเรื่อง  Live View ที่ใช้เทคโนโลยี AR เข้ามาช่วย ล่าสุดกูเกิลเตรียมเปิด API ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอก เข้ามาสร้างสรรค์ AR บน Google Maps Live View  ได้เต็มที่ ผ่านแพลตฟอร์ม ARCore Geospatial API 

[ Google Meet แสงน้อย ย้อนแสง ไม่ใช่ปัญหา ]

ฟีเจอร์ใหม่ของ Google Meet น่าจะเป็นที่ถูกใจของหลายคน เพราะล่าสุด กูเกิลเพิ่มฟังก์ชั่น Portrait restore ใช้ AI ปรับความสว่าง และความคมชัดให้อัตโนมัติหากย้อนแสง 

นอกจากนี้ยังมี portrait light ที่เราเลือกตำแหน่งที่อยากให้แสงตกกระทบส่วนไหนของใบหน้าได้ เพื่อเพิ่มความละมุนให้ใบหน้า ไม่ดูแข็งเกินไประหว่างประชุม อยากให้แสงตกที่ส่วนซ้าย หรือขวาของใบหน้าก็ได้ ถือว่าเป็นฟังก์ชั่นที่ว้าวมากจริงๆ 

de-reverberation หรือฟังก์ชั่นลดเสียงสะท้อน หากประชุมอยู่ในที่ที่มีเสียงก้องหรือสะท้อนเกินไป กูเกิลจะใช้ AI ลดเสียงสะท้อนให้ 

และในอนาคต Google Meet จะใช้งานแบบ Live sharing  หรือใช้เป็นช่องทางในการดูคอนเทนต์ร่วมกันระหว่างคุยไปด้วย เช่น ดู YouTube ด้วยกัน ดูสตรีมมิ่งด้วยกัน ซึ่งกูเกิลเปิด API ให้นักพัฒนาภายนอกเอาบริการมาเชื่อมต่อเพื่อทำ Live sharing  ได้ด้วย 

ส่วนการอัพเดตอื่นๆ ใน Google Workspace คือ เพิ่ม auto-summaries  หรือการสรุปเนื้อหาให้อัตโนมัติทั้งบน Docs (เปิดใช้งานมาก่อนหน้านี้) และช่องแชทบน Gmail สรุปเนื้อหาแชทให้ สำหรับคนมีเวลาน้อย แต่เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งานได้เต็มที่ในภาษาอังกฤษก่อน 

นอกจากนี้ยังขยายการตรวจจับลิงค์ฟิชชิ่ง สแปมบน Gmail ไปยัง Google Slides, Docs และ Sheets ถือว่ามีประโยชน์มาก เพราะลิงค์สแปมเดี๋ยวนี้มาหาเราได้ทุกช่องทาง ไม่จำเป็นต้องอยู่บนอีเมลอย่างเดียวแล้ว 

[ Google Assistant แค่จ้องจอก็เริ่มสั่งงานได้ ]

หลายคนอาจคุ้นเคยกับ Google Assistant ด้วยประโยค Hello Google แต่จากนี้จะไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะกูเกิลปรับปรุงระบบใหม่ แค่จ้องที่หน้าจอ Look and Talk ก็เปิดโหมด Google Assistant ให้พร้อมรับคำสั่งได้ทันที 

ฟีเจอร์ Look and Talk  เริ่มใช้งานบนอุปกรณ์ Google Nest Hub Max คือ หน้าจออัจฉริยะ (smart display) และเริ่มใช้งานในสหรัฐฯก่อนเป็นที่แรก 

วิธีการทำงานของ Look and Talk ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างเทคโนโลยี  Face Match และ  Voice Match เพื่อป้องกันคนอื่นมาใช้งานแทนโดยที่เราไม่อนุญาต 

[ Google Translate รองรับอีก 24 ภาษา ] 

กูเกิลเพิ่มภาษาท้องถิ่นใน Google Translate อีก 24 ภาษา รวมแล้ว ครอบคลุม 133 ภาษาทั่วโลก และครอบคลุมคนพูดภาษาถิ่น 300 ล้านรายทั่วโลก ตัวอย่างภาษาที่เพิ่มขึ้นมาคือ 

  • Assamese มีการใช้งานในทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย 25 ล้านราย 
  • Bhojpuri มีการใช้งาน 50 ล้านราย ในอินเดียเหนือ เนปาล และฟิจิ 
  • Ilocano มีการใช้งาน 10 ล้านรายในฟิลิปปินส์ตอนเหนือ  
  • Kurdish (Sorani) มีการใช้งาน 8 ล้านรายในอิรัก 
  • Lingala มีการใช้งาน 45 ล้านราย ในคองโก แอฟริกากลาง, แองโกลา และซูดานใต้ 
  • Luganda มีการใช้งาน 20 ล้านรายในอูกันดา และรวันดา 
  • Maithili มีการใช้งาน 34 ล้านรายในอินเดียเหนือ
  • Oromo มีการใช้งาน 37 ล้านรายใน Ethiopia และ Kenya 
  • Quechua มีการใช้งาน 10 ล้านรายใน Peru, Bolivia, Ecuador
  • Sepedi มีการใช้งาน 14 ล้านราย ในแอฟริกาใต้
  • Twi มีการใช้งาน 11 ล้านรายใน Ghana 

[ ฮาร์ดแวร์ชุดใหม่ Pixel 6a, Pixel Watch และ Pixel Buds Pro]

ปิดท้ายสรุปงาน Google I/O ด้วยฮาร์ดแวร์ชุดใหญ่ ซึ่งกูเกิลตอกย้ำภาพลักษณ์ นอกจากเป็นบริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องซอฟต์แวร์แล้ว ยังเป็นบริษัทเทคที่เน้นฮาร์ดแวร์ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีฮาร์ดแวร์หลายตัวอย่างมือถือ Pixel, ลำโพงอัจฉริยะ เป็นต้น 

เริ่มจากมือถือ Pixel 6a  มาพร้อมชิปที่พัฒนาขึ้นเองอย่าง Google Tensor เป็นรุ่นในซีรีส์เดียวกับ Pixel 6 ที่ลดสเปกและมีราคาเพียง 499 ดอลลาร์ หรือราวกว่า 17,000 บาท 

รูปลักษณ์ภายนอกยังคงความเป็น Pixel 6 ไว้คือ แถบกล้องด้านล่าง และมาพร้อม 3 สี Chalk, Charcoal และ Sage

กล้องหลังสองตัวคือกล้องหลัก และกล้องอัลตร้าไวด์ มาพร้อมซอฟต์แวร์ Magic Eraser ลบวัตถุด้านหลังออก และยังสามารถเปลี่ยนสีวัตถุในภาพได้ด้วย เพื่อความคุมโทน (เช่นอยากเปลี่ยนสี กล่องน้ำแข็งสีเขียวสดบนหาดทราย ให้เป็นสีเดียวกับทราย), ถ่ายภาพกลางคืน Night Sight รวมถึงซอฟต์แวร์ Recorder, Live Caption และ Live Translate ก็มีมาใน Pixel 6a ด้วยเช่นกัน 

Pixel 6a  มาพร้อม RAM 6GB และพื้นที่เก็บข้อมูล 128GB แบตเตอรี่ 4410 mAh

ต่อมาคือ Pixel Watch หลังจากที่ลือกันมานานก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเสียที และยังเป็นสมาร์ทวอทช์ตัวแรกของกูเกิลเลยด้วย 

Pixel Watch มีการออกแบบทรงกลม และมีเม็ดมะยมและปุ่มด้านข้างทำจากสแตนเลสรีไซเคิล และมีสายรัดแบบถอดเปลี่ยนได้ ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Wear OS 3 ที่จะทำงานได้ดีกับแอปเครือกูเกิลทั้ง Google Maps, Google Wallet เป็นต้น 

และยังมีฟีเจอร์เพื่อใช้งานการฟิตเนส ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Fitbit ที่กูเกิลเข้าซื้อไปในดีล 2.1 พันล้านเหรียญ Pixel Watch จะเริ่มขายช่วงฟดูใบไม้ร่วง หรือราวๆ เดือนตุลาคมปีนี้ 

Pixel Buds Pro หูฟังตัวใหม่ ที่จะมาแข่งในตลาดที่แอปเปิลเป็นผู้นำ ดีไซน์ Pixel Buds Pro มีความเรียบง่าย มาพร้อมสี Coral, Lemongrass, Fog และ Charcoal 

จุดเด่นหลักๆ อยู่ที่เทคโนโลยี noise canceling หรือ ANC (Active Noise Cancelation) ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นเอง และ Volume EQ ช่วยปรับความสมดุลของเสียงให้ ไม่ว่าเราจะเพิ่มหรือลดเสียง และจะเพิ่ม spatial audio หรือการฟังเสียงรอบทิศทางเข้ามาในหูฟังด้วย 

Pixel Buds Pro ยังมีมาตรฐานกันน้ำ  IPX4 ส่วนตัวเคสใช้มาตรฐาน IPX2 ใช้งานได้นาน 11 ชั่วโมง หรือใช้งานได้ 7 ชั่วโมงหากเปิดโหมด Active Noise Cancelation

แต่ยังเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ฮาร์ดแวร์เหล่านี้ ยังไม่เปิดขายในไทย คนไทยก็ยังต้องรอต่อไปหรืออาจซื้อที่ต่างประเทศแทน

ที่มา : https://blog.google

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า