Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นี่อาจเป็นทางออกสื่อเล็ก ในวันที่ Facebook เอาแน่เอานอนไม่ได้ Google ตั้งกองทุนช่วยเหลือสื่อรายเล็ก หรือ Global News Equity Fund 

โดยองค์กรข่าวที่มีพนักงานตั้งแต่ 1 ถึง 50 คน  ผลิตข่าวสำหรับผู้ชมกลุ่มน้อย หรือเนื้อหาที่ไม่แมส สามารถขอรับเงินทุนเพื่อใช้จ่ายตามที่ต้องการได้

สื่อที่มีคุณสมบัติตรง สามารถเข้าไปกรอกได้ที่ลิงค์แหล่งข่าวต้นทาง แต่ต้องกรอกข้อมูลสมัครเป็นภาษาอังกฤษ 

อย่างไรก็ตาม Google ไม่ได้บอกเพดานงบลงทุนที่ชัดเจนว่าจะทุ่มเท่าไร

ที่ผ่านมา Google และ Facebook ดึงส่วนแบ่งรายได้โฆษณาจากสื่อไปมาก ข้อมูลของ Insider Intelligence ชี้ว่า ในปี 2021 ทั้งสองแพลตฟอร์มกินรวบส่วนแบ่งตลาดโฆษณาออนไลน์ไป 52% 

จุดประเด็นการผูกขาดในอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์ และคุณค่าของความเป็นสื่อ ที่อาจทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ หากต้องทำคอนเทนต์เพื่อไล่ตามรายได้โฆษณาไปเรื่อยๆ 

จึงเป็นที่มาของโปรเจกต์ช่วยเหลือสื่อ ซึ่ง Google และ Facebook พยายามทำมาเรื่อยๆ (อีกนัยหนึ่ง คือทำเพื่อลดความตึงเครียดจากฝ่ายรัฐบาล ที่จะเล่นงาน Big Tech ในข้อหาผูกขาดด้วย)

แต่เมื่อเทียบทั้งสองแพลตฟอร์มแล้ว ดูเหมือนว่า Google จะมีความชัดเจนในการช่วยเหลือสื่อมากกว่า 

[ เทียบแนวทางช่วยเหลือสื่อระหว่างสองยักษ์ Google-Facebook ]

Google ทำโปรเจกต์ Google News Initiative มาระยะหนึ่งแล้ว เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Google และสื่อ หลักๆ คือเพื่อโปรโมทแหล่งข่าวเชื่อถือได้ สู้ข่าวปลอม และกระจายรายได้ไปยังสื่อ ที่ผ่านมา Google ก็ลงทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์ทั่วโลกในโปรเจกต์นี้

Facebook เองก็มีโครงการ Facebook Journalism Project เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว ทางบริษัทได้ให้คำมั่นว่าจะทุ่มเงิน 300 ล้านดอลลาร์ ในช่วงสามปี และให้เงินอีก 100 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือสื่อออนไลน์ช่วงโรคระบาด 

แต่รายงานล่าสุดจาก The Information ชี้ว่า Facebook กำลังปรับแผนใหม่ เพราะเป้าหมายหลักของแอปตอนนี้คือเอาตัวรอดจากสงครามโซเชียลมีเดีย และคู่แข่งมาแรงอย่าง TikTok ซึ่งอาจทำให้งบที่จะมาลงทุนช่วยสื่อลดลง

ยังไม่นับแนวทางใหม่ของ Facebook ที่อยากลดโทนเนื้อหาการเมืองลง เพราะไม่อยากให้แพลตฟอร์มมีความ toxic ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อสื่อมวลชนไม่น้อยเลย เพราะ Facebook ก็กลายเป็นเครื่องจักรสำคัญในวงการสื่อไปแล้ว.

อัลกอริทึม การทำงานของ Facebook ทุกวันนี้ ก็ยังสร้างความเจ็บปวดให้ครีเอเตอร์ไม่น้อย Hashem Al-Ghaili ผู้สร้างเพจแนววิทยาศาสตร์ มีคนติดตามกว่า 33 ล้านราย ออกมาบ่นว่า การโพสต์งานวิดีโอบน Facebook ตอนนี้กำลังเป็นฝันร้าย

เนื่องจากเครื่องมือ Rights Manager ตัวช่วยปกป้องลิขสิทธิ์เนื้อหาของครีเตอร์ ลดการถูกดูดไปอัพโหลดซ้ำนั้น ถูกใช้ผิดวิธี

เพราะคนทำเพจหลายราย นอกจากจะถ่ายเองแล้ว ยังใช้ฟุตเทจในสต็อก เช่น Pond5, Videohive, Shutterstock  แต่ฟังก์ชั่นของ Rights Manager ทำให้ทำงานยาก เพราะ Rights Manager ระบุลิขสิทธิ์เจ้าของคนแรกที่อัพโหลดวิดีโอลงไปแล้ว ทั้งที่จริงๆ มันเป็นฟุตเทจที่ใครๆ ก็ใช้ได้ ถ้าซื้อมาอย่างถูกต้อง 

Hashem บอกว่า ตอนนี้เพจ Facebook หลายพันเพจได้รับผลกระทบจากสิ่งนี้ ครีเตอร์ต้องคิดแล้วคิดอีก กว่าจะเผยแพร่สิ่งใดบน Facebook เขาได้ร้องเรียนไปยัง Meta ให้แก้ไขด่วน แต่ยังไม่การตอบรับใดๆ

ที่มา : Adweek, Google, ScienceNaturePage

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า