Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครั้งที่แล้ว TODAY Bizview เคยนำคำที่คนไทยค้นหากันมากที่สุดบน Google มาให้ดูกันไปแล้ว รอบนี้มาดูกันว่า การค้นหาของคนไทย สะท้อนอะไรบ้าง 

ซึ่งก็สอดคล้องกับรอบที่แล้ว ที่คำว่า บัตรประชารัฐ เป็นคำค้นอันดับหนึ่ง เพราะคนไทยยังกังวงเรื่องปัญหาปากท้อง แต่เมื่อรวมการค้นหาเรื่องอื่นๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน จะเห็นภาพสะท้อนของคนไทย ในปี 2022 ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 7 เทรนด์ใหญ่ๆ คือ

1] รำลึกความหลัง Y2K  มีการค้นหาคำว่า Y2K เพิ่มขึ้น 370% 

Y2K คือเทรนด์ที่ย้อนรำลึกความหลัง สมัยที่ยังไม่มีสมาร์ทโฟน หรือแอปโซเชียลที่ติดต่อกันได้ทุกเวลา ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่เคยเจอ เพราะเกิดไม่ทัน และแฟชั่นในยุคนั้นก็โดนใจคนรุ่นใหม่ด้วย 

2] ต้องการสมดุลชีวิต การค้นหา Work Life Balance เพิ่มขึ้น 100%, การค้นหา ภาวะหมดไฟในการทำงาน เพิ่มขึ้น 30%, การค้นหา  เปลี่ยนงาน เพิ่มขึ้น 30%  เทรนด์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการลาออกครั้งใหญ่ และ Quiet Quitting 

3] สิทธิ ความเท่าเทียม การค้นหา สมรสเท่าเทียม เพิ่มขึ้น 800% หลังจากร่างกฎหมายที่เกี่ยวข่้อง ผ่านวาระแรกในสภา นอกจากนี้ยังมีการค้นหาถึงตัวตนที่หลากหลาย อย่างคำว่า LGBT  ค้นหาเพิ่มขึ้น 110%, Gen Z ค้นหาเพิ่มขึ้น 40%

4] เศรษฐกิจ-ปากท้อง เป็นปัจจัยหลัก และเป็นเรื่องสำคัญของคนไทย 

  • การค้นหา ถูกที่สุด เพิ่มขึ้น 100%
  • การค้นหา จ่ายทีหลัง เพิ่มขึ้น 100%
  • การค้นหา เงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น 140%
  • การค้นหา ราคาน้ำมัน เพิ่มขึ้น 100%
  • การค้นหา ค่าครองชีพ เพิ่มขึ้น 40%

5] ความยั่งยืน รักษ์โลก เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมานานและน่าจะมากที่สุดในช่วงนี้ โดยการค้นหา Net Zero เพิ่มขึ้น 330%, การค้นหา รถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 90%, การค้นหา สถานีชาร์จ เพิ่มขึ้น 50%

Net Zero คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือก็คือการที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่องค์กรใหญ่ต้องการจะไปให้ถึง 

6] ต้องการความน่าเชื่อถือจากแบรนด์ คนใช้ช่องทางออนไลนืในการค้นหาสินค้า อ่านรีวิวสินค้า และในขณะเดียวกันก็ใช้การค้นหาเพื่อต้องการทำให้มั่นใจว่า แบรนด์ที่เราใช้อยู่ เชื่อถือได้ โดยปีที่ผ่านมาพบว่า การค้นหา การขยายเวลารับประกัน (สมาร์ทโฟน) เพิ่มขึ้น 40% และ การค้นหา น่าเชื่อถือ เพิ่มขึ้น 30%

7] เพลียกับมิจฉาชีพ เป็นภัยใกล้ตัวที่คนไทยเจอกันแทบทุกคน สำหรับมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซนเตอร์ ที่หลายกรณีก็ทำการหลอกลวงสำเร็จ โดยการค้นหา เบอร์มิจฉาชีพ เพิ่มขึ้น 1,060% และการค้นหา PDPA (กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) เพิ่มขึ้น 300%

ศารณีย์ บุญฤทธิ์ธงไชย หัวหน้าฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย กล่าวว่า “Google Search  เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่คนไทยหลายล้านคนเลือกใช้ในค้นหาข้อมูลตามความสนใจ  ซึ่งในทุกๆ ปีเราจะเห็นถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคจากการวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาบน Google Search นับพันล้านครั้ง และได้มีการประมวลออกมาเป็นเทรนด์ต่างๆ 

จากรายงาน Year in Search ของประเทศไทย ประจำปี 2565 นี้ เราได้สรุปออกมา เพื่อช่วยให้นักการตลาดและผู้ประกอบการเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเข้ามาได้ดียิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการทำการตลาด และวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อรับมือในปี 2566 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

คนไทยค้นคำว่า “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” มากที่สุดบน Google ในปี 2565

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า