SHARE

คัดลอกแล้ว

การแบนสารเคมีการเกษตร 3 ชนิด “พาราควอต  คลอร์ไพริฟอส และ ไกลโฟเซต” ถูกยกขึ้นมาพูดในวงนักวิชาการหลายครั้งถึงผลดีและผลเสีย โดยข้อมูลทางวิชาการที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ ผลกระทบด้านสุขภาพ ที่ระบุว่าสารเคมีการเกษตรดังกล่าว ก่อให้เกิดโทษกับผู้ใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และสถิติยังแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 600 คน จากการเกี่ยวข้องกับสารเคมีการเกษตร 3 ชนิดนี้ แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางส่วน ยังเห็นต่างหากเกิดการแบบสารเคมีการเกษตร เพราะนั่นอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจภาคการเกษตรในไทย

แต่ท้ายที่สุดแล้วมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ไม่อนุญาตให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน หรือการมีไว้ในครอบครอง สารอันตราย 2 ชนิดแล้ว คือ “พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส” ถูกยกให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ส่วน ไกลโฟเซต แม้ยังไม่ถูกแบน แต่ก็ถูกจำกัดการใช้

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช. จึงจัดงานเสวนา ในหัวข้อ “แบน 3 สารพิษ ต่อชีวิตคนไทย” ภายใต้แนวคิด สปสช. หนุนมติห้ามใช้ 3 สารเคมีการเกษตร หลังพบผู้ป่วยพิษสารเคมีปีละเกือบ 4,000 ราย เพื่อเสนอข้อมูลและปัญหาจากสารเคมีการเกษตร โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. , นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช.

ประเด็นสำคัญแรกเริ่มในการเสวนาครั้งนี้ นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. ยกตัวให้เห็นถึงสถิติผู้ป่วยในที่มาจากการเกี่ยวข้องกับสารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิดนี้ ในช่วง 5 ปีให้หลัง มีผู้ป่วยที่ต้องนอนโรงพยาบาล หรือที่เรียกว่าผู้ป่วยใน ประมาณ 2,000 – 4,000 คน ต่อปี ส่วนผู้ป่วยนอกที่เดินทางเข้ามารักษาอาหารเจ็บป่วยมีจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มประชาชนในจังหวัดภาคเหนือ และภาคอีสาน

หากประเมินเป็นค่าใช่จ่ายสำหรับผู้ป่วยใน แต่ละปีรัฐบาลต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมมูลค่ากว่า  15 – 20 ล้านบาท ต่อปี

 “ในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ได้ดูแลเกี่ยวกับเรื่องหลักประกัน ที่ทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วยและเข้มเข็ง เราต้องเข้ามาช่วยรณรงค์ และมีจุดยื่นที่ชัดเจน บอกสังคมว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่มีผลทั้งระยะเฉียบพลันและระยะยาวที่ต้องพยายามคำนึงถึง นอกเหนือจากนั้นก็เป็นสิ่งที่มีเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นเงินจากภาษีอากร และในฐานะที่ผมเป็นแพทย์จะเห็นว่าการรักษาพยาบาลในกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสารพิษเหล่านี้ เมื่อรักษาส่วนใหญ่แล้วมักเสียชีวิต และถึงแม้จะรอดไปแล้ว ผลข้างเคียงที่ตามมาก็เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของตับ ในเรื่องของไต ทำให้การมีชีวิตอยู่ในอนาคตลำบากขึ้น ดังนั้นเราต้องมาช่วยกันรณรงค์ ทำอย่างไรเราถึงจะมีการป้องกันเรื่องพวกนี้ ไปหาทางเลือกอื่นๆ ในที่จะมาทำให้เรื่องของพืชผักเราปลอดภัย นั้นเป็นบอบาทของ สปสช.” นพ.ศักดิ์ชัย กล่าว

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย กล่าวถึงประเด็นความร้ายแรง และผลกระทบ ของสารเคมีการเกษตร 3 ชนิด ดังนี้

พาราควอต เป็นสารที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูงมาก และยังเป็นพิษเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังพบว่า พาราควอต ยังสะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่การใช้สารเคมี โดยพบว่ามีการตกค้างเกินค่ามาตรฐานหลาย 10 เท่า และยังพบการตกค้างในผักผลไม้ อีกด้วย สอดคล้องกับรายงานวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปีที่ผ่านมา ที่ระบุว่า การตกค้างพาราควอต ในผักผลไม้ที่สุ่มตรวจ 1 ใน 4 ซึ่งถือว่าสูงมาก และยังสอดคล้องกับงานวิจัยจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตรวจพบพาราควอต ตกค้างบริเวณสายสะดือเด็กแรกเกิดของหญิงตั้งครรถ์ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังทารกได้

คลอร์ไพริฟอส เป็นสารเคมีกำจัดแมลง และจากการตรวจสอบ ในผักและผลไม้ ที่ผ่านมาพบว่ามีตกค้างจำนวนมากเช่นกัน โดยพิษของคลอร์ไพริฟอส จะก่อให้เกิดผลกระทบทางสมองในเด็ก

ไกลโฟเซต เป็นสารก่อมะเร็ง โดยล่าสุดหลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เม็กซิโก ตั้งเป้าชัดเจนว่าภายใน 3 ปีต้องยกเลิกสารตัวนี้ให้หมดไป เพราะมีผลชี้ชัดว่าทำลายสุขภาพของประชาชน

“ปัญหาเรื่องสารเคมีทั้ง 3 ชนิด กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบก่อนเลยคือเกษตรกร โดยสารพิษใน 3 ชนิดนี้ มีพิษเฉียบพลันสูง ก็คือ พาราควอต ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ยาฆ่าหญ้า ท่านทราบหรือไม่ว่าความเป็นพิษเฉียบพลันสูงมากกว่า สารเคมีที่เราเคยแบนมาในอดีตหลานเท่าตัว หากจำกันได้ก่อนหน้านี้มีสารเคมีชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ฟูราดาน ใช้หยอดสำหรับกำจัดหนอนแมลง ในที่สุดฟูราดาน อันตรายเกินกว่าจะนำมาใช้ได้ พบพิษเฉียบพลันสูงมาก แต่ว่าพาราควอตความเป็นพิษเฉียบพลันสูงกว่าฟูราดาน 43 เท่าตัว และยังเป็นพิษเรื้อรังที่ก่อให้เกิดโรค พากินสัน” นายวิฑูรย์ กล่าว

ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ยังยกผลสำรวจประชาชน ของสำนักโพลต่างๆ ที่สำรวจประชาชนเกี่ยวกับการแบนสารพิษทั้ง 3 ชนิด พบว่าส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องกันว่า ควรแบนสารพิษทางเกษตรดังกล่าว โดยผลสำรวจของนิด้าโพล พบว่ากลุ่มประชาชนที่สำรวจ 75 % สนับสนุนการแบน , แม่โจ้โพล พบว่า 57 % ของเกษตรกรที่สำรวจ สนับสนุนการแบนสารพิษทั้ง 3 สารชนิด

สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ขณะที่ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึง นโยบายการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อการเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตรว่า ยังไม่ดีเท่าที่ควร เพราะหากวิเคราะห์ถึงนโยบายที่มีอยู่นั้น พบว่าไม่มีส่วนในการส่งเสริมให้เกษตรกร หันไปทำเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ หรือ เกษตรทางเลือก และกลับเอื้อผลประโยชน์ให้กับการใช้สารเคมี

“หากเกษตรกรไปซื้อปุ๋ย ถ้าคุณซื้อปุ๋ยอินทรีย์ คุณเบิกกองทุนไม่ได้ คุณต้องซื้อปุ๋ยเคมีเท่านั้น เรื่องของเครื่องจักร พบว่ามีราคาแพงและต้องเสียภาษี ซึ่งเกษตรกรจะไปซื้อเครื่องจักรมาใช้มันไม่ได้ง่าย แต่จริงๆ แล้วการที่เกษตรกรจะไปซื้อสารเคมีมาใช้ มันง่ายกว่า เพราะสารเคมีไม่ต้องเสียภาษีเลย เพราะฉะนั้นคุณต้องทำให้ทุกตำบล มีเครื่องจักรที่จะให้เกษตรกรนำมายืมไปใช้ ซึ่งนี่คือสิ่งที่ควรจะทำให้เกิดขึ้นเลย” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าว

สำหรับประเด็นเรื่อง การกำจัดการใช้ ไกลโฟเซต ที่ยังไม่ถูกยกให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 แต่กำจัดการใช้นั้น เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยกตัวอย่างผลการสำรวจของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ มูลนิธิชีววิถี เรื่องการกำจัดการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร ระบุว่า กว่าร้อยละ  87 ประชาชนไม่สามารถจำกัดการใช้ การขายสารเคมีทางการเกษตรได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ค้าไม่ได้ทำตามข้อประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และยังพบว่าสารเคมีดังกล่าว สามารถซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ได้ นั่นหมายความว่า ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงสารเคมีอันตรายได้อย่างเสรี ดังนั้นจะมองว่า ไกลโฟเซต จำเป็นจะต้องถูกพิกถอนออก หรือ ยกให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ด้วย

“ข้อมูลที่เราพบ จำกัดการใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นนโยบายจำกัดการใช้สารเคมีถือว่าล้มเหลว คือถ้าเราบอกคนว่า คุณต้องฉีดสารเคมีให้ถูกวิธี มันไม่ง่ายนะ เพราะฉะนั้นการจัดการสารเคมีที่ดีที่สุดคือต้องยกเลิกที่ต้นทาง ขณะนี้เราพบว่าการกำจัดการใช้มันทำไม่ได้ เพราะร้านค้าบางส่วนอาจจะยังไม่รู้ว่า ถูกกำจัดการใช้แล้ว ยังขายปนอยู่กับสินค้าอื่น เพราะฉะนั้นการบังคับกำจัดการใช้มันยังไม่เห็นจริง” นางสาวสารี กล่าว

สำหรับแนวทางการป้องกันประชาชน จากสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิดนี้ ข้อเสนอแนะในเวทีเสวนา “แบน 3 สารพิษ ต่อชีวิตคนไทย” ระบุว่า ต้องให้ภาคสังคมทุกคนช่วยกัน โดยเฉพาะการไม่สนับสนุนสินค้าที่มาจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ส่งผลเสียต่อประชาชน เชื่อว่าหากประชาชนเดินหน้าได้เช่นนี้ จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า