SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกคนทราบกันหรือไม่ว่าคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตวานเรื้อรังเพิ่งสูงขึ้นในทุกๆ ปี สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดภาวะไตเสื่อมที่เร็วขึ้นจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่าคนไทย ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังมากถึงร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน และเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ที่สำคัญอัตราการป่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องปีละกว่า 7,800 ราย ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนไตทำได้เพียงปีละ 500 ราย จึงเน้นการชะลอความเสื่อมของไตเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ต้องล้างไตช้าลง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช. จึงจัดงานเสวนา ในหัวข้อ ไตวายไม่ตายไว รู้จักโรคไต รู้สิทธิบัตรทอง เพื่อเสนอข้อมูลและปัญหาไปยังประชาชน ถึงตระหนักถึงการป้องกัน และ สิทธิในการรักษาหากต้องเผชิญหน้ากับโรคไตวายเรื้อรัง โดยมีวิทยากรมาให้ข้อมูล ได้แก่ รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย

รศ.นพ.ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อธิบายถึงความเสี่ยงในการเป็นโรคไตจากข้อมูลที่ได้รวบรวม พบว่าขณะนี้มีประชากรคนไทยประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ ที่มีภาวะโรคไตวายเรื้อรัง หรือประมาณ 10 ล้านคนซึ่งสาเหตุหลัก มาจากหลายส่วน เช่น โรคเบาหวาน ความดัน รวมๆ เรียกว่าโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ อาจจะมาจากการกินยาแก้อักเสบที่มาเกินไป

โรคไตเป็นได้ทุกอายุ เพียงแต่ว่าทุกอายุจะมีสาเหตุที่มาแตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่ามีส่วนหนึ่งที่เราสามารถป้องกันได้ ต้องยอมรับก่อนว่าโรคไตที่เป็นกันมากขึ้นในระยะเริ่มต้นอาการค่อนข้างน้อย จะเริ่มปรากฎก็ต่อเมื่อมีภาวะปวม จะมีภาวะปัสสาวะออกน้อยก็เกิดขึ้นน้อยแล้วรศ.นพ.ณัฐชัย กล่าว

สำหรับความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคไต มีปัจจัยที่สำคัญ คือเรื่องของอาหารที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารรสชาติจัด หรือ การรับประทานอาการประเภทเนื้อสัตว์จำนวนมากกว่าที่ร่างการต้องการ เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคไตนั้น ส่วนใหญ่จะไม่แสดงในระยะเริ่มแรก ดังนั้นผู้ที่เข้าข่ายความเสี่ยงโรคไต ต้องหมั่นไปตรวจหาความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไตที่โรคพยาบาล

หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านโรคไตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระบุว่า โรคไตเรื้อรัง มีทั้งหมด 5 ระยะ โดยทั่วไปหากผู้ป่วยไปถึงระยะที่ 5 แพทย์มักจะแนะนำว่าอาจจะต้องเข้าสู่การฟอกไตในไม่ช้า ซึ่งที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า การรักษาผู้ป่วยโรคไตในระยะที่ 5 มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก

ดังนั้นเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตไม่ให้ไปถึงระยะที่ 5 ทีมวิจัยกำลังคิดค้นพัฒนาชุดตรวจโรคไตเบื้องต้นในระยะเริ่มต้น เพื่อที่จะได้รักษษผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปฟอกไตในอนาคต

ขณะที่ นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า ปัจจุบันสิทธิการรักษาโรคไตสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ บัตรทอง ให้ความคลุมครองผู้ป่วยทุกระยะ ตั้งแต่ ก่อนจะป่วย ระหว่างป่วย หรือ ป่วยระยะสุดท้าย ที่ต้องปลูกถ่ายไต โดยสิทธิ์บัตรทอง สามารถให้การรักษาได้

หากย้อนหลังไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ถ้าไตวาย เราจะต้องตายไว และทุกคนมักจะพูดว่า เป็นการล้มละลายทางการเงินอย่างแน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายสูงมากต่อเดือน และสุดท้ายก็เสียชีวิตอยู่ดี เรารู้สึกเศร้าใจมากกับการที่มีคนไข้ต้องเสียชีวิต มีคนหนุ่มๆประกอบอาชีพปกติ แต่ไม่มีสิทธิในการรักษาโรคไต จนกระทั่งเมื่อปี 2550 มีการผลักดันเรียกร้องเรื่องการรักษาโรคไต นพ.รัฐพล กล่าว

นพ.รัฐพล กล่าวต่อว่า ในแต่ละปีได้จัดงบประมาณหลายล้านบาท โดยเน้นส่งเสริมป้องกันดูแลแบบครบวงจร ซึ่งผลการทำงานในแต่ละปี จะมีจำนวนผู้ป่วยสูงเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เพิ่มขึ้นทุกปี สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยป่วยเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายมากขึ้น

ดังนั้นการรักษาโรคไต ควรจะต้องรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต้องหมั่นดูแลตัวเอง ไม่ให้ไตทำงานหนัก แต่ถ้าหากรักษาจนไตหมดประสิทธิภาพในการทำงานแล้ว มีวิธีบำบัดอยู่ 3 วิธี คือ 1.การฟอกไตที่หน้าท้อง 2.การฟอกไตทางเลือด และ 3.การเปลี่ยนไต หรือ ปลูกถ่ายไต โดยการบำบัดทั้ง 3 ทางเลือก ต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตัดสินใจว่าเหมาะสมกับผู้ป่วยประเภทใดมากที่สุด

นอกจากนี้ สปสช. ยังสร้างทีมเครือข่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไต เช่น เครือข่ายผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แนวทางการในเรื่องการรักษา และ แนะนำการใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากโรคไต

นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย เล่าประสบการณ์การรักษาโรคไตที่ตัวเองต้องเผชิญว่า ในอดีตที่ฟอกไต ในโรคพยาบาลรัฐ เราแทบจะไม่มีโอกาสได้ไปฟอกไต เพราะหน่วยบริการน้อยมาก เราจึงต้องไปฟอกไตที่โรงพยาบาลเอกชน โดนมีค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 6,000 ต่อ 1 ครั้ง ซึ่งต้องทำการฟอกไตมากถึง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง หากคิดเป็นเงินต่อเดือน จะต้องเสียเงินประมาณ 70,000 บาท หรือคิดต่อปี ต้องเสียงไปกับการฟอกไตมากเกือบ 1,000,000 บาท นี้จึงเป็นที่มาของคำว่า ไตวายแล้วตายไว

ในยุคนั้น สิทธิการรักษา มันไม่ได้ครอบคลุมโรคค่าใช้จ่ายสูง ได้แก่ โรคจิตเวชโรคหัวใจ โรคไต โรคมะเร็ง และโรคเอดส์ 5 โรคนี้ เป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง เราจึงมานั่งคิดว่าทำไม 30 บาทรักษาทุกโรค ทำไมโรคเหล่านี้ถึงไม่ได้ จนปี พ.ศ.2547 เริ่มมองเห็นว่า กลุ่มผู้ป่วย HIV เริ่มได้สิทธิการรักษา เริ่มได้รับยาต้าน กลุ่มผู้ป่วยโรคไตจึงมองเห็นโอกาสว่า เราต้องได้รับสิทธิการรักษาบ้าง เราจึงเริ่มคุยกันในกลุ่มผู้ป่วย เริ่มจากคนของมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้น จากคนไม่กี่คน นายธนพลธ์ กล่าว

แม้ในปัจจุบันนี้สิทธิการรักษาพยาบาลโรคไต ของ 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพ กองทุนประกันสังคม และ สิทธข้าราชการ จะครอบคลุมการรักษาโรคไต แต่สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย มองว่ายังต้องผลักดันให้ประชาชน เข้าใจถึงการป้องกัน และห่างไกลจากการเกิดโรค เพราะนี้คือหนทางที่ดีที่สุดในการรักษา

ทั้งนี้ในปี 2563 สปสช.ได้จัดสรรงบประมาณการบำบัดทดแทนโรคไตวายเรื้อรัง จำนวนกว่า 9,405 ล้านบาท โดยตั้งเป้าจะมีผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 61,948 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องจำนวน  31,047 ราย การฟอกเลือดจำนวน 28,546 ราย และการผ่าตัดเปลี่ยนไตจำนวน 172 ราย ผู้ป่วยที่ต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 2,183 ราย โดยเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายในการบำบัดทดแทนไตประมาณ 200,000 บาทต่อคนต่อปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า