Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากที่หลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเดือนมกราคม ปี 2563 ทำไม “รู้สึก” ยาวนานกว่าปกติเหมือนมี “วัน” มากขึ้นหรือไม่? ซึ่งความจริงแล้ว “เวลา” กับ “ความรู้สึก” นั้นต่างกัน Workpoint News พูดคุยกับคุณหมอท๊อป นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จึงได้รู้ว่าแท้จริงเป็นฝีมือของ “สมอง” นั่นเอง

“บางทีเรานั่งคุยกันว่า เอ๊ะทำไมวันนี้ผ่านไปเร็วจัง, แต่วันนี้ทำไมผ่านไปช้าจัง ตรงนี้เป็นกลไกของสมองมนุษย์”

ถ้าเกิดเราทำในสิ่งที่เป็นเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่ได้มีอะไรใหม่ กลไกของสมองส่วนหนึ่งจะทำให้เป็นความเคยชิน ทำไปโดยอัตโนมัติ ทำไปโดยที่เราไม่ได้สนใจสิ่งแวดล้อมมากเท่าไหร่ เพราะว่าทุกอย่างเหมือนเดิม ช่วงทีไม่มีเรื่องเหตุการณ์ใหม่ๆ หรือทุกอย่างในชีวิตมันสงบดี เราจะรู้สึกว่า “มันผ่านไปเร็ว”

แต่ขณะเดียวกัน เมื่อมีเรื่องอะไรเข้ามา เป็นเรื่องที่ใหม่ หรือเรื่องที่เราจำเป็นต้องสนใจ หรือเราสนใจขึ้นมา เราจะรู้ว่าช่วงเวลานั้น “มันจะนานกว่าหรือช้ากว่าเวลาปกติ” เป็นเพราะว่าสมองจะมีการคิดเรื่องราวต่างๆ ประมวลผล เหมือนมีอาการตื่นตัวมากขึ้น สมองจะทำงานประมวลผลเร็วและไวขึ้น สมองจะทำให้เราโฟกัส ตั้งสมาธิกับเรื่องที่เกิดขึ้นและสิ่งรอบตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องส่วนตัวหรือเหตุบ้านเกิดเมืองจนทำให้รู้สึกว่า ทำไมเดือนนี้นานจัง เพราะสมองตั้งสมาธิ สังเกตสิ่งรอบตัวมากขึ้นก็เลยทำให้รู้สึกเหมือนนานขึ้น

เหมือนเราแปรงฟันตอนเช้า คนที่ถนัดมือขวา แปรงฟันด้วยมือขวาทุกวันก็เหมือนแป๊บเดียว แต่ถ้าเราลองเปลี่ยนมือมาเป็นมือซ้ายแปรงฟัน จะรู้สึกว่าภาพความจำนั้นชัดเจนกว่าถึงแม้จะเสียเวลามากกว่าจริงในบางส่วนแต่เราจะรู้สึกตื่นตัวกว่า

หรืออย่างบางทีการขับรถ เราเปลี่ยนเส้นทางในการขับที่เราไม่เคยชิน คนขับทางเดิม ฟังเพลงไปด้วย คุยกัน แป๊บเดียวเหมือนถึงที่หมายแล้ว เพราะเราไม่ได้สนใจเส้นทางเราทำตามความเคยชิน แต่ถ้าเปลี่ยนเส้นทาง ไปตาม goolgle map เราไม่เคยไป เวลาเท่ากันหรือเร็วกว่า แต่เราจะรู้สึกว่ามันเหมือนนานกว่าเพราะว่ามีสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เพราะว่าสมองตื่นตัวอย่างนี้เป็นต้น

“เวลา” กับ “ความรู้สึกจริง” ไม่เท่ากันจริงๆ เมื่อกลไกสมองทำงาน

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเรามีความรู้สึกด้านบวก หรือมีความเพลิดเพลินจะรู้สึกว่าเวลาหมดไปไวกว่า แต่ขณะเดียวกันถ้าเป็นเรื่องที่เราเกิดความเครียด ความทุกข์ จะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่สมองจะทำให้เกิดการตื่นตัว รู้ตัว มีสมาธิมากขึ้น อย่างช่วงที่คนเราอกหัก ทำไมรู้สึกว่ามันนานจัง แต่ทำไมช่วงที่เรามีความสุขเวลาผ่านไปเร็วจัง อีกอย่างคือการ “รอคอย” เช่นรอประกาศผลสอบเข้ามหาวิทยาลัย จะรู้สึกว่าทำไมนานจังเลย จะรู้สึกอยากให้ประกาศผลเร็วๆ ทั้งที่จริงเวลาก็เดินเท่าเดิมแต่เราจดจ่อกับเรื่องนั้นเลยทำให้รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า

“สมองเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก มีหลายกลไกและซับซ้อน”

สมองจะให้เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้ากว่าถ้าเป็นเรื่องเครียดหรืออันตราย

เพราะสมองจะมีการตื่นตัว อาจมีการหลั่งสารเคมีออกมาเพื่อให้ตัวเราเอาตัวรอดจากสิ่งที่เข้ามากระทบ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดทางกายหรือความเครียดทางใจ เมื่อสมองรับรู้ว่า “สิ่งนี้” อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตคือตัวเรา ก็จะหลั่งฮอร์โมนให้มีความเครียด ความกังวล และจะเกิดความตื่นตัวไปด้วย เพื่อให้ตัวเราหลีกหนีจากสิ่งที่อันตราย ดังนั้นเราจะโฟกัส ตื่นตัวจากสิ่งนั้น เราจะระแวดระวังภัย เลยทำให้รู้สึกว่าเรื่องเกิดแป๊บนึง แต่เราจะคิดอะไรเยอะแยะ เวลาไม่ได้นานขึ้นแต่สมองประมวลผลทุกอย่างเร็วขึ้นเพื่อเอาตัวรอด ให้เราปลอดภัยจากสิ่งอันตรายทางกายและทางใจที่เกิดความเครียด อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับรายบุคคลด้วย

ไม่ใช่อุปทานหมู่ที่เดือนมกราคม 2563 ดูยาวนานกว่าที่ผ่านมา

เป็นเรื่องที่ปัจจุบันได้ยินบ่อยมาก มีหลายคนบอก หลายคนรู้สึกอย่างนั้น อาจเพราะเป็นเดือนที่หลายเรื่องให้เราสนใจ ตื่นตัว ระวังตัว เลยรู้สึกว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเยอะ ต้องเอาตัวรอดจากสิ่งเหล่านั้น และสมองเราก็คิดเยอะกว่าปกติ จึงทำให้รู้สึกว่าเวลานานกว่าปกติ “เป็นเดือนที่สมองที่คิดเยอะกว่าปกติ” อย่างไรก็เมื่อเปลี่ยนเดือนใหม่ หากเรื่องราวยังตื่นเต้นตื่นตัวอยู่ อาจจะรู้สึกเลยว่าปีนี้นานจัง ไม่ใช่เดือนมกราคมเดือนเดียวแล้ว แต่ถ้าทุกอย่างอยู่ด้วยความเคยชิน คลี่คลายไม่กังวลก็จะไม่รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า