Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมสุขภาพจิต จัดทีมสุขภาพจิต MCATT ประกบผู้ได้รับผลกระทบเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู เฝ้าระวังอาการ PTSD เร่งเยียวยาจิตใจให้รู้สึกปลอดภัย 

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ จ.หนองบัวลำภู ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากนั้น เป็นเหตุการณ์ความรุนแรง สะเทือนขวัญที่จะสร้างความเจ็บปวดมาก กรมสุขภาพจิตได้จัดทีมสุขภาพจิตจากโรงพยาบาลจิตเวชเลย และศูนย์สุขภาพจิตเขต 8 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์และดูแลผู้เสียหาย โดยหลักการจะเข้าไปดูผลกระทบทางด้านจิตใจ ร่วมกับผลกระทบทางร่างกายผู้ประสบเหตุทั้งหมด

พญ.อัมพร กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบกับคนจำนวนมากและจะส่งผลกระทบยาวพอสมควร วิธีการช่วยเหลือที่ดีที่สุดตอนนี้ คือ ทำให้คนที่เกี่ยวข้องรู้สึกปลอดภัยก่อน เพราะการเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงทั้งภาพและเสียงจะติดอยู่ในความรู้สึกที่รุนแรงมาก หากได้อยู่ในสถานที่ที่มั่นใจว่าปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะต้องได้รับการปกป้องจากผู้ใหญ่ที่คุ้นชินเป็นเรื่องสำคัญมาก

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องขอความร่วมมือ และความช่วยเหลือจากทุกคนในสังคม

1.สังคมวงใน ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ประสบเหตุ ต้องไม่ซักถามถึงเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะการถามอาจจะเป็นการตอกย้ำภาพความรุนแรง เสียง บรรยากาศของความรุนแรงจะฉายวนอยู่ในจิตใจคนนั้นๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกลายเป็นแผลลึก ทำให้เยียวยา คลี่คลายได้อยาก

2. ให้เกียรติผู้สูญเสีย ผู้เกี่ยวข้อง ไม่เผยแพร่ภาพความรุนแรงทำให้คนใกล้ชิด สังคม เกิดความเจ็บปวดมากขึ้น หรือเป็นการทำให้สังคมเกิดความชาชินต่อความรุนแรง ดังนั้นไม่ควรส่งต่อภาพ คลิป เหตุการณ์ความรุนแรง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำชับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภูตั้งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต (MCATT) ดูแลจิตใจผู้สูญเสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังอาการ PTSD หรือ ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งมีทั้งทีมจากทางหนองบัวลำภูและทีมสนับสนุนจาก จ.เลย และขอความร่วมมือสื่อมวลชนและผู้ใช้สื่อโซเชียลต่างๆ ไม่นำเสนอหรือส่งต่อภาพ/เนื้อความที่อาจจะไปกระตุ้นความรู้สึกของผู้สูญเสีย รวมถึงผู้ที่มีอาการเครียดในลักษณะเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เลียนแบบได้

  • ทำความรู้จัก ภาวะกระทบกระเทือนจิตใจหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง หรือโรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder)

โรค PTSD หรือที่เรียกว่าโรคความผิดปกติทางจิตใจภายหลังภยันตราย  อาจเกิดขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์รุนแรงสะเทือนจิตใจ ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ได้มีเพียงแค่การสูญเสียทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วย โรค PTSD เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย ผู้ป่วยอาจจะเป็นผู้ที่ประสบเหตุการณ์โดยตรง หรือเป็นผู้ที่ได้รับการสูญเสียจากเหตุการณ์ทางอ้อม เช่น เหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ จ.หนองบัวลำภู เหตุก่อการร้าย การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

  • อาการของโรค PTSD เริ่มแรกผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะเห็นภาพเหตุการณ์นั้นซ้ำๆ กลายเป็นภาพหลอน ฝันร้าย และเกิดความวิตกกังวลอย่างรุนแรง จนเกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรค PTSD เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย และทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตรวมถึงด้านอารมณ์ไปด้วย โดยสามารถนำพาไปสู่โรคภาวะทางจิตและพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตราย  ทั้งโรคที่มีผลทางด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรควิตกกังวล เป็นต้น
  • การรักษาภาวะ PTSD มีหลายวิธีและต้องใช้เวลาในการรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับการดูแลจากคนรอบข้างประกอบด้วย
  1. เรียนรู้และรับมือ ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวต้องพยายามเรียนรู้การจัดการกับความเครียด หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย การออกไปพบปะผู้คน หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว เป็นต้น
  2. ดูแลตนเองมากขึ้น ไม่ควรบริโภคของที่ไม่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่เสพสารเสพติด และเพิ่มเวลาในการพักผ่อนให้มากขึ้นกว่าเดิม
  3. รับยาจากแพทย์ โดยแพทย์จะให้ยาที่สามารถลดความเครียดหรือช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ทั้งนี้การใช้ยาต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
  4. การบำบัด สามารถเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยปรึกษาเพื่อปรับให้สามารถค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนความคิดได้ หรือเลือกที่จะเผชิญกับสิ่งที่เรากลัวและเรียนรู้วิธีการรับมือที่ถูกต้องแต่วิธีนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้การได้รับการดูแลพูดคุยหรือสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็สามารถบำบัดได้เช่นกัน
  • ทำอย่างไรเมื่ออาจต้องเผชิญภาวะ PTSD การป้องกันภาวะ PTSD  ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเป็นภาวะที่มีต้นเหตุมาจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น เมื่อเราผ่านเหตุการณ์ที่กระทบต่อความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงเราจึงควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและขอคำปรึกษา พูดคุยกับผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้ หากิจกรรมเพื่อบรรเทาความเครียด เป็นต้น ยิ่งเราเข้ากระบวนการรักษาเร็วเราก็มีโอกาสเป็นภาวะ PTSD น้อยลงตามไปด้วยนั่นเอง

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลเพชรเวช 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า