Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ในสาขาอาชีพ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของโครงสร้างประเทศ และยังเป็นสาขาอาชีพหลักในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและเทคโนโลยี ที่ผ่านมามีสัดส่วนของผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แม้ในระยะหลัง เริ่มมีความเปิดกว้างหลากหลาย แต่สัดส่วนผู้หญิงในสายอาชีพนี้ก็ยังน้อยกว่าผู้ชายอยู่มาก 

รายงานดัชนีช่องว่างระหว่างเพศ ประจำปี พ.. 2566 โดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economy Forum) ระบุว่า อาชีพในสาขา STEM เป็นหนึ่งในกลุ่มอาชีพสำคัญที่มีค่าตอบแทนสูง และจะเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอนาคต แต่จำนวนผู้หญิงที่ประกอบอาชีพในสาขา STEM ยังคงมีสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ประกอบอาชีพที่ไม่อยู่ในกลุ่ม STEM ผู้หญิงมีจำนวนมากถึงเกือบครึ่ง (49.3%) ในขณะที่ในอาชีพในสาขา STEM มีผู้หญิงเพียง 29.2% เท่านั้น

ในหลายบริษัทโดยเฉพสะบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ มีภาระผูกพันต่อสังคมและรัฐบาลในการเพิ่มความหลากหลายในองค์กร เราจึงเห็นรายงานความหลากหลายของบางบริษัทออกมาเปิดเผยสัดส่วนผู้หญิงมากขึ้น

และในโอกาสวันวิศวกรรมสตรีสากล (International Women in Engineering Day) หัวเว่ย จัดงานโร้ดโชว์ “Women in Tech” ครั้งแรกในไทย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงรุ่นใหม่หันมาสนใจศึกษาต่อในสาขา STEM  (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) เพื่อขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนและเท่าเทียมกัน กิจกรรมนี้ยังเป็นการผนึกกำลังระหว่างหัวเว่ย องค์การยูเนสโก (UNESCO) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) และสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย ในการบ่มเพาะและเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านไอซีที

กิจกรรมโร้ดโชว์ Women in Tech จัดแสดงบูธให้ผู้เยี่ยมชมได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แบตเตอรี่กักเก็บพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และโซลูชันพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือนที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนยิ่งขึ้นให้กับโลก 

นางปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานบริหารกลุ่มธุรกิจคลาวด์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขึ้นกล่าวในงานครั้งนี้ว่า “หัวเว่ย ในฐานะบริษัทเทคโนโลยี ยึดมั่นในภารกิจการเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย และขับเคลื่อนโลกอนาคตแห่งดิจิทัลที่มีความเท่าเทียม สำหรับในปี พ.. 2566 นี้ หัวเว่ยจะยังคงเดินหน้าเพาะบ่มบุคลากรด้านดิจิทัลที่มีคุณภาพ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ โครงการนักพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ โครงการวิศวกรพลังงานดิจิทัล และการสร้างความเท่าเทียมทางดิจิทัล เช่น โครงการ Women in Tech นี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีคนรุ่นใหม่เข้าร่วมโครงการเหล่านี้กันมากขึ้น”

นอกจากนี้หัวเว่ยยังนำ รถดิจิทัลเพื่อสังคมมาจัดแสดงให้บุคคลทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชมเป็นครั้งแรก เป็นโครงการเพื่อสังคมที่หัวเว่ย ประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทักษะความรู้ด้านดิจิทัลให้กับนักเรียน คนงาน และบุคลากรทางการแพทย์กว่า 3,000 คนใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ โครงการดังกล่าวได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วมในโครงการแล้ว 27 โรงเรียน สะท้อนถึงความร่วมมือกันเพื่อเพิ่มการเข้าถึงด้านการศึกษาดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกล พร้อมกับการประกาศแผน 3 ปี ฝึกอบรมนักพัฒนาคลาวด์จำนวน 20,000 คน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า