Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อาหมัด* มีชีวิตที่ค่อนข้างราบรื่นในอินโดนีเซีย เขาสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง จึงได้งานที่มีค่าตอบแทนสูงในสายอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะมีอนาคตที่ดีกว่าในต่างประเทศก็เป็นเรื่องที่เขาไม่อาจปฏิเสธได้ ” ผมได้รับข้อเสนองานด้านการตลาดออนไลน์ผ่านเพื่อนในประเทศไทย เขาเสนอเงินเดือนดี ผมเลยตัดสินใจรับโอกาสนั้น”

ผู้คนจำนวนมากจากหลายประเทศทั่วโลกถูกล่อลวงให้เข้าร่วมขบวนการหลอกให้ลงทุนออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการค้ามนุษย์ ภาพ: ไอโอเอ็ม/กษิดิศ ไชยแก้ว

หลังเดินทางผ่านเส้นทางเดินรถจากอินโดนีเซียไปยังมาเลเซีย เข้าสู่พรมแดนประเทศไทย อาหมัดพบว่าตัวเขาอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยเพราะไม่คุ้นเคยกับประเทศนี้เลย เขาจึงสงสัยว่าต้องทำงานในเมืองไหนกันแน่

อาหมัดถูกพาไปยังตอนเหนือของประเทศไทย และหลังจากโดยสารรถยนต์นานหลายชั่วโมง เขาก็ตกมาอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนติดอาวุธที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง เขารับรู้ได้ว่าเหตุการณ์กำลังจะดิ่งลงเหว

“ผมกลัวและสับสนมาก” เขาย้อนเหตุการณ์ขณะนั้น “หลังจากข้ามแม่น้ำ ผมเห็นธงของประเทศอื่นซึ่งไม่ใช่ธงประเทศไทยแน่ ๆ แล้วผมก็รู้ว่า ผมถูกพามาเมียนมาแล้ว”

ยังมีช่องว่างตามแนวชายแดนหว่างประเทศไทยและเมียนมา ซึ่งรวมถึงบริเวณแม่น้ำเมยด้วย ภาพ: ไอโอเอ็ม/มิโก อลาซาส

อาหมัดเป็นหนึ่งในผู้เสียหายนับพันคนที่ถูกล่อลวงให้เข้าร่วมขบวนการค้ามนุษย์ ถูกบังคับให้หลอกลวงผู้อื่นทางออนไลน์เพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแสที่กำลังเพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศปลายทาง ต้นทาง และทางผ่านของการค้ามนุษย์ในภูมิภาค จำนวนคนที่ถูกค้ามนุษย์ผ่านประเทศไทยเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และถูกบังคับให้ทำงานในขบวนการหลอกลวงดังกล่าวยิ่งเพิ่มมากขึ้น

กลุ่มอาชญากรรมการค้ามนุษย์ใช้ประโยชน์จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคโควิด-19 เพื่อล่อลวงผู้คนทางออนไลน์ ผ่านข้อเสนองานที่ให้ผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ สถานการณ์ในเมียนมาหลังการยึดอำนาจทางทหารในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทำให้กลุ่มอาชญากรรมได้ขยายขบวนการในพื้นที่ที่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างหละหลวม ซึ่งรวมถึงตามชายแดนไทย-เมียนมาด้วย

เช่นเดียวกันกับอาหมัด ผู้เสียหายมักมีการศึกษาในระดับหนึ่ง สามารถพูดได้สองภาษาหรือหลายภาษา และมีความชำนาญด้านเทคโนโลยี

ระหว่างปี 2565 ถึงมิถุนายน 2566 คนจำนวนมากกว่า 250 คน จาก 21 สัญชาติได้รับการส่งต่อมายังองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (ไอโอเอ็ม) ประเทศไทย ในจำนวนนี้ ร้อยละ 86 ถูกคัดแยกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อบังคับให้ก่ออาชญากรรม จำนวนที่แท้จริงของผู้ที่ตกเป็นผู้เสียหายอาจสูงกว่านั้นมาก เมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการหลอกลวงเหล่านี้

อาหมัดอธิบายขบวนการหลอกลวงทางออนไลน์ ซึ่งอาศัยโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ ภาพ: ไอโอเอ็ม/กษิดิศ ไชยแก้ว

ตลอดระยะเวลาครึ่งปีหลังจากนั้น อาหมัดก็จะถูกบังคับให้หลอกลวงผู้คนผ่านบัญชีทวิตเตอร์ที่ปลอมเป็นหญิงสาวหน้าตาดี “งานของผมคือเก็บหมายเลขใช้งาน WhatsApp ของคนอื่น จากนั้นผมจะส่งหมายเลขเหล่านั้นให้อีกทีมหนึ่งเพื่อดำเนินการหลอกลวงต่อไป”

คำบอกเล่าของอาหมัดชี้ชัดว่า ความเป็นอยู่ในขบวนการนั้นโหดร้ายมาก

“ผมต้องทำงานถึง 19 ชั่วโมงต่อวัน เราจะถูกลงโทษหากทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ถูกช็อตด้วยไฟฟ้า ถูกบังคับให้ยืนกลางแดด วิดพื้น หรือวิ่งวนรอบสนาม” อาหมัดเล่า

จากค่าจ้างกว่า 850 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนทีได้ตกลงกันไว้ ในความเป็นจริง เขาได้รับเพียงประมาณ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนเท่านั้น

ซินตา* ชาวอินโดนีเซียอีกคนก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันหลังเพื่อนของเธอหยิบยื่นข้อเสนองานที่ดีมาให้ แต่เพราะไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ การทำงานให้ถึงเป้าหมายของเธอจึงกลายเป็นงานที่ยากลำบาก

“พวกเขาหักเงินเดือนของฉันลงเรื่อย ๆ เมื่อฉันทำไม่ถึงเป้าหมาย” เธอพูด “เมื่อฉันถามว่าจะกลับบ้านได้อย่างไร เขาบอกว่าฉันต้องจ่ายเงินคืน 200 ล้านรูเปียห์ (ประมาณ 13,400 ดอลลาร์สหรัฐ) พวกเขายังขู่จะขายฉันให้กับพวกองค์กรค้าอวัยวะด้วย”

เมื่อไม่สามารถทนทุกข์ได้อีกต่อไป กลุ่มชาวอินโดนีเซียตัดสินใจ “ประท้วงหยุดงาน” ซึ่งส่งผลให้พวกเขาถูกกักขังในห้องนานถึงสองสัปดาห์

โชคดีที่คนในกลุ่มแอบเก็บมือถืออีกเครื่องไว้กับตัว และบันทึกวิดีโอเกี่ยวกับสถานการณ์ของพวกเขา และโพสต์ลงในโลกออนไลน์ วิดีโอนั้นกลายเป็นกระแสในอินโดนีเซีย และยังดึงความสนใจจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง การเผยแพร่ที่กว้างขวางของวิดีโอนั้นทำให้ผู้ค้ามนุษย์ มองว่าคนกลุ่มนี้เสี่ยงเกินกว่าจะเก็บไว้ และในที่สุดก็ปล่อยตัวพวกเขากลับมายังประเทศไทย

ซินตากำลังอ่านคู่มือที่ออกโดยรัฐบาลไทย ซึ่งอธิบายถึงสิทธิและความช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ภาพ: ไอโอเอ็ม/กษิดิศ ไชยแก้ว

หลังจากได้รับการสนับสนุนเบื้องต้นจากองค์กรท้องถิ่นแห่งหนึ่งในพื้นที่ชายแดน กลุ่มนี้ถูกส่งต่อไปยังสถานทูตอินโดนีเซีย และตามคำขอของสถานทูต ไอโอเอ็มให้การสนับสนุนชาวอินโดนีเซียจำนวน 26 คนนี้ด้านอาหาร ที่พักพิง การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และความช่วยเหลือด้านภาษา ตลอดหลายสัปดาห์ที่พวกเขาอยู่ในกรุงเทพฯ ก่อนเดินทางกลับบ้าน

“เนื่องจากแนวโน้มการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ซับซ้อนมาก การคุ้มครองผู้เสียหายอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยการประสานงานที่เข้มแข็ง ไอโอเอ็มทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐและท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และสถานทูตอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความช่วยเหลือตามต้องการ” เจรัลดีน อองซาร์ค หัวหน้าสำนักงานไอโอเอ็มประจำประเทศไทย อธิบาย

“นอกจากนี้ หนึ่งในภารกิจหลักของเราคือการส่งเสริมศักยภาพในการคัดแยกกรณีการค้ามนุษย์” อองซาร์คกล่าวเสริม “เมื่อปีที่แล้ว ไอโอเอ็มได้สนับสนุนรัฐบาลไทยในการจัดตั้งกลไกการส่งต่อระดับชาติเพื่อการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (NRM) ซึ่งเป็นกรอบนโยบายระดับชาติที่ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบในการคัดกรอง คัดแยก ช่วยเหลือและส่งต่อผู้เสียหาย  รวมถึงการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ด่านหน้ากว่า 2,300 คนเกี่ยวกับกรอบนโยบายนี้ด้วย”

การคัดกรองที่ไม่ละเอียดถี่ถ้วนอาจส่งผลให้มีผู้เสียหายตกสำรวจ ทำให้พวกเขามีโอกาสลดลงในการเข้าใจสถานการณ์ การคัดกรองที่ละเอียดจึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการค้ามนุษย์ในอนาคต

เมื่อได้รับคำขอจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือพันธมิตร ไอโอเอ็มจะดำเนินการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ซึ่งอาจหมายรวมถึงความช่วยเหลือด้านอาหารและเครื่องอุปโภค ที่อยู่อาศัย การสนับสนุนทางการแพทย์และจิตวังคม การเดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสมัครใจ และอื่น ๆ ภาพ: ไอโอเอ็ม/กษิดิศ ไชยแก้ว   

การกลับบ้านที่อินโดเนเซียครั้งนี้ของอาหมัดและซินตาหมายถึงการเริ่มต้นก้าวใหม่ สู่อนาคตที่ดีขึ้น

“ลูก ๆ ของฉันเพิ่งจะอายุห้าและสองขวบ ตอนนี้ฉันแค่ต้องการใช้เวลากับพวกเขา ฉันสามารถปล่อยให้เรื่องงานเป็นหน้าที่ของสามี” ซินตาเล่าด้วยเสียงหัวเราะ “จากทุกอย่างที่ผ่านมา ฉันได้เรียนรู้แล้วว่าว่าฉันไม่ควรเชื่อใจใครง่าย ๆ “

“ชีวิตต้องดำเนินต่อไป” อาหมัดกล่าว “ผมอยากเริ่มทำธุรกิจและกลับมาตั้งตัวใหม่อีกครั้ง”

เมื่อตระหนักได้ว่าพวกเขาโชคดีเพียงใดที่หนีออกจากขบวนการนั้นได้ ทั้งคู่ก็หวนนึกถึงคนที่พวกเขาทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งยังติดอยู่ในสถานการณ์นั้น และไม่สามารถหลบหนีออกมาได้

“ตอนนี้สิ่งเดียวที่ผมทำได้คือการแบ่งปันเรื่องราวของผม” อาหมัดเผย “ผมหวังว่าเรื่องราวนี้จะเป็นอุทาหรณ์ ช่วยให้คนอื่น ๆ ไม่ต้องประสบพบเจอกับฝันร้ายเหมือนที่ผมเจอมา”


ชื่อบุคคลที่ปรากฏเป็นเพียงนามสมมติเพื่อรักษาความปลอดภัยของผู้เสียหาย

ไอโอเอ็ม ประเทศไทย ได้ให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์กลุ่มนี้ ผ่านการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น

สำหรับคำร้องด้านการช่วยเหลือสนับสนุน โปรดติดต่อซาสเกีย ก็อก ([email protected])หัวหน้าแผนกความคุ้มครองผู้เสียหายจากการคามนุษย์ หรือ [email protected]

บทความนี้เขียนโดย มิโก อลาซาส เจ้าหน้าที่แผนกสื่อและการสื่อสาร ประจำไอโอเอ็ม ประเทศไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า